สธ. เร่งตั้ง คกก. โรคติดต่อจังหวัด เป็นครั้งแรกของไทย หลังเริ่มบังคับใช้ พ.ร.บ. โรคติดต่อฉบับใหม่ เน้นเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค
วันนี้ (10 มี.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประชุมมอบนโยบาย ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และการดำเนินการในกรณีมีโรคติดต่อสำคัญตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 แก่ผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกล่าวว่า หลังบังคับใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ตั้งคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออกด่านควบคุมโรค พร้อมทั้งสื่อสาร สร้างความเข้าใจกับหน่วยงานในจังหวัด และประชาชนเกี่ยวกับ พ.ร.บ.
“การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ประกอบด้วย 4 เรื่อง ได้แก่ 1. เร่งรัดการกำจัดและกวาดล้างโรคที่เป็นพันธสัญญากับนานาชาติ และโรคที่ไทยสามารถควบคุมได้ดีระดับหนึ่งแล้ว 7 โรค ได้แก่ โปลิโอ โรคหัด โรคพิษสุนัขบ้า เอดส์ โรคเรื้อน มาลาเรีย และโรคเท้าช้าง 2. พัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตรายที่ไม่มีในประเทศไทยอย่างเต็มที่ เพื่อลดโอกาสการระบาดในประเทศให้เหลือน้อยที่สุด เช่น โรคเมอร์ส อีโบลา 3. ควบคุมโรคติดต่อประจำถิ่น 14 โรค เช่น โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ โรคจากสัตว์สู่คน เป็นต้น ด้วยมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาวะประชาชนให้น้อยที่สุด และ 4. ลดการตีตรา หรือเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคติดต่อทุกชนิด” รมว.สธ. กล่าว
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า สำหรับการดำเนินงานมี 4 ระบบ คือ ระบบป้องกันโรค ระบบตรวจจับ ระบบควบคุมโรค และระบบสนับสนุนบริหารจัดการ ซึ่งจะต้องพัฒนาระบบงานควบคุมโรคตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ และวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาทุกจังหวัดให้สามารถดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยต่าง ๆ รวมทั้งโรคติดต่ออันตรายได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (10 มี.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประชุมมอบนโยบาย ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และการดำเนินการในกรณีมีโรคติดต่อสำคัญตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 แก่ผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกล่าวว่า หลังบังคับใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ตั้งคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออกด่านควบคุมโรค พร้อมทั้งสื่อสาร สร้างความเข้าใจกับหน่วยงานในจังหวัด และประชาชนเกี่ยวกับ พ.ร.บ.
“การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ประกอบด้วย 4 เรื่อง ได้แก่ 1. เร่งรัดการกำจัดและกวาดล้างโรคที่เป็นพันธสัญญากับนานาชาติ และโรคที่ไทยสามารถควบคุมได้ดีระดับหนึ่งแล้ว 7 โรค ได้แก่ โปลิโอ โรคหัด โรคพิษสุนัขบ้า เอดส์ โรคเรื้อน มาลาเรีย และโรคเท้าช้าง 2. พัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตรายที่ไม่มีในประเทศไทยอย่างเต็มที่ เพื่อลดโอกาสการระบาดในประเทศให้เหลือน้อยที่สุด เช่น โรคเมอร์ส อีโบลา 3. ควบคุมโรคติดต่อประจำถิ่น 14 โรค เช่น โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ โรคจากสัตว์สู่คน เป็นต้น ด้วยมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาวะประชาชนให้น้อยที่สุด และ 4. ลดการตีตรา หรือเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคติดต่อทุกชนิด” รมว.สธ. กล่าว
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า สำหรับการดำเนินงานมี 4 ระบบ คือ ระบบป้องกันโรค ระบบตรวจจับ ระบบควบคุมโรค และระบบสนับสนุนบริหารจัดการ ซึ่งจะต้องพัฒนาระบบงานควบคุมโรคตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ และวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาทุกจังหวัดให้สามารถดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยต่าง ๆ รวมทั้งโรคติดต่ออันตรายได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่