น.พ.ธีรพงษ์ ตัณฑวิเชียร นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีการศึกษาตรวจวิเคราะห์เลือดในเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พบร้อยละ 50 แสดงอาการป่วยหลังได้รับเชื้อ และในจำนวนนี้มีร้อยละ 10 ต้องเข้าโรงพยาบาล และร้อยละ 2-3 มีอาการรุนแรง ส่วนอีกร้อยละ 50 ไม่แสดงอาการหลังได้รับเชื้อเข้าไป ดังนั้น จึงมองว่าแต่ละปีตัวเลขผู้ได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปมากกว่าตัวเลขผู้ป่วยที่มีการรายงานอย่างเป็นทางการอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ที่สำคัญทำให้มีการคาดคะเนว่าต่อไปอาจจะมีผู้ป่วยไข้เลือดออกชนิดรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เพราะไข้เลือดออกชนิดรุนแรงมักเกิดขึ้นในการติดเชื้อครั้งหลัง ๆ ซึ่งประเทศไทยและประเทศในเอเชียพบผู้ป่วยไข้เลือดออกชนิดรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่ มีการติดเชื้อประมาณร้อยละ 30-40 และคาดว่าในอนาคตโรคมาลาเรียจะถูกบดบังด้วยไข้เลือดออก
ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขยังพบว่า มีเด็กเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด แต่กลุ่มผู้ใหญ่จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเด็ก ซึ่งร้อยละ 50 ที่เสียชีวิตเนื่องจากวินิจฉัยช้า เพราะแพทย์ไม่มีความชำนาญ และคาดไม่ถึง ส่วนใหญ่คิดว่าโรคไข้เลือดออกจะพบในวัยเด็กมากกว่า
น.พ.ธีรพงษ์ กล่าวต่อว่า มีวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกตัวแรกของโลกออกมาแล้ว และในหลาย ๆ ประเทศได้เริ่มดำเนินการฉีดให้ประชาชนของตัวเองแล้ว ส่วนประเทศไทยยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ส่วนตัวแล้วยังไม่ค่อยพอใจกับผลของการป้องกันโรคที่พบว่าสามารถป้องกันได้ร้อย 60 เพราะถ้าจะป้องกันการระบาดได้ต้องให้ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้อย่างน้อยร้อยละ 90 ขึ้นไป แต่ที่รับได้คือวัคซีนตัวนี้จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ถึงร้อยละ 80 ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ตาม หาก อย.อนุมัติให้มีการใช้ได้แล้วนั้น แต่ประเทศไทยค่อนข้างมีงบประมาณจำกัด จึงอาจจะต้องพิจารณาฉีดเพื่อหวังผลในการลดความรุนแรงของโรคเป็นหลัก จึงต้องมีการวางโปรแกรมให้ดีว่าจะฉีดให้กับใคร เช่น กลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อในครั้งหลังๆ ส่วนตัวเห็นว่าน่าจะเป็นผู้ที่มีอายุประมาณ 11-12 ปีขึ้นไป
ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขยังพบว่า มีเด็กเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด แต่กลุ่มผู้ใหญ่จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเด็ก ซึ่งร้อยละ 50 ที่เสียชีวิตเนื่องจากวินิจฉัยช้า เพราะแพทย์ไม่มีความชำนาญ และคาดไม่ถึง ส่วนใหญ่คิดว่าโรคไข้เลือดออกจะพบในวัยเด็กมากกว่า
น.พ.ธีรพงษ์ กล่าวต่อว่า มีวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกตัวแรกของโลกออกมาแล้ว และในหลาย ๆ ประเทศได้เริ่มดำเนินการฉีดให้ประชาชนของตัวเองแล้ว ส่วนประเทศไทยยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ส่วนตัวแล้วยังไม่ค่อยพอใจกับผลของการป้องกันโรคที่พบว่าสามารถป้องกันได้ร้อย 60 เพราะถ้าจะป้องกันการระบาดได้ต้องให้ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้อย่างน้อยร้อยละ 90 ขึ้นไป แต่ที่รับได้คือวัคซีนตัวนี้จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ถึงร้อยละ 80 ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ตาม หาก อย.อนุมัติให้มีการใช้ได้แล้วนั้น แต่ประเทศไทยค่อนข้างมีงบประมาณจำกัด จึงอาจจะต้องพิจารณาฉีดเพื่อหวังผลในการลดความรุนแรงของโรคเป็นหลัก จึงต้องมีการวางโปรแกรมให้ดีว่าจะฉีดให้กับใคร เช่น กลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อในครั้งหลังๆ ส่วนตัวเห็นว่าน่าจะเป็นผู้ที่มีอายุประมาณ 11-12 ปีขึ้นไป