พล.อ.เอกชัย จันทร์ศรี ที่ปรึกษา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาศักยภาพเพื่อเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ซึ่งจัดโดยศูนย์วิชาการนานาชาติ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CITC)ภายใต้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายประเทศเข้าร่วมบรรยายและสัมมนาเป็นจำนวนมาก
พล.อ.เอกชัย กล่าวตอนหนึ่งว่า การสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคของเรา ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลก จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า 3 เรื่องหลักได้แก่ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ การพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และการเติบโตสีเขียว เป็นการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน โดยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1. ภูมิคุ้มกัน ซึ่งหมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ 2.ความพอประมาณ คือ ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และ 3. ความมีเหตุผล ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
ด้านนางณัฐริกา วายุภาพนิติพล รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า การจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ก็เพื่อมุ่งเน้นให้เป็นเวทีระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และระดมความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการพัฒนาศักยภาพ และองค์ความรู้ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งและสร้างภาคีเครือข่ายด้านการพัฒนาตามแนวทางสังคมคาร์บอนต่ำที่คำนึงถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ขณะที่ นายจักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ CITC กล่าวว่า ในงานสัมมนาครั้งนี้ ได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่าง CITC กับ 4 องค์กร ได้แก่ 1.Overseas Environmental Cooperation Center ประเทศญี่ปุ่น 2. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 4. สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เพื่อทำความร่วมมือในเรื่องการร่วมดำเนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและเผยแพร่องค์ความรู้ร่วมกัน และจะได้นำผลการสัมมนามาวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการออกแบบหลักสูตร และกิจกรรมที่เหมาะสมภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ CITC
พล.อ.เอกชัย กล่าวตอนหนึ่งว่า การสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคของเรา ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลก จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า 3 เรื่องหลักได้แก่ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ การพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และการเติบโตสีเขียว เป็นการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน โดยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1. ภูมิคุ้มกัน ซึ่งหมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ 2.ความพอประมาณ คือ ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และ 3. ความมีเหตุผล ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
ด้านนางณัฐริกา วายุภาพนิติพล รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า การจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ก็เพื่อมุ่งเน้นให้เป็นเวทีระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และระดมความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการพัฒนาศักยภาพ และองค์ความรู้ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งและสร้างภาคีเครือข่ายด้านการพัฒนาตามแนวทางสังคมคาร์บอนต่ำที่คำนึงถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ขณะที่ นายจักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ CITC กล่าวว่า ในงานสัมมนาครั้งนี้ ได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่าง CITC กับ 4 องค์กร ได้แก่ 1.Overseas Environmental Cooperation Center ประเทศญี่ปุ่น 2. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 4. สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เพื่อทำความร่วมมือในเรื่องการร่วมดำเนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและเผยแพร่องค์ความรู้ร่วมกัน และจะได้นำผลการสัมมนามาวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการออกแบบหลักสูตร และกิจกรรมที่เหมาะสมภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ CITC