สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่งประเทศจีนว่า นายหวง เจี๋ยฟู อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขจีน ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไชน่าบิสซิเนส นิวส์ เมื่อวันอังคารว่า ตั้งแต่ปี 2558 ทางการจีนสั่งให้โรงพยาบาลทั้งหมดหยุดใช้อวัยวะเปลี่ยนถ่ายจากนักโทษประหาร แม้ความต้องการอวัยวะมนุษย์ในจีนเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม แต่การไร้ผู้บริจาคอวัยวะมายาวนานทำให้นักโทษที่ถูกประหารชีวิตกลายเป็นแหล่งอวัยวะเปลี่ยนถ่ายที่สำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมาของประเทศ
นายหวง กล่าวต่อไปว่า อุตสาหกรรมบริจาคอวัยวะของจีนได้ก้าวสู่การพัฒนาไปอีกขั้น โดยการใช้คำว่า เต็มใจบริจาค เพื่อให้เข้าถึงอวัยวะมนุษย์ง่ายขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์นานาชาติยังมีความกังขาต่อคำว่า บริจาคอวัยวะของนักโทษประหาร โดยเนื้อหาในจดหมายที่ถูกนำไปลงวารสารการแพทย์แลนเซ็ทระบุว่า กลุ่มแพทย์นานาชาติจากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย รวมทั้งผู้อำนวยการบริหารของกลุ่มแพทย์ต่อต้านการบังคับบริจาคอวัยวะ ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรกล่าวว่า จีนหลีกเลี่ยงหยุดการใช้อวัยวะจากนักโทษประหารมานานแล้ว และไม่ทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้เมื่อปี2551
นอกจากนี้ ในจดหมายอีกฉบับยังระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ 4 คนจากสหรัฐฯ เยอรมนี และแคนาดา ยังเรียกร้องจีนให้เปิดช่องทางการตรวจสอบของนานาชาติ เนื่องจากพวกเขาสงสัยว่า จีนยังคงใช้อวัยวะจากนักโทษประหาร แต่มีสิ่งที่แตกต่างออกไปคือใช้คำว่า พลเรือนเต็มใจบริจาคอวัยวะ
จีนห้ามค้าขายอวัยวะคนเมื่อปี 2550 แต่ความต้องการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่มีมากขึ้นในประเทศซึ่งมีประชากร 1,370 ล้านคน เปิดโอกาสให้มีการบังคับบริจาค และการขายอวัยวะอย่างผิดกฎหมาย
นายหวง กล่าวต่อไปว่า อุตสาหกรรมบริจาคอวัยวะของจีนได้ก้าวสู่การพัฒนาไปอีกขั้น โดยการใช้คำว่า เต็มใจบริจาค เพื่อให้เข้าถึงอวัยวะมนุษย์ง่ายขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์นานาชาติยังมีความกังขาต่อคำว่า บริจาคอวัยวะของนักโทษประหาร โดยเนื้อหาในจดหมายที่ถูกนำไปลงวารสารการแพทย์แลนเซ็ทระบุว่า กลุ่มแพทย์นานาชาติจากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย รวมทั้งผู้อำนวยการบริหารของกลุ่มแพทย์ต่อต้านการบังคับบริจาคอวัยวะ ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรกล่าวว่า จีนหลีกเลี่ยงหยุดการใช้อวัยวะจากนักโทษประหารมานานแล้ว และไม่ทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้เมื่อปี2551
นอกจากนี้ ในจดหมายอีกฉบับยังระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ 4 คนจากสหรัฐฯ เยอรมนี และแคนาดา ยังเรียกร้องจีนให้เปิดช่องทางการตรวจสอบของนานาชาติ เนื่องจากพวกเขาสงสัยว่า จีนยังคงใช้อวัยวะจากนักโทษประหาร แต่มีสิ่งที่แตกต่างออกไปคือใช้คำว่า พลเรือนเต็มใจบริจาคอวัยวะ
จีนห้ามค้าขายอวัยวะคนเมื่อปี 2550 แต่ความต้องการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่มีมากขึ้นในประเทศซึ่งมีประชากร 1,370 ล้านคน เปิดโอกาสให้มีการบังคับบริจาค และการขายอวัยวะอย่างผิดกฎหมาย