นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2558 ประเทศไทยเผชิญสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ท้าทายหลายประการ ทั้งเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่มีความผันผวนและอยู่ในภาวะชะลอตัว อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ในฐานะหน่วยงานหลักด้านเศรษฐกิจการค้า ได้มุ่งมั่นดำเนินภารกิจเพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนทุกภาคส่วนทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ประกอบการ โดยมีผลการดำเนินการสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่ การบริหารจัดการข้าว การดูแลปากท้องประชาชน การเปิดตลาดและปลดล็อคปัญหาการค้า และยุทธศาสตร์การค้าไทยในอนาคต
สำหรับการบริหารจัดการข้าว เมื่อ คสช.เข้ามารับหน้าที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานตรวจสอบจัดทำบัญชีข้าว เพื่อทราบปริมาณและคุณภาพข้าวที่มีอยู่จริงในขณะนั้น และใช้เป็นบัญชีตั้งต้นสำหรับระบายข้าวในสตอกรัฐบาล ซึ่งมีประมาณ 18 ล้านตัน ปัจจุบันรัฐบาลระบายข้าวในสตอกไปแล้ว 4.87 ล้านตัน มูลค่า 52,582.53 ล้านบาท ส่วนแผนการระบายข่าวในช่วงต่อไป รัฐบาลจะเร่งระบายข้าวในสตอกที่เหลือประมาณ 13 ล้านต้นโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม การระบายข้าว รัฐบาลคำนึงถึงผลกระทบต่อราคาตลาดข้าวในฤดูกาลใหม่ ด้านการช่วยเหลือชาวนา ที่ผ่านมาการจำนำข้าวทุกเมล็ดและกำหนดราคาจำนำสูงกว่าตลาด ทำให้เกิดการบิดเบือนตลาด เกิดการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมหาศาล ที่สำคัญทำให้ชาวนา ปลูกข้าวโดยไม่สนใจเรื่องคุณภาพ เพราะปลูกอย่างไรก็ได้เงินช่วยเหลือเท่ากัน รัฐบาลปัจจุบันมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรทุกด้าน โดยหลีกเลี่ยงการบิดเบือนกลไกตลาด
ทั้งนี้ ปี 2558 ประเทศไทยส่งออกข้าวตามเป้าหมาย 10 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 172,643 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกจีทูจี 3.35 ล้านตัน มูลค่า 49,733.69 ล้านบาท นับว่าเป็นการส่งออกจีทูจีสูงที่สุดในประวัติการณ์ ส่วนปี 2559 กระทรวงพาณิชย์กำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวที่ปริมาณ 9 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 170,225 ล้านบาท และจากผลตอบรับที่ดีในการที่กระทรวงพาณิชย์ได้ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ข้าวไทยเชิงรุกในต่างประเทศ ทำให้สามารถดึงตลาดเก่าที่เคยสูญเสียไปกลับมาได้ เช่น ตลาดฮ่องกง อินโดนีเซีย เป็นต้น
ส่วนการส่งออกไทยปี 2559 กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายการส่งออกเติบโตร้อยละ 5 ซึ่งดีกว่าการส่งออกโลกที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 2.4 โดยมียุทธศาสตร์การส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทย ได้แก่ เร่งรัดทำตลาดเชิงกลยุทธ์ เช่น การผลักดันสินค้าและบริการเป็นคลัสเตอร์ และการใช้ประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ขยายการค้าในอาเซียน ปฏิรูปโครงสร้างการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
สำหรับการบริหารจัดการข้าว เมื่อ คสช.เข้ามารับหน้าที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานตรวจสอบจัดทำบัญชีข้าว เพื่อทราบปริมาณและคุณภาพข้าวที่มีอยู่จริงในขณะนั้น และใช้เป็นบัญชีตั้งต้นสำหรับระบายข้าวในสตอกรัฐบาล ซึ่งมีประมาณ 18 ล้านตัน ปัจจุบันรัฐบาลระบายข้าวในสตอกไปแล้ว 4.87 ล้านตัน มูลค่า 52,582.53 ล้านบาท ส่วนแผนการระบายข่าวในช่วงต่อไป รัฐบาลจะเร่งระบายข้าวในสตอกที่เหลือประมาณ 13 ล้านต้นโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม การระบายข้าว รัฐบาลคำนึงถึงผลกระทบต่อราคาตลาดข้าวในฤดูกาลใหม่ ด้านการช่วยเหลือชาวนา ที่ผ่านมาการจำนำข้าวทุกเมล็ดและกำหนดราคาจำนำสูงกว่าตลาด ทำให้เกิดการบิดเบือนตลาด เกิดการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมหาศาล ที่สำคัญทำให้ชาวนา ปลูกข้าวโดยไม่สนใจเรื่องคุณภาพ เพราะปลูกอย่างไรก็ได้เงินช่วยเหลือเท่ากัน รัฐบาลปัจจุบันมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรทุกด้าน โดยหลีกเลี่ยงการบิดเบือนกลไกตลาด
ทั้งนี้ ปี 2558 ประเทศไทยส่งออกข้าวตามเป้าหมาย 10 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 172,643 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกจีทูจี 3.35 ล้านตัน มูลค่า 49,733.69 ล้านบาท นับว่าเป็นการส่งออกจีทูจีสูงที่สุดในประวัติการณ์ ส่วนปี 2559 กระทรวงพาณิชย์กำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวที่ปริมาณ 9 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 170,225 ล้านบาท และจากผลตอบรับที่ดีในการที่กระทรวงพาณิชย์ได้ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ข้าวไทยเชิงรุกในต่างประเทศ ทำให้สามารถดึงตลาดเก่าที่เคยสูญเสียไปกลับมาได้ เช่น ตลาดฮ่องกง อินโดนีเซีย เป็นต้น
ส่วนการส่งออกไทยปี 2559 กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายการส่งออกเติบโตร้อยละ 5 ซึ่งดีกว่าการส่งออกโลกที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 2.4 โดยมียุทธศาสตร์การส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทย ได้แก่ เร่งรัดทำตลาดเชิงกลยุทธ์ เช่น การผลักดันสินค้าและบริการเป็นคลัสเตอร์ และการใช้ประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ขยายการค้าในอาเซียน ปฏิรูปโครงสร้างการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ