ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า สมาคมคาดการณ์ส่งออกข้าวไทยปี 2559 ไว้ที่ 9 ล้านตัน ใกล้เคียงกับกระทรวงพาณิชย์ โดยมีมูลค่า 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 144,000 ล้านบาท ขณะที่ข้อมูลคาดการณ์ของกระทรวงเกษตรสหรัฐ (ยูเอสดีเอ) ต่อการส่งออกข้าวโลกปี 2559 ระบุว่า ไทยจะกลับมาเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ 10.30 ล้านตัน หรือเพิ่ม 12% แทนอินเดียที่ตกไปอยู่ที่ 2 ที่ปริมาณ 8.50 ล้านตัน หรือลดลง 22.7% โดยเวียดนามยังเป็นอันดับ 3 แต่ปริมาณเพิ่มเป็น 7.30 ล้านตัน และเพิ่มขึ้น 12.3% ส่วนปี 2558 ไทยส่งออกข้าวได้ปริมาณ 9.79 ล้านตัน ลดลง 10.8% จากปี 2557 ที่ส่งออกได้ 10.97 ล้านตัน โดยมีมูลค่าส่งออก 4,613 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 15.2% หรือคิดเป็นเงินบาท 155,912 ล้านบาท หรือลดลง 10.8% ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวมากอันดับ 2 ของโลก รองจากอินเดีย ส่งออกได้ 10.23 ล้านตัน ตามด้วยเวียดนาม 6.61 ล้านตัน
“สถานการณ์ข้าวปีนี้จะผันผวนมาก เพราะมีเรื่องภัยแล้ง กระทบต่อปริมาณข้าวไทยและข้าวโลก ประเมินว่าสต๊อกข้าวโลกปีนี้มี 88.42 ล้านตัน ลดลง 14.8% ถือว่าปริมาณต่ำสุดรอบ 8 ปี ส่วนราคาคงไม่ขยับขึ้นรวดเร็ว แม้ปริมาณลดลง เพราะประเทศที่พึ่งพาส่งออกน้ำมันลดการนำเข้าในกลุ่มตะวันออกกลาง และไทยผู้ส่งออกรายใหญ่มีสต๊อกข้าวสูงถึง 13 ล้านตัน เป็นตัวกดดันราคาข้าวโลก แต่เชื่อว่าราคาข้าวน่าจะผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ปัจจุบันข้าวขาวเฉลี่ยตันละกว่า 300 เหรียญสหรัฐต่อตัน และข้าวหอมมะลิเฉลี่ยตันละกว่า 700 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยไตรมาสแรกมีโอกาสขยับขึ้นอีก 10%” ร.ต.ท.เจริญกล่าว
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า แม้ปีนี้ไทยส่งออกข้าวลดลงเหลือ 9 ล้านตัน แต่มีโอกาสกลับมาเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่สุดของโลก และแซงอินเดียขึ้นมาอีกครั้ง แต่ปริมาณส่งออกใกล้เคียงกันมาก ปริมาณสูงสุดคงอยู่ระดับ 9 ล้านตัน อาจชนะหลักหมื่นตันเท่านั้น ปัจจัยหนุนคือรัฐบาลมีแผนเจาะตลาดโลก ซึ่งเร็วๆ นี้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียจะเปิดประมูลนำเข้าข้าวอีกประเทศละ 4-8 แสนตัน หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์จะเดินทางไปอิหร่าน เพื่อเจรจาขายข้าวแบบจีทูจี ประมาณ 3 แสนตัน รวมทั้งค่าบาทอยู่ในระดับแข่งขันได้ 36-37 บาทต่อเหรียญ และปัญหาภัยแล้งในอินเดียอาจกระทบผลผลิตและส่งออก
“ภัยแล้งเป็นทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ ในประเทศที่กังวลคือผลผลิตข้าวนาปรัง 2559 รอบแรก ออกไตรมาส 2 ผลผลิตน่าจะหายไป 40% หรือหายไป 2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าชาวนาสูญรายได้ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท หากแล้งยาวถึงนาปรังรอบ 2 เก็บเกี่ยวในเดือนกันยายน ปกติมีผลผลิต 3 ล้านตันข้าวเปลือก จะกระทบต่อส่งออกข้าวนึ่งที่หาข้าวเปลือกไม่ได้ ขณะที่คู่แข่งสำคัญคือเวียดนาม ภัยแล้งไม่มาก และผลผลิตยังออกได้ปกติ” นายชูเกียรติกล่าว
“สถานการณ์ข้าวปีนี้จะผันผวนมาก เพราะมีเรื่องภัยแล้ง กระทบต่อปริมาณข้าวไทยและข้าวโลก ประเมินว่าสต๊อกข้าวโลกปีนี้มี 88.42 ล้านตัน ลดลง 14.8% ถือว่าปริมาณต่ำสุดรอบ 8 ปี ส่วนราคาคงไม่ขยับขึ้นรวดเร็ว แม้ปริมาณลดลง เพราะประเทศที่พึ่งพาส่งออกน้ำมันลดการนำเข้าในกลุ่มตะวันออกกลาง และไทยผู้ส่งออกรายใหญ่มีสต๊อกข้าวสูงถึง 13 ล้านตัน เป็นตัวกดดันราคาข้าวโลก แต่เชื่อว่าราคาข้าวน่าจะผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ปัจจุบันข้าวขาวเฉลี่ยตันละกว่า 300 เหรียญสหรัฐต่อตัน และข้าวหอมมะลิเฉลี่ยตันละกว่า 700 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยไตรมาสแรกมีโอกาสขยับขึ้นอีก 10%” ร.ต.ท.เจริญกล่าว
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า แม้ปีนี้ไทยส่งออกข้าวลดลงเหลือ 9 ล้านตัน แต่มีโอกาสกลับมาเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่สุดของโลก และแซงอินเดียขึ้นมาอีกครั้ง แต่ปริมาณส่งออกใกล้เคียงกันมาก ปริมาณสูงสุดคงอยู่ระดับ 9 ล้านตัน อาจชนะหลักหมื่นตันเท่านั้น ปัจจัยหนุนคือรัฐบาลมีแผนเจาะตลาดโลก ซึ่งเร็วๆ นี้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียจะเปิดประมูลนำเข้าข้าวอีกประเทศละ 4-8 แสนตัน หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์จะเดินทางไปอิหร่าน เพื่อเจรจาขายข้าวแบบจีทูจี ประมาณ 3 แสนตัน รวมทั้งค่าบาทอยู่ในระดับแข่งขันได้ 36-37 บาทต่อเหรียญ และปัญหาภัยแล้งในอินเดียอาจกระทบผลผลิตและส่งออก
“ภัยแล้งเป็นทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ ในประเทศที่กังวลคือผลผลิตข้าวนาปรัง 2559 รอบแรก ออกไตรมาส 2 ผลผลิตน่าจะหายไป 40% หรือหายไป 2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าชาวนาสูญรายได้ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท หากแล้งยาวถึงนาปรังรอบ 2 เก็บเกี่ยวในเดือนกันยายน ปกติมีผลผลิต 3 ล้านตันข้าวเปลือก จะกระทบต่อส่งออกข้าวนึ่งที่หาข้าวเปลือกไม่ได้ ขณะที่คู่แข่งสำคัญคือเวียดนาม ภัยแล้งไม่มาก และผลผลิตยังออกได้ปกติ” นายชูเกียรติกล่าว