นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ (3 พ.ย.) สคร.จะเสนอกระบวนการลดขั้นตอนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นการลงทุนภายใต้ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 หรือ PPP โดยไม่ต้องออกฎหมายลูกรองรับ เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนของรัฐและเอกชนให้มีความรวดเร็วขึ้น เหลือ 9 เดือน จากเดิมใช้เวลายื่นเสนอลงทุนแต่ละโครงการ 1-2 ปี โดยจะตั้งคณะทำงานจาก สคร.ขึ้นมาเพื่อพิจารณาแต่ละโครงการ ตั้งแต่เริ่มยื่นขอก่อสร้างโครงการ กระบวนการขั้นตอนเอกสาร เพราะยอมรับว่าบางโครงการที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่เมื่อมาถึงกระบวนการของ สคร.ยังขาดรายละเอียดตามกฎหมายจึงต้องให้กลับไปทำกระบวนต่าง ๆ ให้ครบถ้วน
นายเอกนิติ ยืนยันว่า การลดกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ยังคงมีความรอบคอบ มีความโปร่งใส โดย สคร.จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการประมูลคัดเลือกภาคเอกชนที่จะเข้ามาก่อสร้างแต่ละโครงการ เชื่อว่าการลงทุนจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยปีหน้าขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากขณะนี้มี 7 โครงการ วงเงิน 340,000 ล้านบาท ที่จะเข้ามาอยู่ใน พ.ร.บ.ร่วมทุนพีพีพี เช่น โครงการรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า การสร้างมอเตอร์เวย์ เป็นต้น ถือว่าเป็นความท้าทายที่จะต้องเพิ่มความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจในประเทศผ่านการลงทุนในประเทศ
ทั้งนี้ พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง มีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 3 เท่า ของหนี้ต่างประเทศ หนี้สาธารณะยังต่ำเพียงร้อยละ 43 ของจีดีพี ขณะที่สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์สูงถึง 2.2 ล้านล้านบาท และเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารพาณิชย์สูงถึงร้อยละ 16 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ต่ำเพียงร้อยละ 1 ดังนั้น เชื่อว่าจะสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปี 2559 ที่เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาจะมีความแตกต่างกันมาก และสามารถรองรับกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ ซึ่งแตกต่างจากมาเลเซียที่เกิดปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและค่าเงินริงกิตที่อ่อนค่าต่อเนื่อง
นายเอกนิติ ยืนยันว่า การลดกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ยังคงมีความรอบคอบ มีความโปร่งใส โดย สคร.จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการประมูลคัดเลือกภาคเอกชนที่จะเข้ามาก่อสร้างแต่ละโครงการ เชื่อว่าการลงทุนจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยปีหน้าขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากขณะนี้มี 7 โครงการ วงเงิน 340,000 ล้านบาท ที่จะเข้ามาอยู่ใน พ.ร.บ.ร่วมทุนพีพีพี เช่น โครงการรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า การสร้างมอเตอร์เวย์ เป็นต้น ถือว่าเป็นความท้าทายที่จะต้องเพิ่มความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจในประเทศผ่านการลงทุนในประเทศ
ทั้งนี้ พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง มีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 3 เท่า ของหนี้ต่างประเทศ หนี้สาธารณะยังต่ำเพียงร้อยละ 43 ของจีดีพี ขณะที่สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์สูงถึง 2.2 ล้านล้านบาท และเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารพาณิชย์สูงถึงร้อยละ 16 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ต่ำเพียงร้อยละ 1 ดังนั้น เชื่อว่าจะสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปี 2559 ที่เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาจะมีความแตกต่างกันมาก และสามารถรองรับกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ ซึ่งแตกต่างจากมาเลเซียที่เกิดปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและค่าเงินริงกิตที่อ่อนค่าต่อเนื่อง