รายงานข่าวแจ้งว่าวันนี้ (29 ต.ค.58) เวลา 10.00 น. สำนักงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภายในภาครัฐ เขต 3 หรือ (ปปท.) มอบหมายให้นายณัฐพงษ์ พาสิงห์ นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ ปปท.เขต 3 พร้อมด้วยนายประสิทธิ์ มหาวิวัฒน์ วิศวกรโยธาประจำ ปปท.เขต 3 นำคณะลงพื้นที่เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมโดยมีนายวิจิตร ชิณศรี รองผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีชัยภูมิ เป็นตัวแทนโรงเรียนเป็นผู้นำชี้แจง และพาตรวจสถานที่ ภายในตัวอาคารอเนกประสงค์ แบบพิเศษของโรงเรียนสตรีชัยภูมิ ที่มีการดำเนินการประมูลงานจัดซื้อจัดจ้างก่อสร้างตัวอาคารขนาดสูง 4 ชั้น มาตั้งแต่ปี 2556-2558 ในวงเงินงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน จาก สพฐ.ที่มีผู้รับเหมาเสนอราคาประมูลงานไปได้คือบริษัทราฤธานี ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ตำบลบางพลู อำเภอเมือง จังหวัดประทุมธานี ที่เสนอมาในราคา 44,300,000 บาท ต่ำกว่าราคากลางกว่า 3.7 ล้านบาท จากที่ตั้งไว้ 48 ล้านบาท
โดยเบื้องต้นทางหัวหน้าชุดคณะ ปปท.เขต 3 ได้เข้าตรวจสอบเอกสารหลักฐานการออกแบบที่ล่าสุดพบว่าทางโรงเรียนสตรีชัยภูมิ สมัยอดีตผู้อำนวยการคนก่อนที่ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว เป็นผู้จัดทำและหาวิศวกรมาออกแบบการก่อสร้างอาคารแห่งนี้เองทั้งหมด ก่อนที่จะเสนอไปขออนุมัติงบประมาณจาก สพฐ.เพื่อลงมาดำเนินการเองตามแบบที่อ้างว่าได้ผ่านการรับรองตัวอาคารสูงขนาด 4 ชั้น รวมมีห้องเรียน ห้องผู้บริหาร ห้องพักครู ห้องพัสดุ ห้องนั่งเล่นเด็ก ห้องสืบค้น ห้องปฏิบัติการพิเศษและห้องประชุมขนาดกลางและเล็กรวมทั้งหมดเพียง 27 ห้อง และการจัดซื้อจัดจ้างติดตั้งหลอดไฟและระบบแอร์มากเกินความจำเป็น เบื้องต้นเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณรัฐเสียเปล่าโดยใช่เหตุเตรียมเสนอ คณะ ปปท.ใหญ่พิจารณาดำเนินการกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด
ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่ผ่านมาจ้าหน้าตรวจสอบพิเศษภาค 4 จังหวัดนครราชสีมาและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.จังหวัดชัยภูมิ เข้าตรวจสอบเอกสารการจัดซื้อ จัดจ้างและสอบสวนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโครงการก่อสร้างอาคารเรียนเอนกประสงค์พิเศษ 4 ชั้น โรงเรียนสตรีชัยภูมิ ที่ใช้งบประมาณสูงถึง 44 ล้านบาท พบว่า มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศและหลอดไฟเกินความจำเป็น โดยเฉพาะบริเวณบันไดทางเชื่อมจากชั้น 1 ไปยังชั้น 2
นายธนินรัฐ เมธาศศิสิมธิ์ หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบสืบสวน สำนักตรวจสอบพิเศษ ภาค 4 นครราชสีมา กล่าวว่า ตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่สามารถชี้มูลความผิดเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณก่อสร้างอาคาร แต่พบว่าในบางห้องมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศและหลอดไฟเกินความจำเป็น ซึ่งจะต้องตรวจสอบอย่างรายละเอียดและรวบรวมข้อมูลให้กับผู้บังคับบัญชาพิจารณาต่อไป
ด้านนายสุเทพ ชิตยวงษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ.ยืนยันว่าการก่อสร้างอาคารดังกล่าวใช้แบบแปลนพิเศษ ซึ่งโรงเรียนจัดส่งแบบมาให้ สพฐ.พิจารณารับรองและจัดสรรงบประมาณเพื่อการก่อสร้าง ซึ่งจากการตรวจสอบไม่พบความผิดปกติและมีการใช้แบบแปลนลักษณะนี้ในหลายโรงเรียน
โดยเบื้องต้นทางหัวหน้าชุดคณะ ปปท.เขต 3 ได้เข้าตรวจสอบเอกสารหลักฐานการออกแบบที่ล่าสุดพบว่าทางโรงเรียนสตรีชัยภูมิ สมัยอดีตผู้อำนวยการคนก่อนที่ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว เป็นผู้จัดทำและหาวิศวกรมาออกแบบการก่อสร้างอาคารแห่งนี้เองทั้งหมด ก่อนที่จะเสนอไปขออนุมัติงบประมาณจาก สพฐ.เพื่อลงมาดำเนินการเองตามแบบที่อ้างว่าได้ผ่านการรับรองตัวอาคารสูงขนาด 4 ชั้น รวมมีห้องเรียน ห้องผู้บริหาร ห้องพักครู ห้องพัสดุ ห้องนั่งเล่นเด็ก ห้องสืบค้น ห้องปฏิบัติการพิเศษและห้องประชุมขนาดกลางและเล็กรวมทั้งหมดเพียง 27 ห้อง และการจัดซื้อจัดจ้างติดตั้งหลอดไฟและระบบแอร์มากเกินความจำเป็น เบื้องต้นเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณรัฐเสียเปล่าโดยใช่เหตุเตรียมเสนอ คณะ ปปท.ใหญ่พิจารณาดำเนินการกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด
ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่ผ่านมาจ้าหน้าตรวจสอบพิเศษภาค 4 จังหวัดนครราชสีมาและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.จังหวัดชัยภูมิ เข้าตรวจสอบเอกสารการจัดซื้อ จัดจ้างและสอบสวนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโครงการก่อสร้างอาคารเรียนเอนกประสงค์พิเศษ 4 ชั้น โรงเรียนสตรีชัยภูมิ ที่ใช้งบประมาณสูงถึง 44 ล้านบาท พบว่า มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศและหลอดไฟเกินความจำเป็น โดยเฉพาะบริเวณบันไดทางเชื่อมจากชั้น 1 ไปยังชั้น 2
นายธนินรัฐ เมธาศศิสิมธิ์ หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบสืบสวน สำนักตรวจสอบพิเศษ ภาค 4 นครราชสีมา กล่าวว่า ตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่สามารถชี้มูลความผิดเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณก่อสร้างอาคาร แต่พบว่าในบางห้องมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศและหลอดไฟเกินความจำเป็น ซึ่งจะต้องตรวจสอบอย่างรายละเอียดและรวบรวมข้อมูลให้กับผู้บังคับบัญชาพิจารณาต่อไป
ด้านนายสุเทพ ชิตยวงษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ.ยืนยันว่าการก่อสร้างอาคารดังกล่าวใช้แบบแปลนพิเศษ ซึ่งโรงเรียนจัดส่งแบบมาให้ สพฐ.พิจารณารับรองและจัดสรรงบประมาณเพื่อการก่อสร้าง ซึ่งจากการตรวจสอบไม่พบความผิดปกติและมีการใช้แบบแปลนลักษณะนี้ในหลายโรงเรียน