นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า กรณีมีเอกสารที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เตรียมส่งให้นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หลังได้รับมอบหมายให้รวบรวมข้อมูลของฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้านการเสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ว่า ที่ระบุว่าความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการเสนอนามพระนามสมเด็จพระสังฆราช มีฝ่ายสนับสนุนจำนวนมาก อาทิ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ทุกรูป คณะสงฆ์โดยรวมทั้งฝ่ายมหานิกาย และธรรมยุต รวมถึง เครือข่ายองค์กรชาวพุทธเกือบทั้งหมด ส่วนฝ่ายคัดค้านมีเพียงไม่กี่คน ตนมองว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะฝ่ายที่ออกมาคัดค้านมีจำนวนเป็นล้านรูป/คน รวมถึง พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็เห็นด้วยกับฝ่ายคัดค้าน แต่ยังไม่ออกมาแสดงพลังเพราะมองว่าผิดกฎหมาย
“ถ้า พศ.และรัฐบาลไม่เชื่อ ขอให้ประพิจารณ์สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั้งประเทศ จะได้ทราบจำนวนอย่างแท้จริงว่ามีผู้เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พร้อมฝากสำรวจเรื่องปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์ด้วย เพื่อให้ประชาชนตัดสินว่าขณะนี้คณะสงฆ์ถึงเวลาที่ควรจะปฏิรูปแล้วหรือยัง ทั้งนี้ หากมีกรณีที่รัฐบาลรับลูกตามข้อเสนอของพระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺสาโร) เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย (ศพศ) ที่เสนอให้สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ทั้งที่คดีความเรื่องรถหรูยังสะสางไม่จบ วันนั้นรัฐบาลจะเห็นคนออกมาคัดค้านจำนวนมหาศาล แต่ผมไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะทำเช่นนั้น”นายไพบูลย์กล่าว
ส่วนข้อ 2 ที่ระบุว่าความเห็น และท่าทีของสังคมต่อกิจกรรมของคณะสงฆ์ และวัดพระธรรมกายนั้น อยากให้สำรวจข้อเท็จจริงจากสังคมโซเชียลที่ออกมาโจมตีวัดพระธรรมกายด้วย ไม่ใช่สำรวจแต่ในวัด นอกจากนี้ข้อ 3 ที่ระบุว่าสถานะปัจจุบันของคดีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อ 1 และข้อ 2 โดยเฉพาะคดีรถโบราณของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ที่ชี้แจงว่าสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์เป็นผู้ซื้อในมือสุดท้าย ตามกฎหมายไม่มีความผิดนั้น เป็นการบิดเบือนกฎหมายอย่างชัดเจน เพราะตาม พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 16 ระบุว่าการกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตร 27 และมาตรา 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2496 ให้ถือว่าเป็นความผิด โดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนา หรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2496 ในหมวดการตรวจของและป้องกันลักลอบหนีศุลกากร มาตรา 27 ทวิ ระบุว่าผู้ใดซ่อนเร้นช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งเป็นของอันที่ตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร หรือข้อห้ามข้อจำกัด มีความผิดต้องระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของ ซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องดูที่เจตนาของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ในเรื่องรู้หรือไม่รู้ว่ารถยนต์ที่อยู่ในครอบครองผิดกฎหมาย เพราะอย่างไรสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ก็ผิด กฎหมายระบุชัดเช่นนั้นจะปฏิเสธความผิดได้อย่างไร
สำหรับข้อ 4 ขอให้ พศ.จัดทำความคิดเห็นข้อเสนอ และข้อพิจารณาต่อข้อเสนอ 5 ข้อ ที่เครือข่ายคณะสงฆ์ และองค์กรภาคีพุทธบริษัท 4 ทั่วประเทศ (คสพ.) เสนอต่อรัฐบาล ข้อนี้เห็นได้ชัดว่าคำชี้แจงดูสอดคล้อง และสนับสนุนผู้มาชุมนุมที่พุทธมณฑล เนื่องจากวันที่พระมาชุมนุม พศ.นิ่งเฉย ดูเข้าข่ายสมรู้ร่วมคิดกันหรือไม่ ดังนั้น ขอสรุปว่าสาเหตุของความขัดแย้งทั้งหมดที่ส่งผลกระทบถึงสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ล้วนแล้วมาจากคนใกล้ชิดของท่านทั้งนั้น อาทิ พระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย วัดพระธรรมกาย พระศาสนมุนี (ธนกิจ สุภาโว) หรือเจ้าคุณแป๊ะ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำฯ พระเมธีธรรมจารย์ และพระโสภณพุทธิวิเทศ หรือเจ้าคุณเบอร์ลิน เป็นต้น พระกลุ่มนี้ออกมาสนับสนุนร่วมกันเพื่อประโยชน์ในเรื่องลาภยศตำแหน่ง จนเป็นเหตุให้ยกระดับความขัดแย้งรุนแรงขึ้น เพราะดึงเอานักการเมืองมาช่วยจนเรื่องไปกันใหญ่
“ขอเตือน พศ.ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อย่าเสนอข้อบิดเบือนไปยังรัฐบาล เพราะอาจมีความผิดด้านกฎหมาย ดังนั้น เรื่องนี้อาจต้องมีการตรวจสอบกันต่อไป”นายไพบูลย์กล่าว
“ถ้า พศ.และรัฐบาลไม่เชื่อ ขอให้ประพิจารณ์สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั้งประเทศ จะได้ทราบจำนวนอย่างแท้จริงว่ามีผู้เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พร้อมฝากสำรวจเรื่องปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์ด้วย เพื่อให้ประชาชนตัดสินว่าขณะนี้คณะสงฆ์ถึงเวลาที่ควรจะปฏิรูปแล้วหรือยัง ทั้งนี้ หากมีกรณีที่รัฐบาลรับลูกตามข้อเสนอของพระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺสาโร) เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย (ศพศ) ที่เสนอให้สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ทั้งที่คดีความเรื่องรถหรูยังสะสางไม่จบ วันนั้นรัฐบาลจะเห็นคนออกมาคัดค้านจำนวนมหาศาล แต่ผมไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะทำเช่นนั้น”นายไพบูลย์กล่าว
ส่วนข้อ 2 ที่ระบุว่าความเห็น และท่าทีของสังคมต่อกิจกรรมของคณะสงฆ์ และวัดพระธรรมกายนั้น อยากให้สำรวจข้อเท็จจริงจากสังคมโซเชียลที่ออกมาโจมตีวัดพระธรรมกายด้วย ไม่ใช่สำรวจแต่ในวัด นอกจากนี้ข้อ 3 ที่ระบุว่าสถานะปัจจุบันของคดีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อ 1 และข้อ 2 โดยเฉพาะคดีรถโบราณของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ที่ชี้แจงว่าสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์เป็นผู้ซื้อในมือสุดท้าย ตามกฎหมายไม่มีความผิดนั้น เป็นการบิดเบือนกฎหมายอย่างชัดเจน เพราะตาม พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 16 ระบุว่าการกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตร 27 และมาตรา 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2496 ให้ถือว่าเป็นความผิด โดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนา หรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2496 ในหมวดการตรวจของและป้องกันลักลอบหนีศุลกากร มาตรา 27 ทวิ ระบุว่าผู้ใดซ่อนเร้นช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งเป็นของอันที่ตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร หรือข้อห้ามข้อจำกัด มีความผิดต้องระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของ ซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องดูที่เจตนาของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ในเรื่องรู้หรือไม่รู้ว่ารถยนต์ที่อยู่ในครอบครองผิดกฎหมาย เพราะอย่างไรสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ก็ผิด กฎหมายระบุชัดเช่นนั้นจะปฏิเสธความผิดได้อย่างไร
สำหรับข้อ 4 ขอให้ พศ.จัดทำความคิดเห็นข้อเสนอ และข้อพิจารณาต่อข้อเสนอ 5 ข้อ ที่เครือข่ายคณะสงฆ์ และองค์กรภาคีพุทธบริษัท 4 ทั่วประเทศ (คสพ.) เสนอต่อรัฐบาล ข้อนี้เห็นได้ชัดว่าคำชี้แจงดูสอดคล้อง และสนับสนุนผู้มาชุมนุมที่พุทธมณฑล เนื่องจากวันที่พระมาชุมนุม พศ.นิ่งเฉย ดูเข้าข่ายสมรู้ร่วมคิดกันหรือไม่ ดังนั้น ขอสรุปว่าสาเหตุของความขัดแย้งทั้งหมดที่ส่งผลกระทบถึงสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ล้วนแล้วมาจากคนใกล้ชิดของท่านทั้งนั้น อาทิ พระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย วัดพระธรรมกาย พระศาสนมุนี (ธนกิจ สุภาโว) หรือเจ้าคุณแป๊ะ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำฯ พระเมธีธรรมจารย์ และพระโสภณพุทธิวิเทศ หรือเจ้าคุณเบอร์ลิน เป็นต้น พระกลุ่มนี้ออกมาสนับสนุนร่วมกันเพื่อประโยชน์ในเรื่องลาภยศตำแหน่ง จนเป็นเหตุให้ยกระดับความขัดแย้งรุนแรงขึ้น เพราะดึงเอานักการเมืองมาช่วยจนเรื่องไปกันใหญ่
“ขอเตือน พศ.ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อย่าเสนอข้อบิดเบือนไปยังรัฐบาล เพราะอาจมีความผิดด้านกฎหมาย ดังนั้น เรื่องนี้อาจต้องมีการตรวจสอบกันต่อไป”นายไพบูลย์กล่าว