นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1 ปี 2558 ว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีเสถียรภาพ โดยในไตรมาสแรกของปี 2558 มีกำไรสุทธิ 52,500 ล้านบาท จากการตีราคาตราสารทางการเงินและการขายตราสารหนี้ ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง ซึ่งเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวค่อนข้างช้ากว่าที่คาด ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวชะลอลงและคุณภาพสินเชื่อด้อยลงบ้าง โดยสินเชื่อเอสเอ็มอีเริ่มกลับมาขยายตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ 4.5 หลังจากที่ชะลอที่ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2557
ด้านสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 7.6 โดยยังขยายตัวในสินเชื่อเพื่อการใช้จ่ายส่วนบุคคลและสินชินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ขณะที่สินเชื่อรถยนต์ยังคงหดตัวต่อเนื่องโดยลดลงร้อยละ 4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ คุณภาพสินเชื่อโดยรวมด้อยลงจากสินเชื่อ SME และสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มียอดคงค้าง 298,300 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 21,100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม นายจตุรงค์ยืนยันว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงิน เพราะถือเป็นตัวเลขที่น้อย ธนาคารพาณิชย์มีเงินสำรองไว้และยังพอมีกำไรอยู่ โดยธนาคารพาณิชย์มีการดูแลและติดตามบริหารสินเชื่อด้อยคุณภาพอย่างใกล้ชิด ประกอบกับเงินสำรองที่มีต่อเงินสำรองพึงกันยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 165.9
อย่างไรก็ตาม คาดว่า NPL ในไตรมาสที่สองของปี 2558จะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากสินเชื่อเอสเอ็มอี และสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น พร้อมทั้งจะมีการปรับโครงสร้างหนี้และการกู้ยืมของภาคธุรกิจ โดยต้องใช้เวลาประเมิน 2-3 ไตรมาสจึงจะเห็นภาพรวมที่ชัดเจน ส่วนนาโนไฟแนนซ์ ถือเป็นสินเชื่อรายเล็ก ไม่มีผลต่อสินเชื่อภาพรวมมากนัก
ด้านสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 7.6 โดยยังขยายตัวในสินเชื่อเพื่อการใช้จ่ายส่วนบุคคลและสินชินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ขณะที่สินเชื่อรถยนต์ยังคงหดตัวต่อเนื่องโดยลดลงร้อยละ 4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ คุณภาพสินเชื่อโดยรวมด้อยลงจากสินเชื่อ SME และสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มียอดคงค้าง 298,300 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 21,100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม นายจตุรงค์ยืนยันว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงิน เพราะถือเป็นตัวเลขที่น้อย ธนาคารพาณิชย์มีเงินสำรองไว้และยังพอมีกำไรอยู่ โดยธนาคารพาณิชย์มีการดูแลและติดตามบริหารสินเชื่อด้อยคุณภาพอย่างใกล้ชิด ประกอบกับเงินสำรองที่มีต่อเงินสำรองพึงกันยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 165.9
อย่างไรก็ตาม คาดว่า NPL ในไตรมาสที่สองของปี 2558จะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากสินเชื่อเอสเอ็มอี และสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น พร้อมทั้งจะมีการปรับโครงสร้างหนี้และการกู้ยืมของภาคธุรกิจ โดยต้องใช้เวลาประเมิน 2-3 ไตรมาสจึงจะเห็นภาพรวมที่ชัดเจน ส่วนนาโนไฟแนนซ์ ถือเป็นสินเชื่อรายเล็ก ไม่มีผลต่อสินเชื่อภาพรวมมากนัก