นายชูศักดิ์ เกวี อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่าขณะนี้การเจรจาเพื่อว่าจ้างให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นผู้จัดเก็บค่าผ่านทางถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ตอนบางพลี-บางขุนเทียน ช่วงสุขสวัสดิ์-บางขุนเทียน ของกรมทางหลวง ระยะทาง 14.5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นทางเชื่อมต่อโครงการทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์ ของกทพ.ใกล้ได้ข้อยุติแล้ว โดยกทพ.อยู่ระหว่างประเมินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทุกด้าน ทั้งค่าบุคลากรและระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ที่ต้องปรับเพิ่มเติม และจะเสนอมายังทล. เพื่อเจรจาต่อรองกัน
ส่วนกรณีที่ค่าผ่านทางเส้นทางของกรมทางหลวงไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพราะเป็นหน่วยงานราชการ ส่วนกทพ.มีการเก็บภาษีเพราะเป็นรัฐวิสาหกิจนั้น ทางกรมบัญชีกลางรับทราบและได้ข้อยุติแล้ว ไม่มีปัญหา
ดังนั้นได้ตั้งเป้าว่าจะเริ่มจัดเก็บค่าผ่านทางได้ช่วงปลายเดือนเม.ย.นี้ โดยคิดค่าผ่านทางเฉลี่ย 1 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่งรายได้จะนำส่งเข้ากองทุนค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์ ทั้งนี้ ทล.อยู่ระหว่างเสนอแก้ไขพ.ร.บ.กองทุนค่าธรรมเนียมมอเตอร์เวย์ จากเดิมที่กำหนดให้นำเงินจากกองทุนไปใช้ในเรื่องการซ่อมบำรุงและพัฒนาก่อสร้างเส้นทางเท่านั้น โดยจะขอแก้ไขเพิ่มเติมให้สามารถนำไปใช้ในเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและการก่อสร้างทางคู่ขนานมอเตอร์เวย์ได้ด้วย เพราะการก่อสร้างทางคู่ขนานเป็นการบรรเทาปัญหาจราจรทางทางหลักของมอเตอร์เวย์ ซึ่งจะเร่งผลักดันให้แก้ไขแล้วเสร็จภายในรัฐบาลยุคนี้
สำหรับความคืบหน้าการใช้บัตรผ่านทางอัตโนมัติของมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี) และ 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) หรือ เอ็ม-พาส ร่วมกับ บัตรอีซี่พาส ของกทพ.นั้น หลังจากได้ทดลอง จัดเก็บค่าผ่านทางเป็นระบบปิดคือรับบัตรทางเข้าและจ่ายเงินปลายทาง เบื้องต้นทล.จะเร่งใช้งานบัตรค่าผ่านทางอัตโนมัติก่อนเพื่อบรรเทาปัญหาจราจรหน้าด่าน
ส่วนการใช้งานร่วมกันนั้น จะพิจารณาเป็นระยะต่อไป ทั้งนี้จะมีการเป็นการพัฒนาระบบตั๋วร่วมที่มีระบบขนส่งอื่นด้วย นอกจากนี้ กรมฯอยู่ระหว่างปรับปรุงด่านเก็บค่าผ่านทางให้เป็นระบบปิดในส่วนมอเตอร์เวย์ต่อขยายช่วง ชลบุรี-พัทยา ซึ่งมีความคืบหน้าประมาณ 20% โดยติดปัญหาการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติมในแต่ละด่าน ในการติดตั้งระบบเก็บเงินและสิ่งอำนวยความสะดวกและทางเข้าออก ซึ่งกำลังเร่งรัดออกพ.ร.ฎ.เวนคืนเพื่อดำเนินการ โดยตลอดเส้นทางประมาณ 50 กิโลเมตรวางกรอบวงเงินลงทุนไว้ประมาณ 4,000 ล้านบาท
ส่วนกรณีที่ค่าผ่านทางเส้นทางของกรมทางหลวงไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพราะเป็นหน่วยงานราชการ ส่วนกทพ.มีการเก็บภาษีเพราะเป็นรัฐวิสาหกิจนั้น ทางกรมบัญชีกลางรับทราบและได้ข้อยุติแล้ว ไม่มีปัญหา
ดังนั้นได้ตั้งเป้าว่าจะเริ่มจัดเก็บค่าผ่านทางได้ช่วงปลายเดือนเม.ย.นี้ โดยคิดค่าผ่านทางเฉลี่ย 1 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่งรายได้จะนำส่งเข้ากองทุนค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์ ทั้งนี้ ทล.อยู่ระหว่างเสนอแก้ไขพ.ร.บ.กองทุนค่าธรรมเนียมมอเตอร์เวย์ จากเดิมที่กำหนดให้นำเงินจากกองทุนไปใช้ในเรื่องการซ่อมบำรุงและพัฒนาก่อสร้างเส้นทางเท่านั้น โดยจะขอแก้ไขเพิ่มเติมให้สามารถนำไปใช้ในเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและการก่อสร้างทางคู่ขนานมอเตอร์เวย์ได้ด้วย เพราะการก่อสร้างทางคู่ขนานเป็นการบรรเทาปัญหาจราจรทางทางหลักของมอเตอร์เวย์ ซึ่งจะเร่งผลักดันให้แก้ไขแล้วเสร็จภายในรัฐบาลยุคนี้
สำหรับความคืบหน้าการใช้บัตรผ่านทางอัตโนมัติของมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี) และ 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) หรือ เอ็ม-พาส ร่วมกับ บัตรอีซี่พาส ของกทพ.นั้น หลังจากได้ทดลอง จัดเก็บค่าผ่านทางเป็นระบบปิดคือรับบัตรทางเข้าและจ่ายเงินปลายทาง เบื้องต้นทล.จะเร่งใช้งานบัตรค่าผ่านทางอัตโนมัติก่อนเพื่อบรรเทาปัญหาจราจรหน้าด่าน
ส่วนการใช้งานร่วมกันนั้น จะพิจารณาเป็นระยะต่อไป ทั้งนี้จะมีการเป็นการพัฒนาระบบตั๋วร่วมที่มีระบบขนส่งอื่นด้วย นอกจากนี้ กรมฯอยู่ระหว่างปรับปรุงด่านเก็บค่าผ่านทางให้เป็นระบบปิดในส่วนมอเตอร์เวย์ต่อขยายช่วง ชลบุรี-พัทยา ซึ่งมีความคืบหน้าประมาณ 20% โดยติดปัญหาการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติมในแต่ละด่าน ในการติดตั้งระบบเก็บเงินและสิ่งอำนวยความสะดวกและทางเข้าออก ซึ่งกำลังเร่งรัดออกพ.ร.ฎ.เวนคืนเพื่อดำเนินการ โดยตลอดเส้นทางประมาณ 50 กิโลเมตรวางกรอบวงเงินลงทุนไว้ประมาณ 4,000 ล้านบาท