กรณีที่เมื่อวานนี้ (9 ตุลาคม 2558) คณะกรรมการนโยบาย (กนย.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกสัญญาจ้างนายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. โดยชี้แจงว่าผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ได้กระทำผิดสัญญาจ้างเรื่องการปฏิบัติงานตามแผนงานที่ได้รับความเห็นชอบให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด และการจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายทุกสามเดือน
นอกจากนั้น ยังไม่ปฏิบัติตามระเบียบของ ส.ส.ท. และมติของคณะกรรมการนโยบาย ทั้งยังไม่สามารถกำกับ ดูแล และติดตามให้ฝ่ายบริหารปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีสัมฤทธิผล เพื่อพร้อมรับการแข่งขันและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ มติดังกล่าวส่งผลให้ผู้อำนวยการสถานีไทยพีบีเอส นายสมชัย สุวรรณบรรณ และรองผู้อำนวยการ รวมถึงคณะกรรมการบริหารทั้งคณะ เช่น นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ,นายมงคล ลีลาธรรม ,นายสุพจน์ จริงจิตร และนายพุทธิสัตย์ นามเดช สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่และมีผลทันที โดยคณะกรรมการนโยบายได้แต่งตั้งนางพวงรัตน์ สองเมือง ผู้อำนวยการสำนักรายการ ให้รักษาการผู้อำนวยการไปจนกว่าการดำเนินการสรรหา ผู้อำนวยการคนใหม่จะแล้วเสร็จ
ในขณะที่นายสมชัย สุวรรณบรรณ ยืนยันว่า ตนได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องและเป็นไปตามสัญญาจ้างทุกประการ พร้อมกันระบุว่าจะใช้สิทธิปกป้องตนเองเพราะถือว่าการเลิกจ้างในครั้งนี้ถือว่าตนไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยเตรียมการร้องขอความเป็นธรรมตามกฏหมายแล้ว เพราะถือว่าการปลดครั้งนี้ มีกระบวนการออกคำสั่ง ที่ไม่น่าจะถูกต้อง โดยปกติหากจะมีการปลดพ้นจากตำแหน่ง ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 3-4 วัน แต่กรรมการนโยบายบอกให้มีผลทันทีหลังจากมีมติ
“ผมไม่ทราบล่วงหน้าเลยว่าจะมีคำสั่งปลด แต่ที่ผ่านมาก็มีเค้าลางมาตลอด ผมได้แจ้งกับคณะกรรมการนโยบายแล้วว่า ผมคิดว่าเป็นการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งผมก็จะขอพิจารณาปรึกษาผู้รู้ทางกฏหมายว่าผมจะใช้สิทธิ์ปกป้องตัวเองอย่างไร ซึ่งในกรณีนี้มีทางเลือกอยู่ 2 ศาล คือ ศาลแรงงานกับศาลปกครอง ผมต้องขอปกป้องสิทธิเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ เพราะผมไม่ได้ทำอะไรผิด” นายสมชัยกล่าว
ส่วนกรณีเรื่องการอนุมัติงบประมาณเกินกว่า 50 ล้านบาทนั้น เรื่องนี้เกิดขึ้นมา 3 ปีแล้ว และกำลังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง ยังไม่มีการสรุปผลว่าตนผิด และยืนยันว่าได้ทำตามขั้นตอนทุกอย่าง ถ้าคิดว่าเรื่องนี้เป็นความผิด ก็น่าจะมีการปลดตนไปตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่จะนำมาเป็นสาเหตุในการปลดตนพ้นจากตำแหน่ง
สำหรับเรตติ้งของไทยพีบีเอสที่ตกอย่างต่อเนื่องนั้น ขณะนี้สถานีโทรทัศน์ดิจิทัลเกิดขึ้นใหม่ถึง 24 ช่อง หลายช่องก็เรตติ้งตกกันทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทยพีบีเอสเป็นทีวีสาธารณะ จะไปสู้รายการสถานีช่องบันเทิงได้อย่างไร กรรมการนโยบายต้องเข้าใจปัญหาและอุตสหกรรมทีวีด้วย
“ผมกับอาจารย์ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ประธานบอร์ดนโยบาย ทำงานร่วมกันได้ดีในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีมีปัญหาอะไรต่อกัน จึงไม่คิดว่าเรื่องนี้เป็นวาระของใคร แต่บอร์ดมีทั้งหมด 9 คน ต่างคนต่างมีวาระต่างกันไป”
ทั้งนี้ตามสัญญาจ้างนายสมชัย สุวรรณบรรณ รับตำแหน่งผู้อำนวยการไทยพีบีเอสตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค.2555 ถึง 9 ต.ค.2559
ด้านนายสมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการด้านสื่อมวลชน ได้เขียนข้อความให้กำลังใจนายสมชัย ผ่านเฟซบุ๊กของตนเองว่า "เหตุผลที่ผอ.ไทยพีบีเอส สมชัย สุวรรณบรรณ ถูกปลดขอชื่นชมในความเป็นมืออาชีพสื่อสารมวลชนของคุณสมชัยและเศร้าใจต่อความรุนแรงจากกรรมการนโยบาย ภายใต้การนำของผู้เป็นมืออาชีพเหมือนกันแต่เป็นอาชีพอื่น”
นอกจากนี้ นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ที่ได้เขียนข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวใจความว่า นี่คงไม่ใช่เรื่องความผิดพลาดในแง่ตัวบุคคล แต่เป็นความผิดพลาดและความเลวร้ายของระบบ ซึ่งเอาคนที่ไม่เข้าใจงานสื่อมวลชน มาตัดสินวิชาชีพสื่อ ร้ายกว่านั้นก็คือไม่มีความกล้าหาญเพียงพอที่จะปกป้องความเป็นอิสระของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสไม่ว่าความไม่กล้าหาญนั้น จะมาจากการสยบยอมต่อผู้มีอำนาจที่พยายามแทรกแซงชี้นำงานของไทยพีบีเอสตลอดมาหรือไม่ก็ตาม
อย่างไรก็ตามต้องฟังความทั้ง 2 ด้าน คณะกรรมการนโยบายฯอาจมีเหตุผลที่มีมติเอกฉันท์ในการเลิกจ้างนายสมชัย ในขณะที่นายสมชัยก็ต้องเลือกวิธีการพิสูจน์ความจริงที่ชัดเจนและสังคมยอมรับได้ “เรื่องของคุณสมชัยไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล แต่มันคือการยืนยันหลักการความเป็นอิสระของสื่อสาธารณะ อันเป็นหมุดหมายสำคัญของการปฏิรูปสื่อ สมาคมวิชาชีพสื่อที่เกี่ยวข้องไม่อาจนิ่งดูดายและปล่อยให้คุณสมชัยต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว หากสิ่งนั้นคือการต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระของไทยพีบีเอสอย่างแท้จริง”นายจักรกฤษ์ ระบุ
นอกจากนั้น ยังไม่ปฏิบัติตามระเบียบของ ส.ส.ท. และมติของคณะกรรมการนโยบาย ทั้งยังไม่สามารถกำกับ ดูแล และติดตามให้ฝ่ายบริหารปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีสัมฤทธิผล เพื่อพร้อมรับการแข่งขันและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ มติดังกล่าวส่งผลให้ผู้อำนวยการสถานีไทยพีบีเอส นายสมชัย สุวรรณบรรณ และรองผู้อำนวยการ รวมถึงคณะกรรมการบริหารทั้งคณะ เช่น นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ,นายมงคล ลีลาธรรม ,นายสุพจน์ จริงจิตร และนายพุทธิสัตย์ นามเดช สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่และมีผลทันที โดยคณะกรรมการนโยบายได้แต่งตั้งนางพวงรัตน์ สองเมือง ผู้อำนวยการสำนักรายการ ให้รักษาการผู้อำนวยการไปจนกว่าการดำเนินการสรรหา ผู้อำนวยการคนใหม่จะแล้วเสร็จ
ในขณะที่นายสมชัย สุวรรณบรรณ ยืนยันว่า ตนได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องและเป็นไปตามสัญญาจ้างทุกประการ พร้อมกันระบุว่าจะใช้สิทธิปกป้องตนเองเพราะถือว่าการเลิกจ้างในครั้งนี้ถือว่าตนไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยเตรียมการร้องขอความเป็นธรรมตามกฏหมายแล้ว เพราะถือว่าการปลดครั้งนี้ มีกระบวนการออกคำสั่ง ที่ไม่น่าจะถูกต้อง โดยปกติหากจะมีการปลดพ้นจากตำแหน่ง ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 3-4 วัน แต่กรรมการนโยบายบอกให้มีผลทันทีหลังจากมีมติ
“ผมไม่ทราบล่วงหน้าเลยว่าจะมีคำสั่งปลด แต่ที่ผ่านมาก็มีเค้าลางมาตลอด ผมได้แจ้งกับคณะกรรมการนโยบายแล้วว่า ผมคิดว่าเป็นการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งผมก็จะขอพิจารณาปรึกษาผู้รู้ทางกฏหมายว่าผมจะใช้สิทธิ์ปกป้องตัวเองอย่างไร ซึ่งในกรณีนี้มีทางเลือกอยู่ 2 ศาล คือ ศาลแรงงานกับศาลปกครอง ผมต้องขอปกป้องสิทธิเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ เพราะผมไม่ได้ทำอะไรผิด” นายสมชัยกล่าว
ส่วนกรณีเรื่องการอนุมัติงบประมาณเกินกว่า 50 ล้านบาทนั้น เรื่องนี้เกิดขึ้นมา 3 ปีแล้ว และกำลังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง ยังไม่มีการสรุปผลว่าตนผิด และยืนยันว่าได้ทำตามขั้นตอนทุกอย่าง ถ้าคิดว่าเรื่องนี้เป็นความผิด ก็น่าจะมีการปลดตนไปตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่จะนำมาเป็นสาเหตุในการปลดตนพ้นจากตำแหน่ง
สำหรับเรตติ้งของไทยพีบีเอสที่ตกอย่างต่อเนื่องนั้น ขณะนี้สถานีโทรทัศน์ดิจิทัลเกิดขึ้นใหม่ถึง 24 ช่อง หลายช่องก็เรตติ้งตกกันทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทยพีบีเอสเป็นทีวีสาธารณะ จะไปสู้รายการสถานีช่องบันเทิงได้อย่างไร กรรมการนโยบายต้องเข้าใจปัญหาและอุตสหกรรมทีวีด้วย
“ผมกับอาจารย์ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ประธานบอร์ดนโยบาย ทำงานร่วมกันได้ดีในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีมีปัญหาอะไรต่อกัน จึงไม่คิดว่าเรื่องนี้เป็นวาระของใคร แต่บอร์ดมีทั้งหมด 9 คน ต่างคนต่างมีวาระต่างกันไป”
ทั้งนี้ตามสัญญาจ้างนายสมชัย สุวรรณบรรณ รับตำแหน่งผู้อำนวยการไทยพีบีเอสตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค.2555 ถึง 9 ต.ค.2559
ด้านนายสมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการด้านสื่อมวลชน ได้เขียนข้อความให้กำลังใจนายสมชัย ผ่านเฟซบุ๊กของตนเองว่า "เหตุผลที่ผอ.ไทยพีบีเอส สมชัย สุวรรณบรรณ ถูกปลดขอชื่นชมในความเป็นมืออาชีพสื่อสารมวลชนของคุณสมชัยและเศร้าใจต่อความรุนแรงจากกรรมการนโยบาย ภายใต้การนำของผู้เป็นมืออาชีพเหมือนกันแต่เป็นอาชีพอื่น”
นอกจากนี้ นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ที่ได้เขียนข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวใจความว่า นี่คงไม่ใช่เรื่องความผิดพลาดในแง่ตัวบุคคล แต่เป็นความผิดพลาดและความเลวร้ายของระบบ ซึ่งเอาคนที่ไม่เข้าใจงานสื่อมวลชน มาตัดสินวิชาชีพสื่อ ร้ายกว่านั้นก็คือไม่มีความกล้าหาญเพียงพอที่จะปกป้องความเป็นอิสระของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสไม่ว่าความไม่กล้าหาญนั้น จะมาจากการสยบยอมต่อผู้มีอำนาจที่พยายามแทรกแซงชี้นำงานของไทยพีบีเอสตลอดมาหรือไม่ก็ตาม
อย่างไรก็ตามต้องฟังความทั้ง 2 ด้าน คณะกรรมการนโยบายฯอาจมีเหตุผลที่มีมติเอกฉันท์ในการเลิกจ้างนายสมชัย ในขณะที่นายสมชัยก็ต้องเลือกวิธีการพิสูจน์ความจริงที่ชัดเจนและสังคมยอมรับได้ “เรื่องของคุณสมชัยไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล แต่มันคือการยืนยันหลักการความเป็นอิสระของสื่อสาธารณะ อันเป็นหมุดหมายสำคัญของการปฏิรูปสื่อ สมาคมวิชาชีพสื่อที่เกี่ยวข้องไม่อาจนิ่งดูดายและปล่อยให้คุณสมชัยต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว หากสิ่งนั้นคือการต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระของไทยพีบีเอสอย่างแท้จริง”นายจักรกฤษ์ ระบุ