พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลเร่งปฏิรูปการศึกษาด้านอาชีวะ โดยประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการ ผลิตกำลังคนร่วมกัน และกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมตามระดับความสามารถของฝีมือแรงงาน รวมทั้งส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในรูปแบบทวิภาคีมากขึ้น โดยในปี 2558 มีสถานประกอบการเข้าร่วม 10,527 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ถึง 2.75 เท่า และมีจำนวนนักเรียนสายอาชีวะเพิ่มขึ้นเป็น 91,448 คน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลสามารถกระตุ้นให้นักเรียนและผู้ปกครองหันมาสนใจการศึกษาด้านอาชีวะมากขึ้น
"พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ ประสานงานกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรม จัดให้มีระบบทวิศึกษา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นให้ได้เรียนวิชาชีพเพิ่มเติม ขณะที่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถเรียนสายสามัญควบคู่กับสายอาชีพ (ปวช.) โดยใช้เวลาเรียนเพิ่มขึ้น 1 ภาคเรียน เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับทั้ง 2 วุฒิ คือ สายสามัญและสายอาชีพ และสามารถทำงานได้ทันที ซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุนค่าเล่าเรียน อุปกรณ์ประจำตัว และค่าเดินทาง"
สำหรับปีการศึกษา 2559 สถาบันอาชีวศึกษา จะร่วมกับสถานประกอบการเปิดหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศเฉพาะทาง นำร่องในสาขาวิชาพาณิชย์นาวี ขนส่งระบบราง ปิโตรเคมี แม่พิมพ์ การผลิตไฟฟ้า ท่องเที่ยว และเทคโนโลยีอาหารปลอดภัย ส่วนปีการศึกษา 2560 จะเปิดเพิ่มในสาขาปิโตรเลียม ชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และโรงแรม จากนั้นจะปรับเพิ่มจำนวนสถานศึกษาในโครงการให้เหมาะสมกับศักยภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ขณะเดียวกันยังได้ร่วมกับประเทศจีนส่งนักศึกษา ปวส. ไปฝึกงานการขนส่งระบบรางเป็นเวลา 1 ปี และเตรียมเปิดหลักสูตรสาขาการขนส่งระบบรางในประเทศไทย เพื่อสร้างความพร้อมรองรับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางตามนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ เป้าหมายในการปฏิรูปอาชีวศึกษาจะเน้นผลิตนักเรียนอาชีวะ ที่มีความเชี่ยวชาญเทคนิคปฏิบัติ เป็นแรงงานฝีมือ มีทักษะความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรม นำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการได้ในอนาคต ภายใต้แนวคิด “อาชีวศึกษา ฝีมือชน คนสร้างชาติ”จึงขอให้ผู้ปกครองเชื่อมั่น ในการส่งบุตรหลานมาเรียนอาชีวศึกษา ส่วนนักเรียนอาชีวะควรตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง ภาคภูมิใจในวิชาชีพ และพร้อมพัฒนาตนและนำพาประเทศชาติไปสู่ความก้าวหน้า
"พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ ประสานงานกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรม จัดให้มีระบบทวิศึกษา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นให้ได้เรียนวิชาชีพเพิ่มเติม ขณะที่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถเรียนสายสามัญควบคู่กับสายอาชีพ (ปวช.) โดยใช้เวลาเรียนเพิ่มขึ้น 1 ภาคเรียน เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับทั้ง 2 วุฒิ คือ สายสามัญและสายอาชีพ และสามารถทำงานได้ทันที ซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุนค่าเล่าเรียน อุปกรณ์ประจำตัว และค่าเดินทาง"
สำหรับปีการศึกษา 2559 สถาบันอาชีวศึกษา จะร่วมกับสถานประกอบการเปิดหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศเฉพาะทาง นำร่องในสาขาวิชาพาณิชย์นาวี ขนส่งระบบราง ปิโตรเคมี แม่พิมพ์ การผลิตไฟฟ้า ท่องเที่ยว และเทคโนโลยีอาหารปลอดภัย ส่วนปีการศึกษา 2560 จะเปิดเพิ่มในสาขาปิโตรเลียม ชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และโรงแรม จากนั้นจะปรับเพิ่มจำนวนสถานศึกษาในโครงการให้เหมาะสมกับศักยภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ขณะเดียวกันยังได้ร่วมกับประเทศจีนส่งนักศึกษา ปวส. ไปฝึกงานการขนส่งระบบรางเป็นเวลา 1 ปี และเตรียมเปิดหลักสูตรสาขาการขนส่งระบบรางในประเทศไทย เพื่อสร้างความพร้อมรองรับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางตามนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ เป้าหมายในการปฏิรูปอาชีวศึกษาจะเน้นผลิตนักเรียนอาชีวะ ที่มีความเชี่ยวชาญเทคนิคปฏิบัติ เป็นแรงงานฝีมือ มีทักษะความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรม นำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการได้ในอนาคต ภายใต้แนวคิด “อาชีวศึกษา ฝีมือชน คนสร้างชาติ”จึงขอให้ผู้ปกครองเชื่อมั่น ในการส่งบุตรหลานมาเรียนอาชีวศึกษา ส่วนนักเรียนอาชีวะควรตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง ภาคภูมิใจในวิชาชีพ และพร้อมพัฒนาตนและนำพาประเทศชาติไปสู่ความก้าวหน้า