เมื่อวันที่ 9 ส.ค.2558 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจัดเวทีราชดำเนินเสวนาในหัวข้อ "ภาษีบาปผลกระทบ สสส. ไทยพีบีเอส" โดยศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการจะทบทวนร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรค 4 ว่าหากยกเลิกการเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ จะมีผลกระทบอย่างไร หรือถ้าไม่ยกเลิกอาจเขียนไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแทน แต่ต้องมีการวางกฎเกณฑ์เพื่อป้องกันการใช้ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะโดยไม่จำเป็นและไม่ให้กลายเป็นเครื่องมือของพรรคการเมืองนำไปใช้เป็นนโยบายประชานิยม
นอกจากนี้ยังต้องทบทวนหลักการการใช้ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยให้ประชาชนที่เสียภาษีเฉพาะกลุ่มได้รับประโยชน์จากองค์กรที่ได้รับเงินภาษี เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้รับเงินจากภาษีเหล้าและบุหรี่ นำไปรณรงค์ให้ประชาชนเลิกดื่มเหล้าและเลิกสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพ แต่กรณีขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ยังไม่ใช่การใช้ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะที่ถูกวัตถุประสงค์มากนัก ในอนาคตอาจมีการทบทวนให้ใช้ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะที่เก็บจากธุรกิจสื่อภาคเอกชน ศ.จรัสกล่าว
"ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะควรจะเป็นไปตามหลักการ คือ ผู้เสียภาษีกับผู้ที่ได้รับประโยชน์จากภาษีต้องเป็นคนกลุ่มเดียวกัน มีความเชื่อมโยงกัน ไม่ใช่ว่าเอาภาษีไปทำอะไรก็ได้ ในกรณีของไทยพีบีเอสก็อาจจะมีการทบทวนได้ในอนาคต" ศ.จรัสแสดงความเห็น
ขณะที่นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เสนอแนวทางให้คณะกรรมาธิยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อปรับปรุงกฎหมายภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยให้เพิ่มข้อจำกัดการออกกฎหมายภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ทำได้เฉพาะหน่วยงานที่จำเป็นและต้องการความอิสระ ห้ามหน่วยงานราชการใช้ภาษีเฉพาะ และการจะจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องใช้เงินจากการเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง คือ 3 ใน 5 จากรัฐสภา
"หากรัฐบาล คสช.มีความเป็นห่วงว่าจะมีการใช้ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเป็นจำนวนมากเกินไปจนเสียวินัยทางการคลัง ก็แก้ไขได้ง่ายโดยสั่งการให้กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ตัดบทบัญญัติเรื่องพวกนี้ที่อยู่ในกฎหมายของตัวเองออกไปหรือในการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีก็อย่าอนุมัติ ในอนาคต ถ้าเป็นห่วงรัฐบาลจากการเลือกตั้งจะใช้กองทุนจากภาษีวัตถุประสงค์เฉพาะในการทำนโยบายบางเรื่องที่เข้าข่ายประชานิยมก็สามารถใช้เสียงข้างมากจัดการทำให้ยากขึ้นได้" นายสมเกียรติกล่าว
ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ยังกล่าวอีกว่าหากปฏิบัติได้ตามข้อเสนอดังกล่าว ก็จะไม่เกิดกองทุนจากภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะมากเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ยังต้องทบทวนหลักการการใช้ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยให้ประชาชนที่เสียภาษีเฉพาะกลุ่มได้รับประโยชน์จากองค์กรที่ได้รับเงินภาษี เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้รับเงินจากภาษีเหล้าและบุหรี่ นำไปรณรงค์ให้ประชาชนเลิกดื่มเหล้าและเลิกสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพ แต่กรณีขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ยังไม่ใช่การใช้ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะที่ถูกวัตถุประสงค์มากนัก ในอนาคตอาจมีการทบทวนให้ใช้ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะที่เก็บจากธุรกิจสื่อภาคเอกชน ศ.จรัสกล่าว
"ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะควรจะเป็นไปตามหลักการ คือ ผู้เสียภาษีกับผู้ที่ได้รับประโยชน์จากภาษีต้องเป็นคนกลุ่มเดียวกัน มีความเชื่อมโยงกัน ไม่ใช่ว่าเอาภาษีไปทำอะไรก็ได้ ในกรณีของไทยพีบีเอสก็อาจจะมีการทบทวนได้ในอนาคต" ศ.จรัสแสดงความเห็น
ขณะที่นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เสนอแนวทางให้คณะกรรมาธิยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อปรับปรุงกฎหมายภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยให้เพิ่มข้อจำกัดการออกกฎหมายภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ทำได้เฉพาะหน่วยงานที่จำเป็นและต้องการความอิสระ ห้ามหน่วยงานราชการใช้ภาษีเฉพาะ และการจะจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องใช้เงินจากการเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง คือ 3 ใน 5 จากรัฐสภา
"หากรัฐบาล คสช.มีความเป็นห่วงว่าจะมีการใช้ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเป็นจำนวนมากเกินไปจนเสียวินัยทางการคลัง ก็แก้ไขได้ง่ายโดยสั่งการให้กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ตัดบทบัญญัติเรื่องพวกนี้ที่อยู่ในกฎหมายของตัวเองออกไปหรือในการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีก็อย่าอนุมัติ ในอนาคต ถ้าเป็นห่วงรัฐบาลจากการเลือกตั้งจะใช้กองทุนจากภาษีวัตถุประสงค์เฉพาะในการทำนโยบายบางเรื่องที่เข้าข่ายประชานิยมก็สามารถใช้เสียงข้างมากจัดการทำให้ยากขึ้นได้" นายสมเกียรติกล่าว
ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ยังกล่าวอีกว่าหากปฏิบัติได้ตามข้อเสนอดังกล่าว ก็จะไม่เกิดกองทุนจากภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะมากเกินความจำเป็น