วันนี้ (16 ธ.ค.) พล.ต.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผบ.พล.ม.2 รอ. เป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าการจัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะ หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) มอบหมายให้ พล.ม.2 รอ. เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการดำเนินการจัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการบังคับใช้กฎหมาย แต่ยังคงมีปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินการหลายประการ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนและเป็นการติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยมีผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจนครบาล กรุงเทพมหานคร กรมการขนส่งทางบก บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และเจ้าหน้าที่ทหารเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง
พล.ต.เฉลิมพล กล่าวว่า การประชุมในวันนี้เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในแผนงานการดำเนินการที่ผ่านมา กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติ และเพื่อกำชับการดูแลให้มีระเบียบ และเรื่องการเตรียมการเพื่อรองรับวันหยุดยาวช่วงเทศกาลเพื่อให้การบริการประชาชนมีความสะดวกและปลอดภัย ที่ผ่านมา คสช.มีนโยบายหลักในการจัดระเบียบ 4 ข้อ ได้แก่ เรื่องความปลอดภัย เรื่องการจอดไม่ขวางทางจราจร เรื่องผู้มีอิทธิพลและเรื่องราคาโดยสารที่เป็นธรรม ก่อนหน้านั้นมีรถตู้โดยสารป้ายดำที่ผิดกฎหมายวิ่งให้บริการประชาชนหลายคันจนเคยชิน
จากนั้น คณะทำงานได้สำรวจพบว่ามีรถตู้โดยสารสาธารณะป้ายดำ จำนวน 6,078 คัน จากนั้นได้มีการตรวจสภาพรถ หากอายุรถเกิน 10 ปี จะออกให้บริการประชาชนไม่ได้ โดยได้รับความร่วมมือหยุดวิ่งให้บริการไปกว่า 3,000 คัน ส่วนที่เหลือได้รับความเยียวยากลับมาวิ่งให้บริการได้ 3,075 คัน แบ่งเป็นรถตู้ของ บขส.จำนวน 1,812 คัน และรถตู้ ขสมก.จำนวน 1,263 คัน แต่ถ้าอายุการใช้งานของรถเกิน 10 ปี ก็ต้องหาอาชีพใหม่ทำได้เลย
นอกจากนี้ สิ่งที่ยังเป็นปัญหาคือผู้ประกอบการควรเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในลักษณะเป็นนิติบุคคล เพราะเจ้าของรถตู้รายคันจากที่พบจะรับผู้โดยสารเกิน และไม่ยอมออกรถถ้าคนน้อย ขับเร็วเพราะต้องทำรอบ โดยเจ้าหน้าที่พยายามทำความเข้าใจ เนื่องจากเจ้าของรถควรดำเนินการเป็นแบบบริษัทให้มีมาตรฐาน อีกทั้งสถานที่การขนส่งโดยสารทั้งต้นทางและปลายทางต้องอยู่ในสถานีขนส่ง เช่น หมอชิต เอกมัย และสายใต้ แต่พบว่าขณะนี้ยังไม่เพียงพอ ส่วนในแผนงานรถตู้โดยสารสาธารณะที่อยู่รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิต้องกลับไปอยู่ในสถานีขนส่งให้หมด สำหรับการปราบปรามผู้มีอิทธิพลนั้นได้ใช้การเลือกตั้งคณะกรรมการเส้นทาง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานกรรมการขนส่งจังหวัด เป็นประธานดูแลเรื่องสถานที่ กำหนดจุดจอดรถที่แน่ชัด
พล.ต.เฉลิมพล กล่าวว่า การประชุมในวันนี้เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในแผนงานการดำเนินการที่ผ่านมา กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติ และเพื่อกำชับการดูแลให้มีระเบียบ และเรื่องการเตรียมการเพื่อรองรับวันหยุดยาวช่วงเทศกาลเพื่อให้การบริการประชาชนมีความสะดวกและปลอดภัย ที่ผ่านมา คสช.มีนโยบายหลักในการจัดระเบียบ 4 ข้อ ได้แก่ เรื่องความปลอดภัย เรื่องการจอดไม่ขวางทางจราจร เรื่องผู้มีอิทธิพลและเรื่องราคาโดยสารที่เป็นธรรม ก่อนหน้านั้นมีรถตู้โดยสารป้ายดำที่ผิดกฎหมายวิ่งให้บริการประชาชนหลายคันจนเคยชิน
จากนั้น คณะทำงานได้สำรวจพบว่ามีรถตู้โดยสารสาธารณะป้ายดำ จำนวน 6,078 คัน จากนั้นได้มีการตรวจสภาพรถ หากอายุรถเกิน 10 ปี จะออกให้บริการประชาชนไม่ได้ โดยได้รับความร่วมมือหยุดวิ่งให้บริการไปกว่า 3,000 คัน ส่วนที่เหลือได้รับความเยียวยากลับมาวิ่งให้บริการได้ 3,075 คัน แบ่งเป็นรถตู้ของ บขส.จำนวน 1,812 คัน และรถตู้ ขสมก.จำนวน 1,263 คัน แต่ถ้าอายุการใช้งานของรถเกิน 10 ปี ก็ต้องหาอาชีพใหม่ทำได้เลย
นอกจากนี้ สิ่งที่ยังเป็นปัญหาคือผู้ประกอบการควรเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในลักษณะเป็นนิติบุคคล เพราะเจ้าของรถตู้รายคันจากที่พบจะรับผู้โดยสารเกิน และไม่ยอมออกรถถ้าคนน้อย ขับเร็วเพราะต้องทำรอบ โดยเจ้าหน้าที่พยายามทำความเข้าใจ เนื่องจากเจ้าของรถควรดำเนินการเป็นแบบบริษัทให้มีมาตรฐาน อีกทั้งสถานที่การขนส่งโดยสารทั้งต้นทางและปลายทางต้องอยู่ในสถานีขนส่ง เช่น หมอชิต เอกมัย และสายใต้ แต่พบว่าขณะนี้ยังไม่เพียงพอ ส่วนในแผนงานรถตู้โดยสารสาธารณะที่อยู่รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิต้องกลับไปอยู่ในสถานีขนส่งให้หมด สำหรับการปราบปรามผู้มีอิทธิพลนั้นได้ใช้การเลือกตั้งคณะกรรมการเส้นทาง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานกรรมการขนส่งจังหวัด เป็นประธานดูแลเรื่องสถานที่ กำหนดจุดจอดรถที่แน่ชัด