นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ทาง กทม.จัดทำโครงการดำเนินแผนแม่บทกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2556–2566 เพื่อผลักดันให้ กทม. เป็นเมืองที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ ถือเป็นการรับมือสภาพภูมิอากาศ จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต มาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มาตรการการปรับตัวเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ ขอบเขตเนื้อหาของแผนแม่บทฯ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากสังคมทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับแผนดังกล่าวประกอบด้วย 1.ด้านการขนส่งที่ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มาตรการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การเชื่อมต่อโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ รวมถึงใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคขนส่ง และส่งเสริมการเดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ ขยายเส้นทางจักรยาน 2.ด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ออกแบบอาคารใหม่โดยคำนึงถึงการใช้พลังงานไฟฟ้า และน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานแสงอาทิตย์
3.ด้านการจัดการขยะบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ การส่งเสริมให้ลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะ ใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพจากขยะภายในชุมชน และขยายพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียให้ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้น
4.ด้านการวางผังเมืองสีเขียว มุ่งเน้นเพิ่มพื้นที่สีเขียวและวางผังเมืองส่งเสริมการสร้างสวนดาดฟ้า สวนแนวตั้ง
และ 5. ด้านแนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นใน กทม.ที่มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง การกัดเซาะชายฝั่งทะเล การรุกล้ำของน้ำเค็ม
นายจุมพล กล่าวอีกว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ดังนั้นตั้งแต่ พ.ศ. 2557–2593 กทม.ได้มีการจัดทำแผนระดับชาติ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 7-20% ในปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากปัจจุบันกรุงเทพฯ มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ 42 ล้านตันต่อปี โดย 50% มาจากภาคการขนส่ง และภาคพลังงาน
สำหรับแผนดังกล่าวประกอบด้วย 1.ด้านการขนส่งที่ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มาตรการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การเชื่อมต่อโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ รวมถึงใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคขนส่ง และส่งเสริมการเดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ ขยายเส้นทางจักรยาน 2.ด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ออกแบบอาคารใหม่โดยคำนึงถึงการใช้พลังงานไฟฟ้า และน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานแสงอาทิตย์
3.ด้านการจัดการขยะบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ การส่งเสริมให้ลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะ ใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพจากขยะภายในชุมชน และขยายพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียให้ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้น
4.ด้านการวางผังเมืองสีเขียว มุ่งเน้นเพิ่มพื้นที่สีเขียวและวางผังเมืองส่งเสริมการสร้างสวนดาดฟ้า สวนแนวตั้ง
และ 5. ด้านแนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นใน กทม.ที่มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง การกัดเซาะชายฝั่งทะเล การรุกล้ำของน้ำเค็ม
นายจุมพล กล่าวอีกว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ดังนั้นตั้งแต่ พ.ศ. 2557–2593 กทม.ได้มีการจัดทำแผนระดับชาติ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 7-20% ในปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากปัจจุบันกรุงเทพฯ มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ 42 ล้านตันต่อปี โดย 50% มาจากภาคการขนส่ง และภาคพลังงาน