การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. วันนี้ (23 ธ.ค.) เริ่มเวลา 10.00 น. มีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ... ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบวาระ 3 ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายด้วยคะแนน 179 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี และงดออกเสียง 3 เสียง
นายดิสทัต โหตะกิจ ประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงว่า ร่างกฎหมายนี้เป็นการยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติในกฎหมายอื่นที่มีหลักการในลักษณะเดียวกันไม่ให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เพื่อกำหนดอัตราโทษให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
จากนั้น ได้พิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรม โดย พล.ร.อ.ศักดิ์สิทธิ เชิดบุญเมือง ประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงว่า ปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบราชการไทยไม่สามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีการใช้ระบบอุปถัมภ์ที่ยึดความพึงพอใจของบุคคลเป็นสำคัญ ไม่คำนึงถึงหลักคุณธรรม ความเสมอภาค ความรู้ และความสามารถ ส่งผลให้ข้าราชการขาดขวัญกำลังใจ เป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้ง่าย จึงเสนอการแก้ปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย คือ การดำเนินการด้านนิติบัญญัติ ควรทบทวนปรับปรุงกฎหมายที่มีช่องว่างให้เกิดระบบอุปถัมภ์ ต้องยกระดับการแก้ปัญหาอุปถัมภ์เป็นวาระแห่งชาติ มีประมวลจริยธรรมที่ต้องมีจิตสำนึกและปฏิบัติอย่างจริงจัง ควรลดขั้นตอนกระบวนการเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้รวดเร็วและเป็นธรรม และควรจัดอบรมหลักสูตรปลูกฝังนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง ควรวางกรอบของหลักสูตรเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ยังมีวาระรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่องข้อเสนอและร่างกฎหมายเกี่ยวกับแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และเรื่อง การจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวก การผลิตและการบริการล่ามภาษามือ
นายดิสทัต โหตะกิจ ประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงว่า ร่างกฎหมายนี้เป็นการยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติในกฎหมายอื่นที่มีหลักการในลักษณะเดียวกันไม่ให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เพื่อกำหนดอัตราโทษให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
จากนั้น ได้พิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรม โดย พล.ร.อ.ศักดิ์สิทธิ เชิดบุญเมือง ประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงว่า ปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบราชการไทยไม่สามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีการใช้ระบบอุปถัมภ์ที่ยึดความพึงพอใจของบุคคลเป็นสำคัญ ไม่คำนึงถึงหลักคุณธรรม ความเสมอภาค ความรู้ และความสามารถ ส่งผลให้ข้าราชการขาดขวัญกำลังใจ เป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้ง่าย จึงเสนอการแก้ปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย คือ การดำเนินการด้านนิติบัญญัติ ควรทบทวนปรับปรุงกฎหมายที่มีช่องว่างให้เกิดระบบอุปถัมภ์ ต้องยกระดับการแก้ปัญหาอุปถัมภ์เป็นวาระแห่งชาติ มีประมวลจริยธรรมที่ต้องมีจิตสำนึกและปฏิบัติอย่างจริงจัง ควรลดขั้นตอนกระบวนการเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้รวดเร็วและเป็นธรรม และควรจัดอบรมหลักสูตรปลูกฝังนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง ควรวางกรอบของหลักสูตรเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ยังมีวาระรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่องข้อเสนอและร่างกฎหมายเกี่ยวกับแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และเรื่อง การจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวก การผลิตและการบริการล่ามภาษามือ