เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 22/2559 เรื่องการได้มาซึ่งสภาท้องถิ่นเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่น โดยให้ตั้งกรรมการสรรหาสมาชิกสภาท้องถิ่นที่มีปลัด มท.เป็นประธาน ว่า เป็นการออกกฎหมายเพื่ออุดช่องว่าง ซึ่งเดิมทีการเเต่งตั้งหรือรักษาการของสภาท้องถิ่นมันมีคำสั่ง คสช. 2 ฉบับที่เเล้วมาครอบคลุม แต่ไม่ได้กำหนดขั้นตอน ถ้าหากในอนาคตมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ใดถูกยุบจะต้องทำอย่างไร จึงจำเป็นต้องออกคำสั่งฉบับดังกล่าวออกมา และจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มี อปท.ใดถูกยุบ
"คำสั่งนี้ออกมา หากในอนาคตมี อปท.ถูกยุบก็จะนำมาใช้แต่งตั้งเเทนได้ แต่คำสั่งที่ออกมาก่อนหน้านี้ไม่ได้เกิดจากกรณียุบสภาท้องถิ่น แต่เป็นการพ้นจากตำเเหน่ง เพราะหมดวาระ ในครั้งนี้กรณียุบสภาท้องถิ่น เพราะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในฐานะผู้เสนอให้ยุบสภาท้องถิ่นภายในจังหวัด แล้วถ้าไปเเต่งตั้งเองมันก็จะไปทับซ้อน เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็เลยเปลี่ยนให้เป็นตามหลักธรรมาภิบาล ให้มีคณะกรรมการตามโครงสร้าง มีผมที่เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน" นายกฤษฎากล่าว
เมื่อถามว่า คำสั่งนี้จะเป็นการป้องกันการวิ่งเต้นซื้อขายตำเเหน่งในพื้นที่หรือไม่ ปลัด มท. กล่าวว่า สมมติถ้ามีผู้เสนอให้คนนี้ออก แล้วคนที่เสนอให้ออกเป็นผู้พิจารณารับคนเข้ามาใหม่ เพราะฉะนั้นเขาอาจจะรับญาติตัวเองเข้ามาก็ได้ ก็ถือว่าเป็นไปตามหลักการถ่วงดุล ไม่ใช่ให้อำนาจไปอยู่ที่คนคนเดียว เสนอยุบด้วยแล้วก็มีอำนาจเเต่งตั้งใหม่ ก็จะเกิดข้อครหาขึ้นมาอีก ส่วนปัญหาการใช้งบประมาณที่มีความขัดเเย้งในระดับท้องถิ่นนั้น ก็ไม่เกี่ยวกัน เป็นเเค่การกำหนดที่มาที่ไปเท่านั้น
"ยืนยันได้ รัฐบาล คสช.ชุดนี้จะไม่เปลี่ยนโครงสร้างการปกครองส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ต่อจากนี้รัฐธรรมนูญเมื่อมีการประกาศใช้ในเรื่องผู้ที่มาทำหน้าที่รัฐบาล ต่อไปจะปรับเปลี่ยนอย่างไรก็ว่ากัน คำสั่งนี้ออกมาเพื่ออุดช่องว่างในช่วงเปลี่ยนผ่านเท่านั้น แล้วก็ไม่เกี่ยวกับการเตรียมรับประชามติเลย ต้องว่ากันไปตามพระราชบัญญัติประชามติที่ออกมา" นายกฤษฎากล่าว
ด้านนายนพดล แก้วสุพัฒน์ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แห่งประเทศไทย กล่าวว่า คงต้องรอดูรายละเอียดต่อจากนี้ เพราะยังไม่รู้ว่าในอนาคตจะมี อปท.ใดถูกยุบ ที่ผ่านมาไม่มีการเลือกตั้ง แต่การบริหารในพื้นที่ยังคงมีอยู่ ก็ต้องมีผู้มาทำหน้าที่ เขาก็เลยต้องหาวิธีกำหนดคณะกรรมการสรรหาขึ้นมา
"แต่ผมคิดว่ากรรมการสรรหาระดับพื้นที่ หากส่งคุณสมบัติไปให้ในระดับส่วนกลางพิจารณามันห่างกันเกินไป เพราะด้วยระบบราชการเขาอาจไม่ต้องมาพิจารณาปัญหาเล็กน้อย ผู้ใหญ่ระดับกระทรวงจะต้องมาบริหารในระดับหมู่บ้านก็คงไม่ใช่ เช่น หากจะตั้งคณะกรรมการสรรหาในระดับหมู่บ้านขึ้นมา 2 คนแล้วต้องไปถึงการพิจารณาในระดับปลัดกระทรวงมหาดไทย มันไม่คุ้มกับการบริหาร ขณะเดียวกันเราก็ยังไม่มีกฎหมายรับรองในการกระจายอำนาจให้กับประชาชน การปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนก็ต้องนำคนที่อยู่ในระบบมาบริหารไปก่อน ถ้าถามว่าจะเป็นการรวมศูนย์อำนาจหรือไม่ ถ้าไม่รวมแล้วจะไปกระจายให้ใคร มันไม่มีช่องทาง เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับ คนที่ปฏิบัติหน้าที่ตอนนี้คือระบบราชการทั้งหมด ก็ต้องใช้ระบบนี้มาบริหารประเทศก่อน"
เมื่อถามว่า จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อท้องถิ่น นายนพดลกล่าวว่า ยังมองไม่ออก เพราะยังไม่มีข้อมูลว่าที่ไหนยุบบ้าง ด้วยสาเหตุอะไร แล้วจำนวนเท่าไหร่ ค่อยมาวิเคราะห์กันใหม่ หากในอนาคตมีการยุบเพื่อเตรียมการบริหารท้องถิ่นใหม่ทั้งขบวนก็เป็นอีกเรื่อง เชื่อว่าผู้ออกคำสั่งคงมีเหตุผลของเขา แต่ข้อเท็จจริงมันชัดเจนหรือไม่ อาจมองไปคนละมุม เช่น มีตรงนี้ไว้เพื่ออะไร จะเตรียมบริหารท้องถิ่นรูปแบบใหม่ทั้งหมดมั้ย อย่างไรก็ตาม ระบบตัวเเทนประชาชนต้องการจากการเลือกตั้งไปบริหารพื้นที่ เราต้องยอมรับในอำนาจของประชาชน ไม่ใช่ว่าให้คนกลุ่มหนึ่งพอใจจะทำอะไรก็ได้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 พ.ค.2559 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/2559 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่น ลงนามโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ซึ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ระบุว่า โดยที่การยุบสภาท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการสั่งยุบสภาสำหรับสภาตำบล หรือมีอำนาจเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อสั่งยุบสภาสำหรับสภาท้องถิ่นอื่น ในขณะที่คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 1/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2557 ได้กำหนดให้ในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่นที่มิใช่การยุบสภากรุงเทพมหานคร ให้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่กำหนดในประกาศ คสช. ที่ 85/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557
โดยกระบวนการตามประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาท้องถิ่นของแต่ละจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ กรณีเช่นนี้ทำให้การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล จึงสมควรกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาท้องถิ่นในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่นให้มีความเป็นกลางและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการบริหาร
ราชการแผ่นดิน อันจะทำให้การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้า คสช.โดยความเห็นชอบของ คสช. จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้ ให้ข้อกำหนดในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2557 ที่ให้การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่นเป็นไปตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 85/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เป็นอันสิ้นผล และให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้แทน
ข้อ 2 ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่น ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นรองประธาน อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นกรรมการ ให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นกรรมการและเลขานุการ และข้าราชการในกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแต่งตั้ง 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการสรรหาโดยอนุโลม
ข้อ 3 เมื่อมีการยุบสภาท้องถิ่นในเขตจังหวัดใด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดนั้นเสนอรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2 และข้อ 4 ของประกาศ คสช.ที่ 85/2557 เป็นจำนวน 3 เท่าของสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะสรรหาได้ตามประเภทที่กำหนดในข้อ 3 ของประกาศ คสช.ที่ 85/2557 โดยให้เสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการสรรหาภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบสภาท้องถิ่น ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจแต่งตั้งคณะกรรมการตามที่เห็นสมควรเพื่อช่วยดำเนินการก็ได้
บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการยุบสภาท้องถิ่น ในกรณีมีความจำเป็นอาจเสนอชื่อบุคคลที่อยู่ภายในเขตจังหวัดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่ก็ได้ กรรมการสรรหาไม่มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น
ข้อ 4 เมื่อคณะกรรมการสรรหาได้รับรายชื่อบุคคลตามข้อ 3 แล้ว ให้คัดเลือกบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นตามจำนวนที่กำหนดในข้อ 3 ของประกาศ คสช.ที่ 85/2557 ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อจากผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ประธานคณะกรรรมการสรรหาประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นภายใน 3 วันนับแต่วันที่คัดเลือกเสร็จ และให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการประกาศแต่งตั้งนั้นเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับแต่วันประกาศแต่งตั้ง
คำสั่งดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งนี้มีวาระการดำรงตำแหน่งจนกว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นขึ้นใหม่ ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นว่างลง ให้สภาท้องถิ่นประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่ โดยไม่ต้องดำเนินการคัดเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นแทนตำแหน่งที่ว่าง และหากสภาท้องถิ่นใดมีสมาชิกสภาท้องถิ่นเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาท้องถิ่นที่เหลืออยู่นั้นเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่ง และให้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 85/2557
สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในสัญญาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่กระทำให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หรือที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะกระทำ
ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ในกรณีที่ตรวจสอบพบว่า สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้ใดทุจริตต่อหน้าที่ หรือหากให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจะเกิดความเสียหายต่อทางราชการหรือท้องถิ่นนั้นอย่างร้ายแรง ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งให้สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งได้
"คำสั่งนี้ออกมา หากในอนาคตมี อปท.ถูกยุบก็จะนำมาใช้แต่งตั้งเเทนได้ แต่คำสั่งที่ออกมาก่อนหน้านี้ไม่ได้เกิดจากกรณียุบสภาท้องถิ่น แต่เป็นการพ้นจากตำเเหน่ง เพราะหมดวาระ ในครั้งนี้กรณียุบสภาท้องถิ่น เพราะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในฐานะผู้เสนอให้ยุบสภาท้องถิ่นภายในจังหวัด แล้วถ้าไปเเต่งตั้งเองมันก็จะไปทับซ้อน เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็เลยเปลี่ยนให้เป็นตามหลักธรรมาภิบาล ให้มีคณะกรรมการตามโครงสร้าง มีผมที่เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน" นายกฤษฎากล่าว
เมื่อถามว่า คำสั่งนี้จะเป็นการป้องกันการวิ่งเต้นซื้อขายตำเเหน่งในพื้นที่หรือไม่ ปลัด มท. กล่าวว่า สมมติถ้ามีผู้เสนอให้คนนี้ออก แล้วคนที่เสนอให้ออกเป็นผู้พิจารณารับคนเข้ามาใหม่ เพราะฉะนั้นเขาอาจจะรับญาติตัวเองเข้ามาก็ได้ ก็ถือว่าเป็นไปตามหลักการถ่วงดุล ไม่ใช่ให้อำนาจไปอยู่ที่คนคนเดียว เสนอยุบด้วยแล้วก็มีอำนาจเเต่งตั้งใหม่ ก็จะเกิดข้อครหาขึ้นมาอีก ส่วนปัญหาการใช้งบประมาณที่มีความขัดเเย้งในระดับท้องถิ่นนั้น ก็ไม่เกี่ยวกัน เป็นเเค่การกำหนดที่มาที่ไปเท่านั้น
"ยืนยันได้ รัฐบาล คสช.ชุดนี้จะไม่เปลี่ยนโครงสร้างการปกครองส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ต่อจากนี้รัฐธรรมนูญเมื่อมีการประกาศใช้ในเรื่องผู้ที่มาทำหน้าที่รัฐบาล ต่อไปจะปรับเปลี่ยนอย่างไรก็ว่ากัน คำสั่งนี้ออกมาเพื่ออุดช่องว่างในช่วงเปลี่ยนผ่านเท่านั้น แล้วก็ไม่เกี่ยวกับการเตรียมรับประชามติเลย ต้องว่ากันไปตามพระราชบัญญัติประชามติที่ออกมา" นายกฤษฎากล่าว
ด้านนายนพดล แก้วสุพัฒน์ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แห่งประเทศไทย กล่าวว่า คงต้องรอดูรายละเอียดต่อจากนี้ เพราะยังไม่รู้ว่าในอนาคตจะมี อปท.ใดถูกยุบ ที่ผ่านมาไม่มีการเลือกตั้ง แต่การบริหารในพื้นที่ยังคงมีอยู่ ก็ต้องมีผู้มาทำหน้าที่ เขาก็เลยต้องหาวิธีกำหนดคณะกรรมการสรรหาขึ้นมา
"แต่ผมคิดว่ากรรมการสรรหาระดับพื้นที่ หากส่งคุณสมบัติไปให้ในระดับส่วนกลางพิจารณามันห่างกันเกินไป เพราะด้วยระบบราชการเขาอาจไม่ต้องมาพิจารณาปัญหาเล็กน้อย ผู้ใหญ่ระดับกระทรวงจะต้องมาบริหารในระดับหมู่บ้านก็คงไม่ใช่ เช่น หากจะตั้งคณะกรรมการสรรหาในระดับหมู่บ้านขึ้นมา 2 คนแล้วต้องไปถึงการพิจารณาในระดับปลัดกระทรวงมหาดไทย มันไม่คุ้มกับการบริหาร ขณะเดียวกันเราก็ยังไม่มีกฎหมายรับรองในการกระจายอำนาจให้กับประชาชน การปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนก็ต้องนำคนที่อยู่ในระบบมาบริหารไปก่อน ถ้าถามว่าจะเป็นการรวมศูนย์อำนาจหรือไม่ ถ้าไม่รวมแล้วจะไปกระจายให้ใคร มันไม่มีช่องทาง เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับ คนที่ปฏิบัติหน้าที่ตอนนี้คือระบบราชการทั้งหมด ก็ต้องใช้ระบบนี้มาบริหารประเทศก่อน"
เมื่อถามว่า จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อท้องถิ่น นายนพดลกล่าวว่า ยังมองไม่ออก เพราะยังไม่มีข้อมูลว่าที่ไหนยุบบ้าง ด้วยสาเหตุอะไร แล้วจำนวนเท่าไหร่ ค่อยมาวิเคราะห์กันใหม่ หากในอนาคตมีการยุบเพื่อเตรียมการบริหารท้องถิ่นใหม่ทั้งขบวนก็เป็นอีกเรื่อง เชื่อว่าผู้ออกคำสั่งคงมีเหตุผลของเขา แต่ข้อเท็จจริงมันชัดเจนหรือไม่ อาจมองไปคนละมุม เช่น มีตรงนี้ไว้เพื่ออะไร จะเตรียมบริหารท้องถิ่นรูปแบบใหม่ทั้งหมดมั้ย อย่างไรก็ตาม ระบบตัวเเทนประชาชนต้องการจากการเลือกตั้งไปบริหารพื้นที่ เราต้องยอมรับในอำนาจของประชาชน ไม่ใช่ว่าให้คนกลุ่มหนึ่งพอใจจะทำอะไรก็ได้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 พ.ค.2559 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/2559 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่น ลงนามโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ซึ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ระบุว่า โดยที่การยุบสภาท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการสั่งยุบสภาสำหรับสภาตำบล หรือมีอำนาจเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อสั่งยุบสภาสำหรับสภาท้องถิ่นอื่น ในขณะที่คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 1/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2557 ได้กำหนดให้ในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่นที่มิใช่การยุบสภากรุงเทพมหานคร ให้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่กำหนดในประกาศ คสช. ที่ 85/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557
โดยกระบวนการตามประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาท้องถิ่นของแต่ละจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ กรณีเช่นนี้ทำให้การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล จึงสมควรกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาท้องถิ่นในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่นให้มีความเป็นกลางและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการบริหาร
ราชการแผ่นดิน อันจะทำให้การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้า คสช.โดยความเห็นชอบของ คสช. จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้ ให้ข้อกำหนดในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2557 ที่ให้การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่นเป็นไปตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 85/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เป็นอันสิ้นผล และให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้แทน
ข้อ 2 ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่น ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นรองประธาน อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นกรรมการ ให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นกรรมการและเลขานุการ และข้าราชการในกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแต่งตั้ง 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการสรรหาโดยอนุโลม
ข้อ 3 เมื่อมีการยุบสภาท้องถิ่นในเขตจังหวัดใด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดนั้นเสนอรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2 และข้อ 4 ของประกาศ คสช.ที่ 85/2557 เป็นจำนวน 3 เท่าของสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะสรรหาได้ตามประเภทที่กำหนดในข้อ 3 ของประกาศ คสช.ที่ 85/2557 โดยให้เสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการสรรหาภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบสภาท้องถิ่น ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจแต่งตั้งคณะกรรมการตามที่เห็นสมควรเพื่อช่วยดำเนินการก็ได้
บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการยุบสภาท้องถิ่น ในกรณีมีความจำเป็นอาจเสนอชื่อบุคคลที่อยู่ภายในเขตจังหวัดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่ก็ได้ กรรมการสรรหาไม่มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น
ข้อ 4 เมื่อคณะกรรมการสรรหาได้รับรายชื่อบุคคลตามข้อ 3 แล้ว ให้คัดเลือกบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นตามจำนวนที่กำหนดในข้อ 3 ของประกาศ คสช.ที่ 85/2557 ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อจากผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ประธานคณะกรรรมการสรรหาประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นภายใน 3 วันนับแต่วันที่คัดเลือกเสร็จ และให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการประกาศแต่งตั้งนั้นเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับแต่วันประกาศแต่งตั้ง
คำสั่งดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งนี้มีวาระการดำรงตำแหน่งจนกว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นขึ้นใหม่ ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นว่างลง ให้สภาท้องถิ่นประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่ โดยไม่ต้องดำเนินการคัดเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นแทนตำแหน่งที่ว่าง และหากสภาท้องถิ่นใดมีสมาชิกสภาท้องถิ่นเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาท้องถิ่นที่เหลืออยู่นั้นเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่ง และให้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 85/2557
สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในสัญญาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่กระทำให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หรือที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะกระทำ
ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ในกรณีที่ตรวจสอบพบว่า สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้ใดทุจริตต่อหน้าที่ หรือหากให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจะเกิดความเสียหายต่อทางราชการหรือท้องถิ่นนั้นอย่างร้ายแรง ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งให้สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งได้