ประธานบริหารอียูเปิดเผยระบบโควตาภาคบังคับให้สมาชิกทุกชาติร่วมรับผิดชอบผู้ลี้ภัย 160,000 คน และผ่อนคลายสถานการณ์ตึงเครียดของรัฐชายขอบจากวิกฤตผู้อพยพครั้งเลวร้ายที่สุดนับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้านแมร์เคิลเตือนเยอรมนีให้หลีกเลี่ยงความผิดพลาดในอดีตเกี่ยวกับนโยบายการรับแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานเพียงชั่วคราวแล้วส่งกลับประเทศ
ในการแถลงนโยบายครั้งแรกหลังจากเข้ารับตำแหน่งต่อรัฐสภายุโรปเมื่อวันพุธ (9 ก.ย.) ฌอง โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (อียู) เรียกร้องให้ยุโรปทบทวนประวัติศาสตร์และอย่ากลัวข้อเสนอ “กล้าหาญ” ของตนเกี่ยวกับโควตาภาคบังคับในการรองรับผู้ลี้ภัยที่หนีสงครามมาจากซีเรียและที่อื่นๆ พร้อมเตือนไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติทางศาสนาในการตัดสินใจรับผู้ลี้ภัย
จุงเกอร์ยังเรียกร้องให้บรรดารัฐมนตรีมหาดไทยอียูที่มีกำหนดประชุมกันในวันจันทร์หน้า (14) สนับสนุนแผนการใหม่นี้ในการกระจายความรับผิดชอบต่อผู้ลี้ภัย 120,000 คนที่อยู่ในฮังการี กรีซ และอิตาลีขณะนี้ และอีก 40,000 คนที่อพยพเข้ามาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม อย่างเสมอภาคกัน โดยพิจารณาจากขนาดเศรษฐกิจ จำนวนประชากร อัตราว่างงาน และการยื่นคำขอลี้ภัยที่ผ่านกรรมวิธีดำเนินการแล้ว โดยประเทศที่ปฏิเสธไม่ยอมรับผู้อพยพตามโควตาจะถูกลงโทษทางการเงินขั้นรุนแรง
ภายใต้แผนการนี้ เยอรมนีจะรับผู้อพยพกว่า 31,000 คน, ฝรั่งเศส 24,000 คน และสเปนเกือบ 15,000 คน
เฉพาะปีนี้ มีผู้อพยพเดินทางทางทะเลเข้าสู่ยุโรปแล้วกว่า 380,000 คน โดย 85% เป็นผู้ที่หนีสงครามมาจากซีเรีย อิรัก และอัฟกานิสถาน
ข้อเสนอนี้ยังประกอบด้วยระบบการย้ายถิ่นฐานถาวรเพื่อจัดการกับวิกฤตผู้ลี้ภัยอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นในอนาคต, การเสนอรายชื่อ “ประเทศปลอดภัย” ที่ผู้ขอลี้ภัยจะต้องถูกส่งตัวกลับ, การเพิ่มความเข้มแข็งของระบบผู้ลี้ภัยร่วมของอียู, การทบทวน “ระบบดับลิน” ซึ่งกำหนดให้ผู้อพยพลงทะเบียนในประเทศแรกที่เดินทางถึง, และการจัดการชายแดนรอบนอกและช่องทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับการย้ายถิ่น
ในการแถลงนโยบายครั้งแรกหลังจากเข้ารับตำแหน่งต่อรัฐสภายุโรปเมื่อวันพุธ (9 ก.ย.) ฌอง โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (อียู) เรียกร้องให้ยุโรปทบทวนประวัติศาสตร์และอย่ากลัวข้อเสนอ “กล้าหาญ” ของตนเกี่ยวกับโควตาภาคบังคับในการรองรับผู้ลี้ภัยที่หนีสงครามมาจากซีเรียและที่อื่นๆ พร้อมเตือนไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติทางศาสนาในการตัดสินใจรับผู้ลี้ภัย
จุงเกอร์ยังเรียกร้องให้บรรดารัฐมนตรีมหาดไทยอียูที่มีกำหนดประชุมกันในวันจันทร์หน้า (14) สนับสนุนแผนการใหม่นี้ในการกระจายความรับผิดชอบต่อผู้ลี้ภัย 120,000 คนที่อยู่ในฮังการี กรีซ และอิตาลีขณะนี้ และอีก 40,000 คนที่อพยพเข้ามาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม อย่างเสมอภาคกัน โดยพิจารณาจากขนาดเศรษฐกิจ จำนวนประชากร อัตราว่างงาน และการยื่นคำขอลี้ภัยที่ผ่านกรรมวิธีดำเนินการแล้ว โดยประเทศที่ปฏิเสธไม่ยอมรับผู้อพยพตามโควตาจะถูกลงโทษทางการเงินขั้นรุนแรง
ภายใต้แผนการนี้ เยอรมนีจะรับผู้อพยพกว่า 31,000 คน, ฝรั่งเศส 24,000 คน และสเปนเกือบ 15,000 คน
เฉพาะปีนี้ มีผู้อพยพเดินทางทางทะเลเข้าสู่ยุโรปแล้วกว่า 380,000 คน โดย 85% เป็นผู้ที่หนีสงครามมาจากซีเรีย อิรัก และอัฟกานิสถาน
ข้อเสนอนี้ยังประกอบด้วยระบบการย้ายถิ่นฐานถาวรเพื่อจัดการกับวิกฤตผู้ลี้ภัยอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นในอนาคต, การเสนอรายชื่อ “ประเทศปลอดภัย” ที่ผู้ขอลี้ภัยจะต้องถูกส่งตัวกลับ, การเพิ่มความเข้มแข็งของระบบผู้ลี้ภัยร่วมของอียู, การทบทวน “ระบบดับลิน” ซึ่งกำหนดให้ผู้อพยพลงทะเบียนในประเทศแรกที่เดินทางถึง, และการจัดการชายแดนรอบนอกและช่องทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับการย้ายถิ่น