ร่างกฎหมายซึ่งทรงความสำคัญยิ่งยวดในการค้ำประกันให้สหรัฐฯสามารถทำข้อตกลงการค้าเสรีรอบมหาสมุทรแปซิฟิก ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาอเมริกันแล้วในวันพุธ (24 มิ.ย.) เป็นการปูทางให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เดินหน้าส่วนประกอบใหญ่ส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ “ปักหมุดเอเชีย” เพื่อรับมือกับอำนาจอิทธิพลของจีนที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ
หลังจากต้องต่อสู้อย่างหนักหน่วงในสมรภูมิรัฐสภาสหรัฐฯอยู่เป็นเวลา 6 สัปดาห์เพื่อประคับประคองให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังมีชีวิตรอดต่อไปได้ แม้ต้องประสบความเพลี่ยงพล้ำใหญ่ 2 ครั้ง และมีการเจรจาต่อรองหลังฉากนับครั้งไม่ถ้วน ในที่สุดวุฒิสภาก็ลงมติด้วยคะแนน 60 ต่อ 38 เมื่อวันพุธ (24) ให้อำนาจ “ฟาสต์แทร็ก” แก่โอบามา ในการไปเจรจาทำข้อตกลงการค้ากับต่างประเทศ
ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดังนั้นขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการส่งให้แก่ประธานาธิบดีเพื่อลงนามประกาศใช้ ทั้งนี้ เมื่อมีอำนาจฟาสต์แทร็กก็หมายความว่า ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯสามารถไปเจรจากับชาติอื่นๆ จนกระทั่งจัดทำข้อตกลงการค้าออกมาได้ โดยที่เมื่อส่งกลับมาให้รัฐสภาสหรัฐฯลงมติให้สัตยาบันรับรอง ฝ่ายนิติบัญญัติเพียงสามารถโหวตเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบข้อตกลงทั้งฉบับเท่านั้น แต่ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของข้อตกลงได้
ด้วยเหตุนี้จึงเห็นกันว่า อำนาจฟาสต์แทร็กจะทำให้พวกประเทศคู่เจรจาของอเมริกาเกิดความมั่นใจ และส่งผลให้ทำความตกลงกันได้ โดยที่ข้อตกลงการค้าฉบับสำคัญที่สุด 2 ฉบับซึ่งโอบามากำลังพยายามขับเคลื่อนอยู่ในเวลานี้ ก็คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ ปักหมุดเอเชีย ส่วนอีกฉบับหนึ่งได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนภาคพื้นแอตแลนติก (ทีทีไอพี) กับทางสหภาพยุโรป (อียู)
โดยเฉพาะ ทีพีพี นั้น เห็นกันว่าโอบามาเล็งที่จะให้กลายเป็นผลงานชิ้นโบแดงชิ้นหนึ่งในสมัยการครองตำแหน่งประธานาธิบดีของตน เนื่องจากจะเป็นข้อตกลงเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่โตเทียบเคียงได้กับข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟตา) ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐฯ, แคนาดา, และเม็กซิโก รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในทางเศรษฐกิจของอเมริกา ในการต่อสู้คานอำนาจของจีนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
อย่างไรก็ตาม ในการบรรลุข้อตกลงทีพีพีนั้น บรรดารัฐมนตรีของ 12 ชาติสมาชิกซึ่งกำลังเจรจากันอยู่เวลานี้ ยังจะต้องสะสางประเด็นขัดแย้งอันยากลำบากจำนวนไม่น้อย ไล่ตั้งแต่เรื่องระยะเวลาความคุ้มครองผูกขาดสิทธิบัตร ที่บริษัทเวชภัณฑ์ซึ่งสามารถนำยาใหม่ๆ รุ่นต่อไปออกมาจะได้รับ ไปจนถึงเรื่องแนวทางปฏิบัติต่อรัฐวิสาหกิจทั้งหลายของเหล่าชาติสมาชิก
หลายประเทศ เป็นต้นว่าญี่ปุ่นและแคนาดา ต้องการให้รัฐสภาสหรัฐฯผ่านกฎหมายฟาสต์แทร็กเสียก่อน พวกตนจึงจะยื่นข้อเสนอสุดท้ายสำหรับการทำข้อตกลงทีพีพี ซึ่งจะครอบคลุมชาติต่างๆ ที่รวมกันแล้วเป็นผู้สร้างมูลค่าเศรษฐกิจถึงราว 40% ของโลก อีกทั้งคาดหมายกันว่าทีพีพีจะส่งเสริมทำให้เศรษฐกิจโลกเติบโตเพิ่มขึ้นถึงปีละร่วมๆ 3,000 ล้านดอลลาร์
เหล่าผู้เจรจาระบุว่า จะสามารถสรุปข้อตกลงทีพีพีได้ภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากประเทศต่างๆ มั่นใจว่า รัฐสภาอเมริกันจะไม่จ้องจับผิดเพื่อทำลายข้อตกลง
หลังจากต้องต่อสู้อย่างหนักหน่วงในสมรภูมิรัฐสภาสหรัฐฯอยู่เป็นเวลา 6 สัปดาห์เพื่อประคับประคองให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังมีชีวิตรอดต่อไปได้ แม้ต้องประสบความเพลี่ยงพล้ำใหญ่ 2 ครั้ง และมีการเจรจาต่อรองหลังฉากนับครั้งไม่ถ้วน ในที่สุดวุฒิสภาก็ลงมติด้วยคะแนน 60 ต่อ 38 เมื่อวันพุธ (24) ให้อำนาจ “ฟาสต์แทร็ก” แก่โอบามา ในการไปเจรจาทำข้อตกลงการค้ากับต่างประเทศ
ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดังนั้นขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการส่งให้แก่ประธานาธิบดีเพื่อลงนามประกาศใช้ ทั้งนี้ เมื่อมีอำนาจฟาสต์แทร็กก็หมายความว่า ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯสามารถไปเจรจากับชาติอื่นๆ จนกระทั่งจัดทำข้อตกลงการค้าออกมาได้ โดยที่เมื่อส่งกลับมาให้รัฐสภาสหรัฐฯลงมติให้สัตยาบันรับรอง ฝ่ายนิติบัญญัติเพียงสามารถโหวตเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบข้อตกลงทั้งฉบับเท่านั้น แต่ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของข้อตกลงได้
ด้วยเหตุนี้จึงเห็นกันว่า อำนาจฟาสต์แทร็กจะทำให้พวกประเทศคู่เจรจาของอเมริกาเกิดความมั่นใจ และส่งผลให้ทำความตกลงกันได้ โดยที่ข้อตกลงการค้าฉบับสำคัญที่สุด 2 ฉบับซึ่งโอบามากำลังพยายามขับเคลื่อนอยู่ในเวลานี้ ก็คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ ปักหมุดเอเชีย ส่วนอีกฉบับหนึ่งได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนภาคพื้นแอตแลนติก (ทีทีไอพี) กับทางสหภาพยุโรป (อียู)
โดยเฉพาะ ทีพีพี นั้น เห็นกันว่าโอบามาเล็งที่จะให้กลายเป็นผลงานชิ้นโบแดงชิ้นหนึ่งในสมัยการครองตำแหน่งประธานาธิบดีของตน เนื่องจากจะเป็นข้อตกลงเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่โตเทียบเคียงได้กับข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟตา) ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐฯ, แคนาดา, และเม็กซิโก รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในทางเศรษฐกิจของอเมริกา ในการต่อสู้คานอำนาจของจีนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
อย่างไรก็ตาม ในการบรรลุข้อตกลงทีพีพีนั้น บรรดารัฐมนตรีของ 12 ชาติสมาชิกซึ่งกำลังเจรจากันอยู่เวลานี้ ยังจะต้องสะสางประเด็นขัดแย้งอันยากลำบากจำนวนไม่น้อย ไล่ตั้งแต่เรื่องระยะเวลาความคุ้มครองผูกขาดสิทธิบัตร ที่บริษัทเวชภัณฑ์ซึ่งสามารถนำยาใหม่ๆ รุ่นต่อไปออกมาจะได้รับ ไปจนถึงเรื่องแนวทางปฏิบัติต่อรัฐวิสาหกิจทั้งหลายของเหล่าชาติสมาชิก
หลายประเทศ เป็นต้นว่าญี่ปุ่นและแคนาดา ต้องการให้รัฐสภาสหรัฐฯผ่านกฎหมายฟาสต์แทร็กเสียก่อน พวกตนจึงจะยื่นข้อเสนอสุดท้ายสำหรับการทำข้อตกลงทีพีพี ซึ่งจะครอบคลุมชาติต่างๆ ที่รวมกันแล้วเป็นผู้สร้างมูลค่าเศรษฐกิจถึงราว 40% ของโลก อีกทั้งคาดหมายกันว่าทีพีพีจะส่งเสริมทำให้เศรษฐกิจโลกเติบโตเพิ่มขึ้นถึงปีละร่วมๆ 3,000 ล้านดอลลาร์
เหล่าผู้เจรจาระบุว่า จะสามารถสรุปข้อตกลงทีพีพีได้ภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากประเทศต่างๆ มั่นใจว่า รัฐสภาอเมริกันจะไม่จ้องจับผิดเพื่อทำลายข้อตกลง