นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือน พ.ค.2559 เท่ากับ 107.02 สูงขึ้น 0.46% เทียบกับ พ.ค.2558 ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และสูงสุดในรอบ 17 เดือน นับตั้งแต่ ธ.ค.2557 ที่เงินเฟ้อขยายตัว 0.60% แต่เฉลี่ยช่วง 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) 2559 ลดลง 0.20% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น 0.46% เป็นผลจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 2.97% สินค้าสำคัญราคาแพงขึ้น เช่น ผักสด 27.16% เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ 2.37% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 2.20% อาหารบริโภคนอกบ้าน 0.88% อาหารบริโภคในบ้าน 1.07% เครื่องประกอบอาหาร 0.31% ขณะที่ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.94% สินค้าที่ราคาลดลงคือ น้ำมันเชื้อเพลิง ลด 9.32% ส่วนสินค้าที่ราคาแพงขึ้น เช่น หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 13.15% จากการเก็บภาษีสรรพสามิตบุหรี่ เป็นต้น
"เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือน พ.ค. เป็นผลมาจากภาวะภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ส่งผลให้ราคาผักสดและผลไม้ รวมทั้งเนื้อสัตว์บางชนิดปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่เชื่อว่าหลังจากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน จะทำให้สถานการณ์ภัยแล้งลดความรุนแรง และระดับราคาสินค้าเกษตรและอาหารอ่อนตัวลงมา ซึ่งอาจทำให้แนวโน้มเงินเฟ้อไปแกว่งตัวอยู่ในแดนลบได้อีกในบางเดือน และภาพรวมเงินเฟ้อปีนี้ไม่น่าจะติดลบ" นายสมเกียรติกล่าว
สำหรับเงินเฟ้อทั้งปี 2559 ยังคงประมาณการในอัตราเดิม ขยายตัว 0.0-1.0% ภายใต้สมมุติฐานเศรษฐกิจขยายตัว 2.8-3.8% น้ำมันดิบตลาดดูไบ 30-40 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 36-38 บาท/เหรียญสหรัฐ
ด้านเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งหักรายการอาหารสดและพลังงานออก เดือน พ.ค.2559 เท่ากับ 106.58 สูงขึ้น 0.78% เทียบ พ.ค.2558 และสูงขึ้น 0.05% เทียบ เม.ย.2559 เฉลี่ย 5 เดือนสูงขึ้น 0.72% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น 0.46% เป็นผลจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 2.97% สินค้าสำคัญราคาแพงขึ้น เช่น ผักสด 27.16% เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ 2.37% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 2.20% อาหารบริโภคนอกบ้าน 0.88% อาหารบริโภคในบ้าน 1.07% เครื่องประกอบอาหาร 0.31% ขณะที่ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.94% สินค้าที่ราคาลดลงคือ น้ำมันเชื้อเพลิง ลด 9.32% ส่วนสินค้าที่ราคาแพงขึ้น เช่น หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 13.15% จากการเก็บภาษีสรรพสามิตบุหรี่ เป็นต้น
"เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือน พ.ค. เป็นผลมาจากภาวะภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ส่งผลให้ราคาผักสดและผลไม้ รวมทั้งเนื้อสัตว์บางชนิดปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่เชื่อว่าหลังจากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน จะทำให้สถานการณ์ภัยแล้งลดความรุนแรง และระดับราคาสินค้าเกษตรและอาหารอ่อนตัวลงมา ซึ่งอาจทำให้แนวโน้มเงินเฟ้อไปแกว่งตัวอยู่ในแดนลบได้อีกในบางเดือน และภาพรวมเงินเฟ้อปีนี้ไม่น่าจะติดลบ" นายสมเกียรติกล่าว
สำหรับเงินเฟ้อทั้งปี 2559 ยังคงประมาณการในอัตราเดิม ขยายตัว 0.0-1.0% ภายใต้สมมุติฐานเศรษฐกิจขยายตัว 2.8-3.8% น้ำมันดิบตลาดดูไบ 30-40 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 36-38 บาท/เหรียญสหรัฐ
ด้านเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งหักรายการอาหารสดและพลังงานออก เดือน พ.ค.2559 เท่ากับ 106.58 สูงขึ้น 0.78% เทียบ พ.ค.2558 และสูงขึ้น 0.05% เทียบ เม.ย.2559 เฉลี่ย 5 เดือนสูงขึ้น 0.72% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน