พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน โฆษกคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกฏหมายและกระบวนการยุติธรรม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) แถลงภายหลังการประชุม ว่า ที่ประชุมมีมติให้ขับเคลื่อนการปฏิรูปกิจการตำรวจ โดยให้มีการปฏิรูปการบริหารงานบุคคลให้ปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง มีการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ที่ทำให้ตำรวจอ่อนแอ เนื่องจากมีนักการเมืองเข้ามาแทรกแซง ตามมาตรา 53(1) (2) ที่ระบุให้นายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) และประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) ที่มีอำนาจแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแทน ซึ่งฝ่ายการเมืองก็ต้องตั้งคนของตัวเองขึ้นมา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่อยากเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็ต้องเดินตามนักการเมือง ที่ประชุมจึงมีการเสนอให้ตัดมาตราดังกล่าวออกไป เพราะไม่ต้องการให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซง โดยให้เปลี่ยนเป็นว่า ต่อไปนี้ให้เป็นการเลือกผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแทน โดยเลือกจากรอง 12 คน ให้เหลือ 3 คน แล้วส่งรายชื่อทั้ง 3 คน ไปให้ตำรวจทั่วประเทศพิจารณา พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ก่อนให้ตำรวจทั่วประเทศเข้าคูหากาว่าจะเลือกใคร แล้วให้แต่ละภาคส่งคะแนนให้ส่วนกลางก่อนประกาศว่าใครจะได้เป็น
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวทางสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เคยส่งแนวทางไปยังคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็เห็นชอบ โดยเฉพาะที่ไม่ต้องการให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงกิจการตำรวจ
พล.ต.ท.อำนวย กล่าวว่า การปฏิรูปตำรวจในครั้งนี้ต้องแก้ พ.ร.บ.ตำรวจ ซึ่งบางเรื่องตนจะเสนอให้นายกรัฐมนตรีใช้มาตรา 44 ดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งนายตำรวจ เพราะหากปล่อยเลยผ่านให้ถึงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แสงหิ่งห้อยจะสว่างกว่า เพราะไม่มีนักการเมืองคนไหนยอมให้อำนาจตัวเองลดลง ซึ่งที่ประชุมยังได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปตำรวจ ขึ้นมา 1 คณะ เพื่อทำเรื่องการปฏิรูปตำรวจโดยเฉพาะ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติให้ปฏิรูปงานสอบสวน เพื่อให้เกิดการปฏิรูปแก่ประชาชนมากที่สุดพร้อมให้ปฏิรูปการแต่งตั้งโยกย้าย โดยยึดระบบคุณธรรม ป้องกันการซื้อขายตำแหน่ง เพราะหากยังมีการซื้อตำแหน่งก็ยังมีการถอนทุนกันอยู่ต่อไป รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกิจการตำรวจ การถ่ายโอนภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของตำรวจไปให้หน่วยงานอื่นดูแล และการปฏิรูปงานนิติวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังเสนอให้มีการปฏิรูปองค์กรทนายความ โดยเฉพาะทนายความอาสา และทนายขอแรง ให้มีคุณภาพและคุณสมบัติที่เหมาะสม มีการอบรม วัด และประเมินผล รวมทั้งปรับปรุงค่าตอบแทนของทนายความให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันยังเสนอให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวกับผู้ต้องหาที่ปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อป้องกันการหลบหนีด้วย
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวทางสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เคยส่งแนวทางไปยังคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็เห็นชอบ โดยเฉพาะที่ไม่ต้องการให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงกิจการตำรวจ
พล.ต.ท.อำนวย กล่าวว่า การปฏิรูปตำรวจในครั้งนี้ต้องแก้ พ.ร.บ.ตำรวจ ซึ่งบางเรื่องตนจะเสนอให้นายกรัฐมนตรีใช้มาตรา 44 ดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งนายตำรวจ เพราะหากปล่อยเลยผ่านให้ถึงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แสงหิ่งห้อยจะสว่างกว่า เพราะไม่มีนักการเมืองคนไหนยอมให้อำนาจตัวเองลดลง ซึ่งที่ประชุมยังได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปตำรวจ ขึ้นมา 1 คณะ เพื่อทำเรื่องการปฏิรูปตำรวจโดยเฉพาะ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติให้ปฏิรูปงานสอบสวน เพื่อให้เกิดการปฏิรูปแก่ประชาชนมากที่สุดพร้อมให้ปฏิรูปการแต่งตั้งโยกย้าย โดยยึดระบบคุณธรรม ป้องกันการซื้อขายตำแหน่ง เพราะหากยังมีการซื้อตำแหน่งก็ยังมีการถอนทุนกันอยู่ต่อไป รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกิจการตำรวจ การถ่ายโอนภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของตำรวจไปให้หน่วยงานอื่นดูแล และการปฏิรูปงานนิติวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังเสนอให้มีการปฏิรูปองค์กรทนายความ โดยเฉพาะทนายความอาสา และทนายขอแรง ให้มีคุณภาพและคุณสมบัติที่เหมาะสม มีการอบรม วัด และประเมินผล รวมทั้งปรับปรุงค่าตอบแทนของทนายความให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันยังเสนอให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวกับผู้ต้องหาที่ปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อป้องกันการหลบหนีด้วย