นายสุธน บุญประสงค์ รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กรณีการหยุดซ่อมแหล่งก๊าซธรรมชาติพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA-A18) ระหว่างวันที่ 21-24 กรกฎาคม ที่ผ่านมา รวม 4 วัน เพื่อทำการติดตั้งทางเชื่อมระหว่างแท่นผลิตก๊าซธรรมชาตินั้น ปรากฏว่า ปตท.สามารถดำเนินการได้เร็วกว่ากำหนด 1 วัน และ กฟผ.สามารถเดินเครื่องโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 2 และเปลี่ยนเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 1 จากน้ำมันดีเซลเป็นก๊าซธรรมชาติได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคใต้ผ่านพ้นไปได้ด้วยความเรียบร้อยดี ไม่มีเหตุขัดข้องแต่อย่างใด ขอขอบคุณประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือในทุกด้านเป็นอย่างดี
นายสุธน กล่าวต่อไปว่า ช่วงหยุดจ่ายก๊าซฯ JDA-A18 ดังกล่าว ภาคใต้มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 2,228 เมกะวัตต์เท่านั้น จากพลังน้ำของโรงไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภา 240 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง 48 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าบ้านสันติ 1 เมกะวัตต์ จากน้ำมันดีเซลของโรงไฟฟ้าจะนะ (ชุดที่ 1) 650 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ 230 เมกะวัตต์ จากน้ำมันเตาของโรงไฟฟ้ากระบี่ 315 เมกะวัตต์ จากก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยของโรงไฟฟ้าขนอม (ชุดที่ 1) 615 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าขนอม (หน่วยที่ 2) 70 เมกะวัตต์ จากพลังงานหมุนเวียน โรงไฟฟ้า SPP 29 เมกะวัตต์ และระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง 30 เมกะวัตต์ ซึ่งภาคใต้มีกำลังผลิตน้อยกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้า จึงต้องนำพลังไฟฟ้าผ่านสายส่งเชื่อมโยงจากภาคกลางสู่ภาคใต้อีก 600 เมกะวัตต์ รวมกำลังไฟฟ้าทั้งสิ้น 2,828 เมกะวัตต์ เพื่อตอบสนองการใช้ไฟฟ้าของประชาชนภาคใต้ได้อย่างเพียงพอ
สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นอีกในอนาคต ภาคใต้จึงจำเป็นต้องมีแหล่งผลิตไฟฟ้าในพื้นที่โดยใช้เชื้อเพลิงที่มีความเหมาะสม ไม่พึ่งพาก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนที่มากเกินไป เพื่อความมั่นคงด้านระบบไฟฟ้าของประเทศเป็นสำคัญ
นายสุธน กล่าวต่อไปว่า ช่วงหยุดจ่ายก๊าซฯ JDA-A18 ดังกล่าว ภาคใต้มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 2,228 เมกะวัตต์เท่านั้น จากพลังน้ำของโรงไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภา 240 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง 48 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าบ้านสันติ 1 เมกะวัตต์ จากน้ำมันดีเซลของโรงไฟฟ้าจะนะ (ชุดที่ 1) 650 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ 230 เมกะวัตต์ จากน้ำมันเตาของโรงไฟฟ้ากระบี่ 315 เมกะวัตต์ จากก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยของโรงไฟฟ้าขนอม (ชุดที่ 1) 615 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าขนอม (หน่วยที่ 2) 70 เมกะวัตต์ จากพลังงานหมุนเวียน โรงไฟฟ้า SPP 29 เมกะวัตต์ และระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง 30 เมกะวัตต์ ซึ่งภาคใต้มีกำลังผลิตน้อยกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้า จึงต้องนำพลังไฟฟ้าผ่านสายส่งเชื่อมโยงจากภาคกลางสู่ภาคใต้อีก 600 เมกะวัตต์ รวมกำลังไฟฟ้าทั้งสิ้น 2,828 เมกะวัตต์ เพื่อตอบสนองการใช้ไฟฟ้าของประชาชนภาคใต้ได้อย่างเพียงพอ
สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นอีกในอนาคต ภาคใต้จึงจำเป็นต้องมีแหล่งผลิตไฟฟ้าในพื้นที่โดยใช้เชื้อเพลิงที่มีความเหมาะสม ไม่พึ่งพาก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนที่มากเกินไป เพื่อความมั่นคงด้านระบบไฟฟ้าของประเทศเป็นสำคัญ