xs
xsm
sm
md
lg

คนอุบลต้านนิวเคลียร์ จัดเสวนา 5 ปีหลังโรงไฟฟ้าฟูกุชิมะระเบิด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่บัณฑิตวิทยาลัย ม.ราชภัฏอุบลราชธานี มีการจัดเวทีเสวนา “จากฟูกุชิมาถึงอุบลราชธานี” เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกุชิมะไดอิจิระเบิด และอุบลราชธานีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่อยู่ในแผนที่จะมีการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ คาดว่าพื้นที่ก่อสร้างอยู่ใน อ.สิรินธร การจัดเสวนาในครั้งนี้เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องอุบัติภัยจากการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์และสถานการณ์ปัจจุบันหลังเกิดเหตุ โดยมีกลุ่มเครือข่ายและประชาชนที่สนใจร่วมฟังการเสวนากว่า 100 คน

ทั้งนี้มีวิทยากรชาวญี่ปุ่น 3 คน มี มร.กอนโนะ โยชิกะ หัวหน้าตำบลซึฮารา น.ส.เอมิโกะ ฟูจิโอกะ และ มร.ฮิโรยูกิ โยชิโน ผู้อยู่อาศัยอยู่ในเมืองฟูกุชิมะไดอิจิ และเป็นผู้ที่เข้าไปให้ความชาวเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบมากว่า 5 ปี มาเล่าประสบการณ์ หลังเกิดเหตุการณ์สึนามิจนทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกุชิมะไดอิจิ มีการรั่วไหลของรังสี รัฐบาลญี่ปุ่นต้องสั่งอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัศมี 20 กิโลเมตร จำนวนกว่า 1.6 แสนคน มาอยู่ในศูนย์อพยพ และยังไม่สามารถกลับเข้าไปพักอาศัยในบ้านเรือนของตนเองได้จนถึงทุกวันนี้

ผศ.ดร.ชมพูนุท โมราชาติ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ม.ราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวว่า เพื่อให้ นนิวเคลียร์ซึ่งจะเกิดผลเสีย เป็นมรดกถึงลูกหลานของพวกเราทุกคน เพราะโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะใช้ยูเรเนียมชนิดเข้มข้น รวมทั้งกัมมันตภาพรังสีเป็นเชื้อเพลิง หากรั่วไหลจะส่งผลให้เกิดมลพิษร้ายแรง ทั้งต่ออากาศ ทะเล แม่น้ำ และดิน ทำให้มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีพได้เป็นระยะเวลายาวนาน อีกทั้งการผลิตพลังงานไฟฟ้ายังก่อให้เกิดกากกัมมันตรังสี ซึ่งต้องใช้เวลาย่อยสลายนานหลายหมื่นปี ต้องฝังกลบอย่างดีในชั้นดินลึกๆ หรือใต้ทะเลลึก หากฝังกลบไม่ดีพอจะก่อให้เกิดมลพิษต่อโลกอย่างต่อเนื่อง

“ตราบที่ยังมีการผลิตไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ จะส่งผลกระทบต่อคนรุ่นหลัง เสี่ยงต่อการทำให้เปลือก โลกแปรสภาพ และต้องใช้น้ำเพื่อหล่อเย็นให้กับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เป็นจำนวนมหาศาล ดังนั้น การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นการใช้ต้นทุนในการก่อสร้างสูงมาก หากเทียบกับไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงถ่านหิน หรือไฟฟ้าพลังน้ำ” ผศ.ดร.ชมพูนุท กล่าวในที่สุด
กำลังโหลดความคิดเห็น