นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับมีกลุ่มผลิตเมล็ดข้าวปลอมแล้วลักลอบนำเข้ามาปลอมปนกับข้าวในประเทศ โดยมีการตรวจพบที่ จ.น่าน นั้น ตามกฎหมายขึ้นอยู่กับผู้บริโภคที่ประสบปัญหาจะต้องมีการร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ที่หลอกลวงผู้บริโภค กฎหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกฎหมายอาญา ซึ่งการจัดการของกรณีข้าวปลอมจะคล้ายการกระทำเกี่ยวกับการขายทุเรียนอ่อนที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการไปเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จะต้องกำหนดว่าหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์แม้ว่าจะดูเกี่ยวกับข้อระเบียบด้านการค้าภายในประเทศและการนำเข้าสินค้าก็ตาม เช่น กรมการค้าภายในจะดูแลและคุ้มครองราคาและปริมาณ ส่วนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ กรมการค้าต่างประเทศจะดูแลเรื่องการสำแดงเอกสารของการนำเข้าของสินค้านั้นๆ ส่วนการตรวจสอบสินค้าว่าเป็นไปตามเอกสารสำแดงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกรมศุลกากร แต่ที่ผ่านมาทุกหน่วยงานมีการประสานการทำงาน เรื่องนี้เห็นว่าหากเป็นการกระทำที่จะสร้างผลกระทบให้กับผู้บริโภคภายในประเทศหรือเสียภาพพจน์ของข้าวไทย อยากแนะนำให้ผู้ที่พบร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นคดีอาญา และจะสร้างความเสียหายให้กับผู้บริโภค ซึ่งกรมการค้าภายในพร้อมจะประสานงานไปยังหน่วยงานต่างๆ หากมีการร้องเรียนมายังสายด่วน 1569
ทั้งนี้ หากดูกรณีการปลอมปนข้าวที่ไม่ได้มาตรฐานจะเข้าข่ายการขายทุเรียนอ่อน ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย 2 ฉบับ คือ กฎหมายอาญา มาตรา 271 ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยการประกาศใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณของนั้นอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 47 ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่นต้องจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จะต้องกำหนดว่าหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์แม้ว่าจะดูเกี่ยวกับข้อระเบียบด้านการค้าภายในประเทศและการนำเข้าสินค้าก็ตาม เช่น กรมการค้าภายในจะดูแลและคุ้มครองราคาและปริมาณ ส่วนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ กรมการค้าต่างประเทศจะดูแลเรื่องการสำแดงเอกสารของการนำเข้าของสินค้านั้นๆ ส่วนการตรวจสอบสินค้าว่าเป็นไปตามเอกสารสำแดงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกรมศุลกากร แต่ที่ผ่านมาทุกหน่วยงานมีการประสานการทำงาน เรื่องนี้เห็นว่าหากเป็นการกระทำที่จะสร้างผลกระทบให้กับผู้บริโภคภายในประเทศหรือเสียภาพพจน์ของข้าวไทย อยากแนะนำให้ผู้ที่พบร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นคดีอาญา และจะสร้างความเสียหายให้กับผู้บริโภค ซึ่งกรมการค้าภายในพร้อมจะประสานงานไปยังหน่วยงานต่างๆ หากมีการร้องเรียนมายังสายด่วน 1569
ทั้งนี้ หากดูกรณีการปลอมปนข้าวที่ไม่ได้มาตรฐานจะเข้าข่ายการขายทุเรียนอ่อน ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย 2 ฉบับ คือ กฎหมายอาญา มาตรา 271 ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยการประกาศใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณของนั้นอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 47 ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่นต้องจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ