นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2559 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงทุกรายการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันฟื้นตัวล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาภัยแล้งที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น รวมถึงปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลกระทบส่งออกของไทย
อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลดลงต่อเนื่องเดือนที่ 2 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ ถือเป็นปัจจัยชั่วคราว โดยดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโดยรวมและดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 63.5, 69.74 และ 90.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับดัชนีเดือนมกราคม อยู่ที่ระดับ 64.4, 70.3 และ 91.7 ตามลำดับ โดยดัชนีฯ ทุกรายการที่ต่ำกว่าปกติแสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มั่นใจสถานการณ์เศรษฐกิจ โอกาสหางานทำ และรายได้ในอนาคต
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจ เช่น เศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาวะตึงตัว รวมถึงผลกระทบราคาน้ำมันที่อยู่ระดับต่ำมีผลโดยตรงต่อบริษัทผู้ค้าน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก ซึ่งรายได้ที่ชะลอตัวลงกระทบกำลังซื้อและท้ายที่สุดจะส่งผลกระทบมายังการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ไม่ว่ายางพารา และข้าว ที่ถือว่าราคาจะทรงตัวระดับต่ำ ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อการส่งออกหากไม่ดีขึ้นอาจทำให้ส่งออกของไทยขยายตัวร้อยละ 0 หรือติดลบ
ขณะที่ผลกระทบจากภัยแล้ง ชณะนี้ประเมินว่าจะมีความเสียหายทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและบริการไม่ต่ำกว่า 70,000-100,000 ล้านบาท โดยเฉพาะภาคเกษตรการทำข้าวนาปรังจะมีความเสียหายประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แนวทางปัจจุบันที่รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาและอัดฉีดเม็ดเงินแก้ปัญหาภัยแล้งวงเงิน 87,000 ล้านบาท ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้องและหากการดำเนินการประสบผลสำเร็จ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น การลงทุนภาครัฐส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม เชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นไตรมาส 2 หรือเดือนเมษายน เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ จะแถลงผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งโดยละเอียดอีกครั้งวันที่ 17 มีนาคมนี้ รวมถึงจะมีการแถลงประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ยืนยันว่าจากดัชนีที่ปรับตัวลดลงทุกรายการจะทำให้ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจปรับตัวลดลงแน่นอน
อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลดลงต่อเนื่องเดือนที่ 2 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ ถือเป็นปัจจัยชั่วคราว โดยดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโดยรวมและดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 63.5, 69.74 และ 90.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับดัชนีเดือนมกราคม อยู่ที่ระดับ 64.4, 70.3 และ 91.7 ตามลำดับ โดยดัชนีฯ ทุกรายการที่ต่ำกว่าปกติแสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มั่นใจสถานการณ์เศรษฐกิจ โอกาสหางานทำ และรายได้ในอนาคต
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจ เช่น เศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาวะตึงตัว รวมถึงผลกระทบราคาน้ำมันที่อยู่ระดับต่ำมีผลโดยตรงต่อบริษัทผู้ค้าน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก ซึ่งรายได้ที่ชะลอตัวลงกระทบกำลังซื้อและท้ายที่สุดจะส่งผลกระทบมายังการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ไม่ว่ายางพารา และข้าว ที่ถือว่าราคาจะทรงตัวระดับต่ำ ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อการส่งออกหากไม่ดีขึ้นอาจทำให้ส่งออกของไทยขยายตัวร้อยละ 0 หรือติดลบ
ขณะที่ผลกระทบจากภัยแล้ง ชณะนี้ประเมินว่าจะมีความเสียหายทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและบริการไม่ต่ำกว่า 70,000-100,000 ล้านบาท โดยเฉพาะภาคเกษตรการทำข้าวนาปรังจะมีความเสียหายประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แนวทางปัจจุบันที่รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาและอัดฉีดเม็ดเงินแก้ปัญหาภัยแล้งวงเงิน 87,000 ล้านบาท ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้องและหากการดำเนินการประสบผลสำเร็จ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น การลงทุนภาครัฐส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม เชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นไตรมาส 2 หรือเดือนเมษายน เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ จะแถลงผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งโดยละเอียดอีกครั้งวันที่ 17 มีนาคมนี้ รวมถึงจะมีการแถลงประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ยืนยันว่าจากดัชนีที่ปรับตัวลดลงทุกรายการจะทำให้ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจปรับตัวลดลงแน่นอน