นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับ Mr. Tsutomu Shimura รองอธิบดีกรมการรถไฟ กระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (MLIT) ในการดำเนินงานโครงการรถไฟไทย - ญี่ปุ่น ว่า ที่ประชุมได้ติดตามการดำเนินโครงการพัฒนารถไฟเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก เส้นทางบ้านพุน้ำร้อน - กาญจนบุรี - กรุงเทพฯ - ฉะเชิงเทรา - สระแก้ว และ ฉะเชิงเทรา - แหลมฉบัง เส้นทางรถไฟเป็นทางเดี่ยว ขนาดราง 1 เมตร ล่าสุด ญี่ปุ่นได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างเส้นทางดังกล่าว เพื่อสำรวจสภาพเส้นทางและสิ่งที่ต้องปรับปรุง ในอนาคตอาจจะมีการก่อสร้างเป็นทางคู่ เพื่อเชื่อมต่อไปยังเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยขั้นแรกได้ปรับปรุงเส้นทางรถให้บริการขนส่งสินค้า และ ในวันพรุ่งนี้ (5 ก.พ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย กําหนดเปิดการทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก 12 ฟุต เป็นต้นแบบที่สถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นต้นแบบ ก่อนที่จะขยายไปในเส้นทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนความก้าวหน้าเส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ขณะนี้รูปแบบการดำเนินงานได้จัดทำแล้ว เหลือเพียงลงรายละเอียดในการดำเนินงานให้เกิดความเหมาะสม เพราะบางจุดการดำเนินงานยังทับซ้อนกับเส้นทางความร่วมมือรถไฟไทย - จีน ที่มีความชัดเจนขึ้นในเรื่องของระบบรางที่มีการแยกราง เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าปลายปีนี้จะสามารถสรุปแนวทางความร่วมมือระบบรางระหว่างไทยกับญี่ปุ่นได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการปรับแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟไทย - จีน โดยยืนยันว่า โครงการความร่วมมือการพัฒนาระบบขนส่งทางรางระหว่างไทยกับจีนยังเดินหน้าต่อไป แต่เพื่อเป็นการลดต้นทุนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร ฝ่ายไทยและฝ่ายจีนตกลงที่จะปรับแผนการก่อสร้างรถไฟไทย - จีนใหม่ โดยให้ความสำคัญในเส้นทาง กรุงเทพฯ - นครราชสีมา - หนองคาย และจะปรับการก่อสร้างช่วงนครราชสีมา - หนองคาย เป็นทางเดี่ยว ส่วนช่วงแก่งคอย - มาบตาพุด จะพิจารณาการก่อสร้างในระยะต่อไป และจากการพิจารณาปรับแผนดังกล่าวสามารถลดต้นทุนการก่อสร้างได้ประมาณ 1.6 แสนล้านบาท จากราคาที่ฝ่ายจีนเสนอมากว่า 5 แสนล้านบาท ขณะที่ผู้โดยสารยังคงสามารถเดินทางจากจีนมายังกรุงเทพมหานครยังคงมีความสะดวกไร้รอยต่อ
ส่วนความก้าวหน้าเส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ขณะนี้รูปแบบการดำเนินงานได้จัดทำแล้ว เหลือเพียงลงรายละเอียดในการดำเนินงานให้เกิดความเหมาะสม เพราะบางจุดการดำเนินงานยังทับซ้อนกับเส้นทางความร่วมมือรถไฟไทย - จีน ที่มีความชัดเจนขึ้นในเรื่องของระบบรางที่มีการแยกราง เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าปลายปีนี้จะสามารถสรุปแนวทางความร่วมมือระบบรางระหว่างไทยกับญี่ปุ่นได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการปรับแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟไทย - จีน โดยยืนยันว่า โครงการความร่วมมือการพัฒนาระบบขนส่งทางรางระหว่างไทยกับจีนยังเดินหน้าต่อไป แต่เพื่อเป็นการลดต้นทุนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร ฝ่ายไทยและฝ่ายจีนตกลงที่จะปรับแผนการก่อสร้างรถไฟไทย - จีนใหม่ โดยให้ความสำคัญในเส้นทาง กรุงเทพฯ - นครราชสีมา - หนองคาย และจะปรับการก่อสร้างช่วงนครราชสีมา - หนองคาย เป็นทางเดี่ยว ส่วนช่วงแก่งคอย - มาบตาพุด จะพิจารณาการก่อสร้างในระยะต่อไป และจากการพิจารณาปรับแผนดังกล่าวสามารถลดต้นทุนการก่อสร้างได้ประมาณ 1.6 แสนล้านบาท จากราคาที่ฝ่ายจีนเสนอมากว่า 5 แสนล้านบาท ขณะที่ผู้โดยสารยังคงสามารถเดินทางจากจีนมายังกรุงเทพมหานครยังคงมีความสะดวกไร้รอยต่อ