การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.วันนี้ (4 ก.พ.) เริ่มเวลา 10.00 น. มีนายพรเพชร วิชิชลชัย ประธาน สนช.ทำหน้าที่ประธาน โดยได้พิจารณาญัตติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรม ซึ่ง พล.ร.อ.ศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง เป็นผู้เสนอ โดยกล่าวว่า ระบบราชการถือเป็นเสาหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ทั้งนี้ ได้มีการพัฒนาระบบราชการครั้งใหญ่เมื่อปี 2545 ด้วยการปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานบุคคลให้มีกระบวนการพัฒนาคุณธรรมในระบบราชการ เพื่อขจัดระบบอุปถัมภ์ แต่พบว่าที่ผ่านมา แม้จะมีพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 เพื่อให้หน่วยงานราชการยึดถือปฏิบัติ แต่กลับมีผู้ใช้อำนาจในระบบราชการ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบราชการและประเทศ
นอกจากนี้ ผลวิจัยธนาคารโลกปี 2556 พบว่าประสิทธิผลของรัฐบาลไทยอยู่อันดับที่ 74 จาก 196 ประเทศ รวมถึงในการสำรวจความเห็นของนักธุรกิจของเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัม (World Economic Forum) พบว่าความไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการไทย เป็น 1 ใน 5 ปัจจัยการทำธุรกิจ ส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นของประเทศ จึงเห็นว่าต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรม เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาให้หมดไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงมีมติด้วยคะแนนเอกฉันท์ 170 เสียง เห็นชอบตั้งคณะกรรมาธิการฯ จำนวน 19 คน มีกรอบการทำงาน 120 วัน จากนั้นได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้วต่อ โดยมีสาระสำคัญ คือการกำหนดให้วัยรุ่น อายุตั้งแต่ 10-19 ปี ได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้และการบริการ ตามสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ ที่ให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษา ให้เหมาะสมกับช่วงอายุ และระดับการศึกษาของเด็ก รวมถึงกำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
นอกจากนี้ ผลวิจัยธนาคารโลกปี 2556 พบว่าประสิทธิผลของรัฐบาลไทยอยู่อันดับที่ 74 จาก 196 ประเทศ รวมถึงในการสำรวจความเห็นของนักธุรกิจของเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัม (World Economic Forum) พบว่าความไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการไทย เป็น 1 ใน 5 ปัจจัยการทำธุรกิจ ส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นของประเทศ จึงเห็นว่าต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรม เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาให้หมดไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงมีมติด้วยคะแนนเอกฉันท์ 170 เสียง เห็นชอบตั้งคณะกรรมาธิการฯ จำนวน 19 คน มีกรอบการทำงาน 120 วัน จากนั้นได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้วต่อ โดยมีสาระสำคัญ คือการกำหนดให้วัยรุ่น อายุตั้งแต่ 10-19 ปี ได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้และการบริการ ตามสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ ที่ให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษา ให้เหมาะสมกับช่วงอายุ และระดับการศึกษาของเด็ก รวมถึงกำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น