นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาขยายตัวเปราะบางมีเพียง 2 ปัจจัยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คือการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวได้ 10.8% และการท่องเที่ยวก่อนมีระเบิดเกิดขึ้นที่แยกราชประสงค์ขยายได้ 39.4% ที่ยังเป็นแรงสนับสนุนสำคัญ แต่ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลให้การส่งออกติดลบ 3.6% ซึ่งยังแย่กว่าที่คาดไว้ และรายได้เกษตรกรลดลงติดลบกว่า 14% จากราคาพืชผลของตลาดโลกลดลง ส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชนหายไปมากทำให้รัฐบาลต้องเร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นการเร่งด่วน
สศค.ได้ประเมินเหตุการณ์ระเบิดที่ราชประสงค์พบว่า ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยจากการหารือกับสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวพบว่า จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวหายไปเดือนละ 1 แสนคน หรือในช่วง 3 เดือนที่เหลือของปีนี้ จะหายไป 3 แสนคน จากเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ 29.9 ล้านคน หรือกระทบผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) 0.05% แต่ยืนยันว่าจีดีพี ปี 2558 จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 3% จากที่ภาครัฐจะเน้นการส่งเสริมการลงทุนขนาดเล็กในท้องถิ่น และมาตรการเพื่อช่วยผู้ที่มีรายได้น้อย โดยจะใช้งบประมาณมากกว่า 4-5 หมื่นล้านบาท เชื่อว่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจให้ขยายตัวชดเชยการส่งออกคาดว่าจะติดลบ 4% ได้ เพราะการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้เกิดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาคประชาชนเร็วขึ้น
ขณะที่การบริโภคยังชะลอตัว โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต)ในเดือนกรกฎาคมขยายตัวลบ 1.7% รวมถึงการเก็บภาษีการ นำเข้าก็มีสัญญาณชะลอตัว ขยายตัวได้ 1.4% จากเดือนก่อนหน้าขยายตัวได้ 6.5%
สศค.ได้ประเมินเหตุการณ์ระเบิดที่ราชประสงค์พบว่า ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยจากการหารือกับสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวพบว่า จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวหายไปเดือนละ 1 แสนคน หรือในช่วง 3 เดือนที่เหลือของปีนี้ จะหายไป 3 แสนคน จากเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ 29.9 ล้านคน หรือกระทบผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) 0.05% แต่ยืนยันว่าจีดีพี ปี 2558 จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 3% จากที่ภาครัฐจะเน้นการส่งเสริมการลงทุนขนาดเล็กในท้องถิ่น และมาตรการเพื่อช่วยผู้ที่มีรายได้น้อย โดยจะใช้งบประมาณมากกว่า 4-5 หมื่นล้านบาท เชื่อว่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจให้ขยายตัวชดเชยการส่งออกคาดว่าจะติดลบ 4% ได้ เพราะการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้เกิดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาคประชาชนเร็วขึ้น
ขณะที่การบริโภคยังชะลอตัว โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต)ในเดือนกรกฎาคมขยายตัวลบ 1.7% รวมถึงการเก็บภาษีการ นำเข้าก็มีสัญญาณชะลอตัว ขยายตัวได้ 1.4% จากเดือนก่อนหน้าขยายตัวได้ 6.5%