เมื่อเวลา 13.00 น. พล.ฮ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม
โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้คณะอนุกรรมการฯ 4 คณะที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ได้แก่ อนุกรรมการสิทธิประโยชน์ กำหนดพื้นที่และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน อนุกรรมการศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน สาธารณสุขและความมั่นคง อนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร และอนุกรรมจัดหาที่ดินและบริหารจัดการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดขับเคลื่อนและบริหารจัดการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยเร็ว และรัฐบาลจะกำกับดูแลให้การลงทุนในเขต 20 จังหวัด ที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการส่งเสริมการประกอบการของภาคเอกชนให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
ทั้งนี้ ที่ประชุม กนพ. มีมติที่สำคัญเพื่อขับเคลื่อนงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้บรรลุเป้าหมาย และพร้อมรองรับการลงทุนของภาคเอกชนในปี 2558 รวมถึงเริ่มเตรียมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะต่อไป โดยเห็นชอบให้ตั้งอนุกรรมการภายใต้ กนพ.เพิ่มเติมอีก 1 ชุด ประกอบด้วยผู้แทนภาคเอกชน เพื่อให้ข้อเสนอแนะด้านการตลาดและเชิญชวนนักลงทุนเพื่อให้เกิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นรูปธรรม
ขณะเดียวกัน เห็นชอบกิจการเป้าหมายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ระดับสูงตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 4/2557 จำนวน 13 กลุ่มกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร ประมงและกิจการที่เกี่ยวข้อง เซรามิกส์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ การผลิตเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตพลาสติก การผลิตยา กิจการลอจิสติกส์ นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และกิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เสนอคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณา และออกเป็นประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนต่อไป
นอกจากนี้ กนพ.ยังได้เห็นชอบกิจการเป้าหมายรายพื้นที่ของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก สระแก้ว ตราด มุกดาหาร และสงขลา โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ยกร่างประกาศ กนพ. เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนของ สกท.ต่อไป
ที่ประชุม กนพ.ยังเห็นชอบการกำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 ใน 5 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย เชียงราย นครพนม นราธิวาส และกาญจนบุรี รวม 63 ตำบล ใน 16 อำเภอ
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมอบหมายให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ดำเนินการประชาสัมพันธ์การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งปัจจุบันมีความพร้อมทั้งในเรื่องพื้นที่ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายของ สกท.
โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้คณะอนุกรรมการฯ 4 คณะที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ได้แก่ อนุกรรมการสิทธิประโยชน์ กำหนดพื้นที่และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน อนุกรรมการศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน สาธารณสุขและความมั่นคง อนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร และอนุกรรมจัดหาที่ดินและบริหารจัดการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดขับเคลื่อนและบริหารจัดการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยเร็ว และรัฐบาลจะกำกับดูแลให้การลงทุนในเขต 20 จังหวัด ที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการส่งเสริมการประกอบการของภาคเอกชนให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
ทั้งนี้ ที่ประชุม กนพ. มีมติที่สำคัญเพื่อขับเคลื่อนงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้บรรลุเป้าหมาย และพร้อมรองรับการลงทุนของภาคเอกชนในปี 2558 รวมถึงเริ่มเตรียมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะต่อไป โดยเห็นชอบให้ตั้งอนุกรรมการภายใต้ กนพ.เพิ่มเติมอีก 1 ชุด ประกอบด้วยผู้แทนภาคเอกชน เพื่อให้ข้อเสนอแนะด้านการตลาดและเชิญชวนนักลงทุนเพื่อให้เกิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นรูปธรรม
ขณะเดียวกัน เห็นชอบกิจการเป้าหมายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ระดับสูงตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 4/2557 จำนวน 13 กลุ่มกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร ประมงและกิจการที่เกี่ยวข้อง เซรามิกส์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ การผลิตเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตพลาสติก การผลิตยา กิจการลอจิสติกส์ นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และกิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เสนอคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณา และออกเป็นประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนต่อไป
นอกจากนี้ กนพ.ยังได้เห็นชอบกิจการเป้าหมายรายพื้นที่ของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก สระแก้ว ตราด มุกดาหาร และสงขลา โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ยกร่างประกาศ กนพ. เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนของ สกท.ต่อไป
ที่ประชุม กนพ.ยังเห็นชอบการกำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 ใน 5 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย เชียงราย นครพนม นราธิวาส และกาญจนบุรี รวม 63 ตำบล ใน 16 อำเภอ
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมอบหมายให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ดำเนินการประชาสัมพันธ์การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งปัจจุบันมีความพร้อมทั้งในเรื่องพื้นที่ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายของ สกท.