ASTVผู้จัดการรายวัน-เจาะเลือดหญิงกินีตรวจหาเชื้อ "อีโบลา" รอบ 2 "หมอประเสริฐ" ยันหากไม่พบเชื้อปล่อยตัวกลับบ้านได้ทันที ขณะที่ผลตรวจกรมวิทย์ฯ พบเป็นเชื้อมาลาเรีย รพ.อภัยภูเบศรยก "ฟ้าทะลายโจร" ความหวังป้องกันอีโบลา
วานนี้ (3 ก.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กรมควบคุมโรค ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค (คร.) ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแนวทางชันสูตรและวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ได้แถลงข่าวความคืบหน้าอาการของหญิงชาวกินี อายุ 24 ปี ซึ่งเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอีโบลา ภายหลังประชุมร่วมกับ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะทำงาน
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐกล่าวว่า หญิงชาวกินีคนดังกล่าว นับเป็นผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอีโบลารายแรก โดยผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการครั้งที่ 1 ให้ผลเป็นลบ คือ ไม่พบเชื้ออีโบลา จากการติดตามอาการพบว่า ขณะนี้อาการดีขึ้น ไม่มีไข้มา 2 วัน โดยจะเจาะเลือดตรวจยืนยันซ้ำรอบ 2 ซึ่งนับเป็นวันที่ 5 ของการป่วย คาดว่าจะได้ผลตรวจยืนยันในวันที่ 6 ก.ย.
ทั้งนี้ หากผลการตรวจยืนยันรอบ 2 ยังคงไม่พบเชื้อ ก็สามารถปล่อยตัวหญิงรายดังกล่าวกลับบ้านได้ รวมถึงไม่ต้องติดตามเฝ้าระวังผู้ที่มีประวัติสัมผัสหญิงรายดังกล่าวอีก 16 คน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยและผู้สัมผัสต้องเป็นกังวล แต่หากผลออกเป็นบวกก็จะให้การรักษาผู้ป่วย และต้องติดตามอาการผู้สัมผัสทั้ง 16 คน จนกว่าจะพ้นระยะการฟักตัวของโรค คือ 21 วัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า หญิงรายดังกล่าวป่วยด้วยโรคอะไร หากไม่ได้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ผู้ป่วยมาด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ อาการเริ่มต้นคล้ายอีโบลา และไข้หวัดใหญ่ จึงสงสัยว่าป่วยเป็นโรคอีโบลาเนื่องจากมาจากประเทศที่มีโรคชุกชุมและระบาด แต่จากการตรวจเชื้อทั้งอีโบลาและไข้หวัดใหญ่ต่างให้ผลเป็นลบ คือ ไม่พบเชื้อ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าป่วยด้วยโรคอะไร ซึ่งต่อไปนี้หากพบผู้เข้าเกณฑ์ต้องสอบสวนโรคอีก จะต้องมีการตรวจวิเคราะห์เชื้อทั้งหมดในคราวเดียว เพื่อดูว่าผู้ป่วยป่วยด้วยโรคใด
เมื่อถามว่าต้องมีการปรับปรุงระบบในการเฝ้าระวังเพิ่มเติมหรือไม่ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ผู้ป่วยรายนี้ นับเป็นเคสแรกที่ตรวจพบนับแต่เริ่มระบบ หากพบว่าระบบยังคงทำงานได้ดี มีความลื่นไหล ก็ให้คงไว้ตามเดิมไม่จำเป็นต้องแก้ไข แต่หากมีจุดใดที่บกพร่องก็ต้องแก้ไขไปตามระบบ
สำหรับการสอบสวนโรคยังยึดตามหลักเกณฑ์เดิมในผู้ป่วย 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค คือ มีไข้ และเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด 2.กลุ่มสงสัยว่าติดเชื้อ คือ มีอาการชัดเจนกว่ากลุ่มแรก คือ มีเลือดออก 3.อาการน่าจะเป็น คือ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่ แต่ยังไม่มีผลตรวจยืนยัน และ 4.มีผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการชัดเจน
ส่วนการพบผู้ป่วยอีโบลาเพิ่มที่ประเทศเซเนกัลนั้น มีไม่กี่ราย องค์การอนามัยโลกยังไม่ประกาศให้เป็นเขตโรค ดังนั้น มาตรการของไทยที่เฝ้าระวังประเทศที่มีการระบาดยังคงไว้ดังเดิมที่ 3 ประเทศ 1 เมือง คือ กินี เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และเมืองลากอล ประเทศ ไนจีเรีย
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า นอกจากตรวจหาเชื้ออีโบลาแล้ว กรมฯ ยังตรวจหาเชื้อเพื่อเปรียบเทียบเชื้อของโรคในเขตร้อน 8 ชนิดด้วย ซึ่งขณะนี้ยืนยันได้แล้วว่า หญิงรายดังกล่าวป่วยด้วยเชื้อมาลาเรีย ทั้งนี้ การตรวจยืนยันเชื้ออีโบลา ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก คือ จะเริ่มตรวจพบเชื้อเมื่อมีไข้ในวันที่ 3 และพบเชื้อได้แน่นอนเมื่อมีไข้วันที่ 5 ดังนั้น หญิงรายดังกล่าวจึงต้องมีการตรวจซ้ำอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หากพบผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอีก กรมฯ ได้วางแผนการตรวจให้เร็วขึ้นและตรวจเชื้อให้ได้ข้อสรุปในครั้งเดียวว่า เจ็บป่วยด้วยเชื้ออะไร เพื่อให้สังคมคลายความสงสัยและมั่นใจ
ทางด้านการป้องกัน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้าโครงการสาธิตการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ขณะนี้หลายคนกังวลเรื่องโรคอีโบลา เนื่องจากยังไม่มียารักษา แต่ใช่ว่าจะไม่มีความหวัง เพราะมีสมุนไพรชนิดหนึ่งช่วยในแง่การป้องกันได้ คือ ฟ้าทะลายโจร ซึ่งมีคุณสมบัติจับไกลโคโปรตีน (Glycoprotien) ได้ โดยการวิจัยของอินเดียพบว่า ไวรัสอีโบลา และไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีโครงสร้างเป็นไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) เหมือนกัน ซึ่งที่ผ่านมา เราทราบดีว่าฟ้าทะลายโจรมีคุณสมบัติจับไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ ทำให้เชื้อไวรัสอ่อนกำลังลง นอกจากนี้ ฟ้าทะลายโจรยังเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และลดการอักเสบ จึงถือเป็นความหวังในการป้องกันไวรัสได้
ภญ.สุภาภรณ์ กล่าวว่า เบื้องต้นได้มีการหารือกับ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ.จักร แสงมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการศึกษาโครงสร้างดังกล่าวว่า สามารถจับเชื้อไวรัสต่างๆ ได้จริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้จะยืนยันไม่ได้ว่า ฟ้าทะลายโจรรักษาโรคไวรัสอีโบลา แต่ก็มีประโยชน์ในแง่เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ลดอาการอักเสบต่างๆ ซึ่งหากมีการปลูกไว้ตามบ้านเรือนก็ถือเป็นเรื่องดี ดีกว่าไม่มีเลย
วานนี้ (3 ก.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กรมควบคุมโรค ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค (คร.) ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแนวทางชันสูตรและวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ได้แถลงข่าวความคืบหน้าอาการของหญิงชาวกินี อายุ 24 ปี ซึ่งเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอีโบลา ภายหลังประชุมร่วมกับ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะทำงาน
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐกล่าวว่า หญิงชาวกินีคนดังกล่าว นับเป็นผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอีโบลารายแรก โดยผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการครั้งที่ 1 ให้ผลเป็นลบ คือ ไม่พบเชื้ออีโบลา จากการติดตามอาการพบว่า ขณะนี้อาการดีขึ้น ไม่มีไข้มา 2 วัน โดยจะเจาะเลือดตรวจยืนยันซ้ำรอบ 2 ซึ่งนับเป็นวันที่ 5 ของการป่วย คาดว่าจะได้ผลตรวจยืนยันในวันที่ 6 ก.ย.
ทั้งนี้ หากผลการตรวจยืนยันรอบ 2 ยังคงไม่พบเชื้อ ก็สามารถปล่อยตัวหญิงรายดังกล่าวกลับบ้านได้ รวมถึงไม่ต้องติดตามเฝ้าระวังผู้ที่มีประวัติสัมผัสหญิงรายดังกล่าวอีก 16 คน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยและผู้สัมผัสต้องเป็นกังวล แต่หากผลออกเป็นบวกก็จะให้การรักษาผู้ป่วย และต้องติดตามอาการผู้สัมผัสทั้ง 16 คน จนกว่าจะพ้นระยะการฟักตัวของโรค คือ 21 วัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า หญิงรายดังกล่าวป่วยด้วยโรคอะไร หากไม่ได้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ผู้ป่วยมาด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ อาการเริ่มต้นคล้ายอีโบลา และไข้หวัดใหญ่ จึงสงสัยว่าป่วยเป็นโรคอีโบลาเนื่องจากมาจากประเทศที่มีโรคชุกชุมและระบาด แต่จากการตรวจเชื้อทั้งอีโบลาและไข้หวัดใหญ่ต่างให้ผลเป็นลบ คือ ไม่พบเชื้อ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าป่วยด้วยโรคอะไร ซึ่งต่อไปนี้หากพบผู้เข้าเกณฑ์ต้องสอบสวนโรคอีก จะต้องมีการตรวจวิเคราะห์เชื้อทั้งหมดในคราวเดียว เพื่อดูว่าผู้ป่วยป่วยด้วยโรคใด
เมื่อถามว่าต้องมีการปรับปรุงระบบในการเฝ้าระวังเพิ่มเติมหรือไม่ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ผู้ป่วยรายนี้ นับเป็นเคสแรกที่ตรวจพบนับแต่เริ่มระบบ หากพบว่าระบบยังคงทำงานได้ดี มีความลื่นไหล ก็ให้คงไว้ตามเดิมไม่จำเป็นต้องแก้ไข แต่หากมีจุดใดที่บกพร่องก็ต้องแก้ไขไปตามระบบ
สำหรับการสอบสวนโรคยังยึดตามหลักเกณฑ์เดิมในผู้ป่วย 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค คือ มีไข้ และเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด 2.กลุ่มสงสัยว่าติดเชื้อ คือ มีอาการชัดเจนกว่ากลุ่มแรก คือ มีเลือดออก 3.อาการน่าจะเป็น คือ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่ แต่ยังไม่มีผลตรวจยืนยัน และ 4.มีผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการชัดเจน
ส่วนการพบผู้ป่วยอีโบลาเพิ่มที่ประเทศเซเนกัลนั้น มีไม่กี่ราย องค์การอนามัยโลกยังไม่ประกาศให้เป็นเขตโรค ดังนั้น มาตรการของไทยที่เฝ้าระวังประเทศที่มีการระบาดยังคงไว้ดังเดิมที่ 3 ประเทศ 1 เมือง คือ กินี เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และเมืองลากอล ประเทศ ไนจีเรีย
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า นอกจากตรวจหาเชื้ออีโบลาแล้ว กรมฯ ยังตรวจหาเชื้อเพื่อเปรียบเทียบเชื้อของโรคในเขตร้อน 8 ชนิดด้วย ซึ่งขณะนี้ยืนยันได้แล้วว่า หญิงรายดังกล่าวป่วยด้วยเชื้อมาลาเรีย ทั้งนี้ การตรวจยืนยันเชื้ออีโบลา ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก คือ จะเริ่มตรวจพบเชื้อเมื่อมีไข้ในวันที่ 3 และพบเชื้อได้แน่นอนเมื่อมีไข้วันที่ 5 ดังนั้น หญิงรายดังกล่าวจึงต้องมีการตรวจซ้ำอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หากพบผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอีก กรมฯ ได้วางแผนการตรวจให้เร็วขึ้นและตรวจเชื้อให้ได้ข้อสรุปในครั้งเดียวว่า เจ็บป่วยด้วยเชื้ออะไร เพื่อให้สังคมคลายความสงสัยและมั่นใจ
ทางด้านการป้องกัน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้าโครงการสาธิตการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ขณะนี้หลายคนกังวลเรื่องโรคอีโบลา เนื่องจากยังไม่มียารักษา แต่ใช่ว่าจะไม่มีความหวัง เพราะมีสมุนไพรชนิดหนึ่งช่วยในแง่การป้องกันได้ คือ ฟ้าทะลายโจร ซึ่งมีคุณสมบัติจับไกลโคโปรตีน (Glycoprotien) ได้ โดยการวิจัยของอินเดียพบว่า ไวรัสอีโบลา และไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีโครงสร้างเป็นไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) เหมือนกัน ซึ่งที่ผ่านมา เราทราบดีว่าฟ้าทะลายโจรมีคุณสมบัติจับไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ ทำให้เชื้อไวรัสอ่อนกำลังลง นอกจากนี้ ฟ้าทะลายโจรยังเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และลดการอักเสบ จึงถือเป็นความหวังในการป้องกันไวรัสได้
ภญ.สุภาภรณ์ กล่าวว่า เบื้องต้นได้มีการหารือกับ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ.จักร แสงมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการศึกษาโครงสร้างดังกล่าวว่า สามารถจับเชื้อไวรัสต่างๆ ได้จริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้จะยืนยันไม่ได้ว่า ฟ้าทะลายโจรรักษาโรคไวรัสอีโบลา แต่ก็มีประโยชน์ในแง่เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ลดอาการอักเสบต่างๆ ซึ่งหากมีการปลูกไว้ตามบ้านเรือนก็ถือเป็นเรื่องดี ดีกว่าไม่มีเลย