นางสมร พาสมบูรณ์ ประธานเครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา เครือข่ายฯ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาชีวิตแรงงาน และอาชีพได้ไปยื่นหนังสือถึง นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เพื่อให้ลูกจ้างทำงานบ้านได้เข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 33 ซึ่งมีนายรักษ์ศักดิ์ โชติชัยสถิตย์ รองเลขาธิการ สปส.รับหนังสือแทน
สำหรับ พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับใหม่ 2558 อยู่ระหว่างรอประกาศใช้ได้กำหนดนิยามคำว่า ลูกจ้าง หมายความว่าผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งครอบคลุมไปถึงกลุ่มคนทำงานบ้านที่เป็นแรงงานทำงานโดยได้รับค่าจ้างและมีนายจ้างชัดเจน แต่ล่าสุดมีกระแสข่าวว่าคณะอนุกรรมการจัดทำร่างกฎหมายลูกของ พ.ร.บ.ประกันสังคมจะไม่ให้ลูกจ้างทำงานบ้านเข้าสู่ประกันสังคมมาตรา 33 แต่จะให้เข้ามาตรา40 แทน ซึ่งลูกจ้างทำงานบ้านไม่ต้องการ
ส่วนสาเหตุที่ลูกจ้างทำงานบ้านต้องการเข้าประกันสังคมมาตรา 33 เพราะมีนายจ้างชัดเจนและลูกจ้างส่วนมากเป็นผู้หญิงเวลาตั้งครรภ์ไปหาหมอ บางคนถูกนายจ้างหักเงินเดือนหรือถึงขั้นไล่ออก และไม่สะดวกในการใช้สิทธิบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพราะส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดต้องไปตรวจขั้นต้นที่ภูมิลำเนา แต่หากได้เข้ามาตรา 33 ใช้สิทธิรักษาพยาบาลสะดวกกว่าและได้รับสิทธิคลอดบุตรได้ หากตั้งครรภ์ถูกนายจ้างไล่ออกก็ยังมีเงินพอประทังชีพก่อนได้งานใหม่ แต่ถ้าเข้ามาตรา 40 ไปหาหมอนอนพักรักษาตัวได้เงินชดเชยขาดรายได้เพียง 600 บาท ซึ่งหลักประกันในชีวิตต่างกันมาก
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีลูกจ้างทำงานบ้านทั่วประเทศทั้งคนไทย และคนต่างชาติรวมประมาณ 2 ล้านคน เคยไปสำรวจหมู่บ้านจัดสรรบางแห่งมีลูกจ้างทำงานบ้าน 300-400 คน แต่ขณะนี้เข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายฯ 500 คน และจากการหารือกับสมาชิกต่างแจ้งว่า นายจ้างพร้อมจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
สำหรับ พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับใหม่ 2558 อยู่ระหว่างรอประกาศใช้ได้กำหนดนิยามคำว่า ลูกจ้าง หมายความว่าผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งครอบคลุมไปถึงกลุ่มคนทำงานบ้านที่เป็นแรงงานทำงานโดยได้รับค่าจ้างและมีนายจ้างชัดเจน แต่ล่าสุดมีกระแสข่าวว่าคณะอนุกรรมการจัดทำร่างกฎหมายลูกของ พ.ร.บ.ประกันสังคมจะไม่ให้ลูกจ้างทำงานบ้านเข้าสู่ประกันสังคมมาตรา 33 แต่จะให้เข้ามาตรา40 แทน ซึ่งลูกจ้างทำงานบ้านไม่ต้องการ
ส่วนสาเหตุที่ลูกจ้างทำงานบ้านต้องการเข้าประกันสังคมมาตรา 33 เพราะมีนายจ้างชัดเจนและลูกจ้างส่วนมากเป็นผู้หญิงเวลาตั้งครรภ์ไปหาหมอ บางคนถูกนายจ้างหักเงินเดือนหรือถึงขั้นไล่ออก และไม่สะดวกในการใช้สิทธิบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพราะส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดต้องไปตรวจขั้นต้นที่ภูมิลำเนา แต่หากได้เข้ามาตรา 33 ใช้สิทธิรักษาพยาบาลสะดวกกว่าและได้รับสิทธิคลอดบุตรได้ หากตั้งครรภ์ถูกนายจ้างไล่ออกก็ยังมีเงินพอประทังชีพก่อนได้งานใหม่ แต่ถ้าเข้ามาตรา 40 ไปหาหมอนอนพักรักษาตัวได้เงินชดเชยขาดรายได้เพียง 600 บาท ซึ่งหลักประกันในชีวิตต่างกันมาก
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีลูกจ้างทำงานบ้านทั่วประเทศทั้งคนไทย และคนต่างชาติรวมประมาณ 2 ล้านคน เคยไปสำรวจหมู่บ้านจัดสรรบางแห่งมีลูกจ้างทำงานบ้าน 300-400 คน แต่ขณะนี้เข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายฯ 500 คน และจากการหารือกับสมาชิกต่างแจ้งว่า นายจ้างพร้อมจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม