นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่เตรียมทบทวนนโยบายการจ่ายเงินสวัสดิการ หรือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละ 600 บาทต่อเดือนใหม่ โดยเลือกจ่ายให้กับผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำ หรือต้องการได้รับความช่วยเหลือจริงเท่านั้น เพื่อลดภาระงบประมาณด้านสวัสดิการของภาครัฐ
ซึ่งปัจจุบันมีผู้สูงอายุได้รับสิทธิ์ประมาณ 10 ล้านคน โดยเฉพาะในอนาคตที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งจะทำให้มีภาระในส่วนนี้เพิ่มขึ้น เบื้องต้นผู้สูงอายุกลุ่มที่มีรายได้เกินเดือนละ 9,000 บาทหรือมีสินทรัพย์สูงเกินกว่า 3 ล้านบาท จะไม่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ดังนั้นเมื่อตัดงบประมาณส่วนนี้ไป คาดว่าจะช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณได้ปีละ 1 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันที่เป็นภาระงบประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท
โดยรัฐจะเร่งทำการสำรวจเเละเก็บข้อมูลของผู้มีรายได้น้อยต่อไป นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นเงินให้กับผู้สูงอายุที่ต้องการใช้เงินในยามเกษียณซึ่งจะเหมาะกับคนไม่มีลูกหลาน
ทั้งนี้หลักการเบื้องต้นคือ จะต้องมีทรัพย์สินปลอดภาระหนี้เพื่อนำมาขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ซึ่งจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุมูลค่าทรัพย์สิน และอัตราดอกเบี้ยโดยจะเลือกได้ระหว่างได้เป็นก้อนเดียวหรือจะรับเป็นรายเดือน
ซึ่งปัจจุบันมีผู้สูงอายุได้รับสิทธิ์ประมาณ 10 ล้านคน โดยเฉพาะในอนาคตที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งจะทำให้มีภาระในส่วนนี้เพิ่มขึ้น เบื้องต้นผู้สูงอายุกลุ่มที่มีรายได้เกินเดือนละ 9,000 บาทหรือมีสินทรัพย์สูงเกินกว่า 3 ล้านบาท จะไม่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ดังนั้นเมื่อตัดงบประมาณส่วนนี้ไป คาดว่าจะช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณได้ปีละ 1 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันที่เป็นภาระงบประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท
โดยรัฐจะเร่งทำการสำรวจเเละเก็บข้อมูลของผู้มีรายได้น้อยต่อไป นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นเงินให้กับผู้สูงอายุที่ต้องการใช้เงินในยามเกษียณซึ่งจะเหมาะกับคนไม่มีลูกหลาน
ทั้งนี้หลักการเบื้องต้นคือ จะต้องมีทรัพย์สินปลอดภาระหนี้เพื่อนำมาขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ซึ่งจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุมูลค่าทรัพย์สิน และอัตราดอกเบี้ยโดยจะเลือกได้ระหว่างได้เป็นก้อนเดียวหรือจะรับเป็นรายเดือน