รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวาานนี้ (4มิ.ย.) นายวิสุทธิ์ สิงห์ขจรวรกุล อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทยและอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.ศอ.บต) ประธานชมรมข้าราชการบำนาญ ได้จัดประชุมสมาชิกชมรมซึ่งประกอบด้วย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด, รองผู้ว่าราชการจังหวัด และอื่นๆ จากหลายจังหวัด เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเชิญนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้และที่ปรึกษา กอ.รมน.ภาค 4 สน. สรุปสถานการณ์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันให้สมาชิกได้รับทราบ เพื่อเป็นข้อมูลและประโยชน์ในการร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
นายไชยยงค์กล่าวว่า ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การดับไฟใต้เป็นไปด้วยความล่าช้า คือความไม่จริงใจของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ในการร่วมมือกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐในการแก้ปัญหา ซึ่งพบว่าเกือบทุกองค์กรยังคิดหวังผลประโยชน์จากงบประมาณดับไฟใต้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเอกชน ศาสนา ท้องที่ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ในขณะที่หน่วยงานรัฐยังแสวงหากำไรจากการทำโครงการต่างๆ โดยที่มิได้คำนึงว่าโครงการเหล่านั้นสามารถตอบโจทย์การดับไฟใต้หรือไม่
ด้าน ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ อดีตรองเลขาธิการศูนย์อำนวยการจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า เรื่องปอเนาะญิฮาดนั้น ตนเองได้เคยนำเสนอผู้ใหญ่ที่มีอำนาจได้รับทราบมาโดยตลอดว่า การใช้วิธีการยึดที่ดินวากัฟมาเป็นของรัฐจะเข้าทางของบีอาร์เอ็น แต่ไม่มีการรับฟัง ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ทางออกคือต้องยกที่ดินดังกล่าวให้หน่วยงานหรือองค์กรในพื้นที่ เช่น กรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรืออื่นๆ เพื่อยุติปัญหา และต้องมีการสื่อสารข้อเท็จจริงให้องค์กรต่างๆ ได้รับทราบ
นอกจากนั้น พบว่าในพื้นที่ยังมีความหวาดระแวงระหว่างกันสูงมาก รวมทั้งยังเกิดความเหลื่อมล้ำในการปฏิบัติระหว่างคนในพื้นที่ ซึ่งคนไทยพุทธและคนไทยเชื้อสายจีนยังมองเห็นว่าไม่มีความเท่าเทียม ในการได้รับการดูแลจากรัฐทั้งในเรื่องของงบประมาณและการดูแล
แต่ก็ยอมรับว่านับตั้งแต่มี คสช.เข้ามา การทำงานของข้าราชการในพื้นที่มีประสิทธิภาพขึ้น เพราะกลัวการใช้ ม.44 จาก คสช. วันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ข้าราชการตำรวจ และอื่นๆ ถูกจี้ให้ทำหน้าที่จากฝ่ายทหารอย่างเต็มที่ และมีการบี้ลงไปถึงผู้นำท้องที่ ทำให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอื่นๆ ไม่สามารถลอยตัวอยู่เหนือปัญหาเหมือนเก่า จึงทำให้เห็นว่าสถานการณ์ดีขึ้น
ในขณะที่นายบุญยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ อดีต ผวจ.ยะลา กล่าวว่า การแก้ปัญหาในรอบ 2 ปี ยังไม่ประสบความสำเร็จ การใช้สถิติของการเกิดเหตุมาเป็นตัวชี้วัดไม่ใช่เรื่องที่เป็นจริง หลายเรื่องมองเผินๆคือใช่ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปคือภาพลวงตา การใช้กำลังเป็นจำนวนมากเข้าไปกดดันในพื้นที่ทำให้สถานการณ์ดูดีขึ้นชั่วคราว แต่สุดท้ายความรุนแรงจะกลับมา โดยเฉพาะใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ยังเป็นพื้นที่เปราะบาง
นายไชยยงค์กล่าวว่า ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การดับไฟใต้เป็นไปด้วยความล่าช้า คือความไม่จริงใจของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ในการร่วมมือกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐในการแก้ปัญหา ซึ่งพบว่าเกือบทุกองค์กรยังคิดหวังผลประโยชน์จากงบประมาณดับไฟใต้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเอกชน ศาสนา ท้องที่ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ในขณะที่หน่วยงานรัฐยังแสวงหากำไรจากการทำโครงการต่างๆ โดยที่มิได้คำนึงว่าโครงการเหล่านั้นสามารถตอบโจทย์การดับไฟใต้หรือไม่
ด้าน ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ อดีตรองเลขาธิการศูนย์อำนวยการจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า เรื่องปอเนาะญิฮาดนั้น ตนเองได้เคยนำเสนอผู้ใหญ่ที่มีอำนาจได้รับทราบมาโดยตลอดว่า การใช้วิธีการยึดที่ดินวากัฟมาเป็นของรัฐจะเข้าทางของบีอาร์เอ็น แต่ไม่มีการรับฟัง ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ทางออกคือต้องยกที่ดินดังกล่าวให้หน่วยงานหรือองค์กรในพื้นที่ เช่น กรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรืออื่นๆ เพื่อยุติปัญหา และต้องมีการสื่อสารข้อเท็จจริงให้องค์กรต่างๆ ได้รับทราบ
นอกจากนั้น พบว่าในพื้นที่ยังมีความหวาดระแวงระหว่างกันสูงมาก รวมทั้งยังเกิดความเหลื่อมล้ำในการปฏิบัติระหว่างคนในพื้นที่ ซึ่งคนไทยพุทธและคนไทยเชื้อสายจีนยังมองเห็นว่าไม่มีความเท่าเทียม ในการได้รับการดูแลจากรัฐทั้งในเรื่องของงบประมาณและการดูแล
แต่ก็ยอมรับว่านับตั้งแต่มี คสช.เข้ามา การทำงานของข้าราชการในพื้นที่มีประสิทธิภาพขึ้น เพราะกลัวการใช้ ม.44 จาก คสช. วันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ข้าราชการตำรวจ และอื่นๆ ถูกจี้ให้ทำหน้าที่จากฝ่ายทหารอย่างเต็มที่ และมีการบี้ลงไปถึงผู้นำท้องที่ ทำให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอื่นๆ ไม่สามารถลอยตัวอยู่เหนือปัญหาเหมือนเก่า จึงทำให้เห็นว่าสถานการณ์ดีขึ้น
ในขณะที่นายบุญยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ อดีต ผวจ.ยะลา กล่าวว่า การแก้ปัญหาในรอบ 2 ปี ยังไม่ประสบความสำเร็จ การใช้สถิติของการเกิดเหตุมาเป็นตัวชี้วัดไม่ใช่เรื่องที่เป็นจริง หลายเรื่องมองเผินๆคือใช่ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปคือภาพลวงตา การใช้กำลังเป็นจำนวนมากเข้าไปกดดันในพื้นที่ทำให้สถานการณ์ดูดีขึ้นชั่วคราว แต่สุดท้ายความรุนแรงจะกลับมา โดยเฉพาะใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ยังเป็นพื้นที่เปราะบาง