รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้เปิดรายงานการประชุมรอบวันที่ 5 สิงหาคม 2558 ว่า ที่ประชุมประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาว่า ฟื้นตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน แต่ในระยะข้างหน้าปัจจัยด้านลบมีมากขึ้น ทำให้ในภาพรวมประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้ทั้งปีจึงปรับลดลงเล็กน้อยจากการประชุมครั้งก่อน และอาจต่ำกว่าคาดการณ์ทั้งปีที่ 3%
ทั้งนี้ แรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจยังคงมาจากภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวซึ่งที่ผ่านมาขยายตัวดีกว่าคาด และการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐที่ทำได้ดีต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถชดเชยแรงส่งของการใช้จ่ายในประเทศ และการส่งออกสินค้าที่อ่อนแรงลงได้ทั้งหมดภายใต้ปัจจัยลบที่มากขึ้น 2 ประการคือ 1.การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและเอเชีย ซึ่งทำให้การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มหดตัวมากขึ้น แม้การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาอาจช่วยพยุงการส่งออกสินค้าได้บ้าง
2.สถานการณ์ภัยแล้งที่ส่งผลลบเพิ่มเติมต่อการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนผ่านรายได้เกษตรกร และความเชื่อมั่นที่ปรับลดลง ในภาวะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเปราะบาง ธุรกิจส่วนใหญ่จึงชะลอการลงทุน
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป และความเสี่ยงที่ปรับสูงขึ้น กนง.จึงยังจำเป็นที่จะต้องติดตาม และประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดคือการบริโภคภาคครัวเรือนรวมทั้งความเชื่อมั่น และติดตามสัญญาณความเปราะบางของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า สะท้อนจากการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อของธุรกิจกลุ่มดังกล่าว
ทั้งนี้ แรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจยังคงมาจากภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวซึ่งที่ผ่านมาขยายตัวดีกว่าคาด และการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐที่ทำได้ดีต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถชดเชยแรงส่งของการใช้จ่ายในประเทศ และการส่งออกสินค้าที่อ่อนแรงลงได้ทั้งหมดภายใต้ปัจจัยลบที่มากขึ้น 2 ประการคือ 1.การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและเอเชีย ซึ่งทำให้การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มหดตัวมากขึ้น แม้การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาอาจช่วยพยุงการส่งออกสินค้าได้บ้าง
2.สถานการณ์ภัยแล้งที่ส่งผลลบเพิ่มเติมต่อการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนผ่านรายได้เกษตรกร และความเชื่อมั่นที่ปรับลดลง ในภาวะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเปราะบาง ธุรกิจส่วนใหญ่จึงชะลอการลงทุน
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป และความเสี่ยงที่ปรับสูงขึ้น กนง.จึงยังจำเป็นที่จะต้องติดตาม และประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดคือการบริโภคภาคครัวเรือนรวมทั้งความเชื่อมั่น และติดตามสัญญาณความเปราะบางของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า สะท้อนจากการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อของธุรกิจกลุ่มดังกล่าว