นายคุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้อย่างใกล้ชิดของกระทรวงพลังงาน ในช่วงที่มีการปิดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติ ในแปลงJDA -A18 ของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ซึ่งตามกำหนดเดิมจะปิดซ่อมระหว่างวันที่ 21 – 25 กรกฎาคม แต่ค่ำวานนี้ กระทรวงพลังงานได้รับรายงานจากการไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทยและบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่า ผู้ผลิตแหล่งก๊าซ ในพื้นที่JDA ดังกล่าว สามารถทำงานแล้วเสร็จเร็วกว่าแผนเดิม 34 ชั่วโมง และเมื่อเวลา 21.22 น. วานนี้ (24 ก.ค.) ได้เริ่มจ่ายก๊าซไปยังระบบท่อส่งก็าซTTM สู่โรงไฟฟ้าจะนะ ของ กฟผ.เป็นที่เรียบร้อย ส่งผลให้การผลิตไฟฟ้าสำหรับประชาชน การพาณิชย์ บริการและภาคอุตสาหกรรม กับการจัดก๊าซ NGV ภาคขนส่งในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างกลับเข้าสู่สภาวะปกติเป็นที่เรียบร้อย ตั้งแต่เช้าวันนี้ (25ก.ค.)
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ต้องขอขอบคุณถึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกัน ผ่านช่วงเวลาการปิดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติในครั้งนี้ โดยเฉพาะความร่วมมือจากพี่น้องชาวใต้ หน่วยงานภาคอุตสาหกรรม และภาคเอกชน ที่ได้ร่วมกันลดใช้พลังงาน และทำให้ระบบไฟฟ้าภาคใต้ ในช่วงก่อนหน้านี้ที่มีการปิดซ่อมบำรุงในวันแรก(21 ก.ค.) จนถึงวันที่ซ่อมบำรุงเรียบร้อย(24 ก.ค.) ไม่เกิดปัญหาวิกฤตไฟฟ้าตกดับ โดยความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือพีค เกิดขึ้นเพียง 2,290 เมกะวัตต์ ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 2,350 เมกะวัตต์ หรือมีการใช้ต่ำกว่าแผนร้อยละ 3
นอกจากนี้ การสรุปสถานการณ์ในช่วงซ่อมบำรุงที่ผ่านมา พบว่า กระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัดประสบความสำเร็จในการวางแผนป้องกันการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ให้เพียงพอเป็นอย่างดีตามแผน โดยโรงไฟฟ้าจะนะ ได้เปลี่ยนแผนการใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ เป็นการใช้น้ำมันดีเซล (ระหว่างวันที่ 21 – 23 ก.ค.) โดยมีการใช้น้ำมันดีเซล รวม 7.47 ล้านลิตร หรือเฉลี่ยใช้วันละประมาณ 2 ล้านลิตร ซึ่งใกล้เคียงกับแผนที่ประเมินไว้ ส่วนที่โรงไฟฟ้ากระบี่ มีการใช้น้ำมันเตาทดแทน ซึ่งใช้ทั้งหมด 2.81 ล้านลิตร หรือเฉลี่ยใช้วันละ 0.7 ล้านลิตร ใกล้เคียงกับแผนเช่นกัน
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ต้องขอขอบคุณถึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกัน ผ่านช่วงเวลาการปิดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติในครั้งนี้ โดยเฉพาะความร่วมมือจากพี่น้องชาวใต้ หน่วยงานภาคอุตสาหกรรม และภาคเอกชน ที่ได้ร่วมกันลดใช้พลังงาน และทำให้ระบบไฟฟ้าภาคใต้ ในช่วงก่อนหน้านี้ที่มีการปิดซ่อมบำรุงในวันแรก(21 ก.ค.) จนถึงวันที่ซ่อมบำรุงเรียบร้อย(24 ก.ค.) ไม่เกิดปัญหาวิกฤตไฟฟ้าตกดับ โดยความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือพีค เกิดขึ้นเพียง 2,290 เมกะวัตต์ ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 2,350 เมกะวัตต์ หรือมีการใช้ต่ำกว่าแผนร้อยละ 3
นอกจากนี้ การสรุปสถานการณ์ในช่วงซ่อมบำรุงที่ผ่านมา พบว่า กระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัดประสบความสำเร็จในการวางแผนป้องกันการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ให้เพียงพอเป็นอย่างดีตามแผน โดยโรงไฟฟ้าจะนะ ได้เปลี่ยนแผนการใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ เป็นการใช้น้ำมันดีเซล (ระหว่างวันที่ 21 – 23 ก.ค.) โดยมีการใช้น้ำมันดีเซล รวม 7.47 ล้านลิตร หรือเฉลี่ยใช้วันละประมาณ 2 ล้านลิตร ซึ่งใกล้เคียงกับแผนที่ประเมินไว้ ส่วนที่โรงไฟฟ้ากระบี่ มีการใช้น้ำมันเตาทดแทน ซึ่งใช้ทั้งหมด 2.81 ล้านลิตร หรือเฉลี่ยใช้วันละ 0.7 ล้านลิตร ใกล้เคียงกับแผนเช่นกัน