ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (9 พ.ย.) โดยตลาดได้รับแรงกดดันหลังจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2559 นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า และข้อมูลการค้าต่างประเทศของจีนที่อ่อนแรงลง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,730.48 จุด ลดลง 179.85 จุด หรือ -1.00% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 5,095.30 จุด ลดลง 51.82 จุด หรือ -1.01% ดัชนีเอสแอนด์พี500 ปิดที่ 2,078.58 จุด ลดลง 20.62 จุด หรือ -0.98%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจาก OECD ปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2559 ซึ่งสะท้อนถึงภาวะการค้าที่ซบเซา ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
ทั้งนี้ OECD คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 3.3% ในปีหน้า ลดลงจาก 3.6% ที่คาดการณ์ในเดือนก.ย. และจะขยายตัว 3.6% ในปี 2560 ขณะที่กลุ่มประเทศในตลาดเกิดใหม่อ่อนแอลงต่อไป
นอกจากนี้ OECD คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 6.5% ในปีหน้า และ 6.2% ในปี 2560 โดยมีปัจจัยลบจากการลงทุนในภาคการผลิตที่ชะลอตัว
ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐนั้น OECD คาดว่าจะยังคงขยายตัว 2.5% ในปีหน้า โดยได้แรงหนุนจากการบริโภคในภาคครัวเรือน และการลงทุนในภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม OECD เตือนว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่อาจเกิดขึ้นในเดือนธ.ค. อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่
กระแสคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดยังคงสร้างแรงกดดันต่อตลาด โดยการคาดการณ์ดังกล่าวมีน้ำหนักมากขึ้นหลังจากสหรัฐเปิดเผยว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 271,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2014 ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 5.0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปีครึ่ง
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากข้อมูลการค้าที่อ่อนแรงลงของจีน โดยสำนักงานศุลกากรจีนระบุว่า มูลค่าการค้าระหว่างประเทศเดือนต.ค.ของจีน ร่วงลง 9% เมื่อเทียบรายปี แตะ 2.06 ล้านล้านหยวน (3.2462 แสนล้านดอลลาร์) ซึ่งย่ำแย่กว่าตัวเลขเดือนก.ย.ที่หดตัวลง 8.8%
ขณะที่ยอดส่งออกของจีนหดตัวลง 3.6% แตะ 1.23 ล้านล้านหยวนในเดือนต.ค. และยอดนำเข้าเดือนต.ค.ร่วงลง 16% สู่ระดับ 8.3314 แสนล้านหยวน ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าพุ่งขึ้น 40.2% อยู่ที่ 3.9322 แสนล้านหยวน
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง นำโดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล และหุ้นเชฟรอน ที่ต่างก็ร่วงลงกว่า 1.8%
หุ้นเมซี และหุ้นโคห์ล ร่วงลงกว่า 5% หลังจากซิตี้กรุ๊ปปรับคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้ โดยระบุว่าธุรกิจสินค้าเพื่อผู้บริโภคกำลังได้รับผลกระทบจากยอดขายที่ชะลอตัวลงและสต็อกสินค้าคงคลังที่สูงขึ้น
หุ้นกลุ่มการเงินปรับตัวลง โดยหุ้นเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ต่างก็ร่วงลงอย่างน้อย 1.5% ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลงเช่นกัน โดยหุ้นบิสิเนส แมชีนส์ คอร์ป หุ้นอินเทล คอร์ป และหุ้นไมโครซอฟท์ คอร์ป ต่างก็ปรับตัวลงอย่างน้อย 1.4%
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.ย., สต็อกสินค้าและยอดค้าส่งเดือนก.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, ดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐเดือนต.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต.ค., ยอดค้าปลีกเดือนต.ค., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนพ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,730.48 จุด ลดลง 179.85 จุด หรือ -1.00% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 5,095.30 จุด ลดลง 51.82 จุด หรือ -1.01% ดัชนีเอสแอนด์พี500 ปิดที่ 2,078.58 จุด ลดลง 20.62 จุด หรือ -0.98%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจาก OECD ปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2559 ซึ่งสะท้อนถึงภาวะการค้าที่ซบเซา ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
ทั้งนี้ OECD คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 3.3% ในปีหน้า ลดลงจาก 3.6% ที่คาดการณ์ในเดือนก.ย. และจะขยายตัว 3.6% ในปี 2560 ขณะที่กลุ่มประเทศในตลาดเกิดใหม่อ่อนแอลงต่อไป
นอกจากนี้ OECD คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 6.5% ในปีหน้า และ 6.2% ในปี 2560 โดยมีปัจจัยลบจากการลงทุนในภาคการผลิตที่ชะลอตัว
ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐนั้น OECD คาดว่าจะยังคงขยายตัว 2.5% ในปีหน้า โดยได้แรงหนุนจากการบริโภคในภาคครัวเรือน และการลงทุนในภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม OECD เตือนว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่อาจเกิดขึ้นในเดือนธ.ค. อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่
กระแสคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดยังคงสร้างแรงกดดันต่อตลาด โดยการคาดการณ์ดังกล่าวมีน้ำหนักมากขึ้นหลังจากสหรัฐเปิดเผยว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 271,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2014 ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 5.0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปีครึ่ง
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากข้อมูลการค้าที่อ่อนแรงลงของจีน โดยสำนักงานศุลกากรจีนระบุว่า มูลค่าการค้าระหว่างประเทศเดือนต.ค.ของจีน ร่วงลง 9% เมื่อเทียบรายปี แตะ 2.06 ล้านล้านหยวน (3.2462 แสนล้านดอลลาร์) ซึ่งย่ำแย่กว่าตัวเลขเดือนก.ย.ที่หดตัวลง 8.8%
ขณะที่ยอดส่งออกของจีนหดตัวลง 3.6% แตะ 1.23 ล้านล้านหยวนในเดือนต.ค. และยอดนำเข้าเดือนต.ค.ร่วงลง 16% สู่ระดับ 8.3314 แสนล้านหยวน ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าพุ่งขึ้น 40.2% อยู่ที่ 3.9322 แสนล้านหยวน
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง นำโดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล และหุ้นเชฟรอน ที่ต่างก็ร่วงลงกว่า 1.8%
หุ้นเมซี และหุ้นโคห์ล ร่วงลงกว่า 5% หลังจากซิตี้กรุ๊ปปรับคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้ โดยระบุว่าธุรกิจสินค้าเพื่อผู้บริโภคกำลังได้รับผลกระทบจากยอดขายที่ชะลอตัวลงและสต็อกสินค้าคงคลังที่สูงขึ้น
หุ้นกลุ่มการเงินปรับตัวลง โดยหุ้นเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ต่างก็ร่วงลงอย่างน้อย 1.5% ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลงเช่นกัน โดยหุ้นบิสิเนส แมชีนส์ คอร์ป หุ้นอินเทล คอร์ป และหุ้นไมโครซอฟท์ คอร์ป ต่างก็ปรับตัวลงอย่างน้อย 1.4%
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.ย., สต็อกสินค้าและยอดค้าส่งเดือนก.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, ดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐเดือนต.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต.ค., ยอดค้าปลีกเดือนต.ค., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนพ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน