พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 3 เมษายน เห็นชอบให้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ส่วนต่อขยาย เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 103,949 ล้านบาท โดยหลังจากนี้จะเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขออนุมัติแหล่งเงิน โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 16,803 ล้านบาท กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้สำหรับงานก่อสร้างและค่าจ้าง ที่ปรึกษา 87,147 ล้านบาท รวมทั้งออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ส่วนการประกวดราคาต้องรอหลังจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบแผนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
นอกจากนี้ เห็นชอบให้ปรับรูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.50 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 31,261 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.10 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 31,675 ล้านบาท มาเป็นรูปแบบพีพีพี เน็ต คอสต์ (PPP Net Cost) คือให้รัฐเป็นผู้ลงทุนค่าก่อสร้างและส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่วนเอกชนลงทุนงานระบบรถไฟฟ้า จัดหาขบวนรถ และบริหารเดินรถและซ่อมบำรุง จากเดิม รฟม.ลงทุนจัดหาขบวนรถเอง
ทั้งนี้ ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) คือเสนอเรื่องต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง ซึ่งเป็นระบบรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล เคยเสนอเรื่องให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ถูกส่งกลับมาเพื่อขอให้ปรับรูปแบบการบริหารโครงการใหม่ โดยเฉพาะการเดินรถ ซึ่งตามข้อเสนอเดิม รฟม.มีแผนจะลงทุนจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าเอง แต่จ้างเอกชนเข้ามาเดินรถ แต่นโยบายของรัฐบาลชุดนี้สนับสนุนรูปแบบพีพีพี เน็ต คอสต์ คือให้เอกชนร่วมลงทุนจัดหาขบวนรถด้วย เพื่อประหยัดงบประมาณรัฐบาล จึงได้ให้ปรับรูปแบบการลงทุนในส่วนนี้ และต้องเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป คาดว่าภายในเดือนเมษายนนี้ หรือไม่เกินต้นเดือนพฤษภาคม จะสรุปรายละเอียดทั้งหมดส่งให้กระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จะประกวดราคาและเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2560
นอกจากนี้ เห็นชอบให้ปรับรูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.50 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 31,261 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.10 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 31,675 ล้านบาท มาเป็นรูปแบบพีพีพี เน็ต คอสต์ (PPP Net Cost) คือให้รัฐเป็นผู้ลงทุนค่าก่อสร้างและส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่วนเอกชนลงทุนงานระบบรถไฟฟ้า จัดหาขบวนรถ และบริหารเดินรถและซ่อมบำรุง จากเดิม รฟม.ลงทุนจัดหาขบวนรถเอง
ทั้งนี้ ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) คือเสนอเรื่องต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง ซึ่งเป็นระบบรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล เคยเสนอเรื่องให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ถูกส่งกลับมาเพื่อขอให้ปรับรูปแบบการบริหารโครงการใหม่ โดยเฉพาะการเดินรถ ซึ่งตามข้อเสนอเดิม รฟม.มีแผนจะลงทุนจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าเอง แต่จ้างเอกชนเข้ามาเดินรถ แต่นโยบายของรัฐบาลชุดนี้สนับสนุนรูปแบบพีพีพี เน็ต คอสต์ คือให้เอกชนร่วมลงทุนจัดหาขบวนรถด้วย เพื่อประหยัดงบประมาณรัฐบาล จึงได้ให้ปรับรูปแบบการลงทุนในส่วนนี้ และต้องเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป คาดว่าภายในเดือนเมษายนนี้ หรือไม่เกินต้นเดือนพฤษภาคม จะสรุปรายละเอียดทั้งหมดส่งให้กระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จะประกวดราคาและเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2560