สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อคืนวันศุกร์ (13 พ.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้บดบังข้อมูลเงินเฟ้อที่ต่ำเกินคาดของสหรัฐ
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 0.1 ดอลลาร์ หรือ 0.01% ปิดที่ 1,080.90 ดอลลาร์/ออนซ์
ราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยปกติราคาทองคำและดอลลาร์จะเคลื่อนไหวในทิศทางที่ตรงกันข้าม ซึ่งหมายความว่า หากดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นราคาทองคำจะปรับตัวลดลง เมื่อวัดจากดอลลาร์ เนื่องจากทองคำจะมีราคาสูงขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ
อย่างไรก็ดี ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐได้สกัดการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดอลลาร์หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ร่วงลง 0.4% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน
ดัชนี PPI ดังกล่าวบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ท่ามกลางการร่วงลงของราคาน้ำมัน และดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น
ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน ลดลง 0.3% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน
นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนี PPI จะเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนต.ค. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐานจะเพิ่มขึ้น 0.1%
นักวิเคราะห์กล่าวว่า การปรับตัวลดลงของดัชนี PPI เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันอาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในเดือนธ.ค.ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ
กระแสคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดถือเป็นปัจจัยหลักที่หนุนดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น แม้ว่าทางการสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ปรับตัวลงก็ตาม
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ทองคำได้รับปัจจัยหนุนจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่ระบุว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 4.473 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งบ่งชี้ว่าชาวสหรัฐยังคงมีท่าทีระมัดระวังต่อการใช้จ่าย
นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนต.ค. ผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับเฟอร์นิเจอร์ และสินค้าเพื่อสุขภาพ แต่ลดการซื้อรถยนต์ หากไม่รวมยอดขายรถยนต์ และน้ำมัน ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือน ต.ค.
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 0.1 ดอลลาร์ หรือ 0.01% ปิดที่ 1,080.90 ดอลลาร์/ออนซ์
ราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยปกติราคาทองคำและดอลลาร์จะเคลื่อนไหวในทิศทางที่ตรงกันข้าม ซึ่งหมายความว่า หากดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นราคาทองคำจะปรับตัวลดลง เมื่อวัดจากดอลลาร์ เนื่องจากทองคำจะมีราคาสูงขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ
อย่างไรก็ดี ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐได้สกัดการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดอลลาร์หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ร่วงลง 0.4% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน
ดัชนี PPI ดังกล่าวบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ท่ามกลางการร่วงลงของราคาน้ำมัน และดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น
ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน ลดลง 0.3% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน
นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนี PPI จะเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนต.ค. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐานจะเพิ่มขึ้น 0.1%
นักวิเคราะห์กล่าวว่า การปรับตัวลดลงของดัชนี PPI เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันอาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในเดือนธ.ค.ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ
กระแสคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดถือเป็นปัจจัยหลักที่หนุนดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น แม้ว่าทางการสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ปรับตัวลงก็ตาม
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ทองคำได้รับปัจจัยหนุนจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่ระบุว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 4.473 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งบ่งชี้ว่าชาวสหรัฐยังคงมีท่าทีระมัดระวังต่อการใช้จ่าย
นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนต.ค. ผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับเฟอร์นิเจอร์ และสินค้าเพื่อสุขภาพ แต่ลดการซื้อรถยนต์ หากไม่รวมยอดขายรถยนต์ และน้ำมัน ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือน ต.ค.