นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แม้สถานการณ์โรคคอตีบในประเทศไทยจะลดลงหลายเท่าตัวจากที่เคยมีผู้ป่วย 2,290 ราย ในปี 2520 เหลือเพียงไม่เกินปีละ 10 กว่าราย ในช่วงปี 2548-2554 ต่อมาในปี 2555 พบโรคนี้ระบาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้ป่วยจำนวน 63 ราย เสียชีวิต 10 ราย พบทั้งเด็กและผู้ใหญ่ใกล้เคียงกัน กระทรวงสาธารณสุขได้เจาะเลือดตรวจในประชาชนกลุ่มอายุต่างๆ พบว่าผู้ที่อยู่ในกลุ่มอายุ 20-50 ปี มีภูมิคุ้มกันโรคนี้ในระดับต่ำ ไม่เพียงพอต่อการป้องกันโรคคอตีบ
ในปี 2557 จึงได้จัดโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบในประชาชนอายุ 20-50 ปี เต็มพื้นที่ทั้ง 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในปี 2558 นี้ ได้จัดทำเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ วันที่ 2 เมษายน 2558 โดยได้ขยายการรณรงค์ไปในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในช่วงวันที่ 1 มกราคม-30 เมษายน เป้าหมายฉีดรวม 28 ล้านคน จนถึงขณะนี้ฉีดไปแล้วจำนวน 5,735,335 คน
นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า การรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบครั้งนี้ จะฉีดให้บุคลากรในสังกัดทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วย สอบสวนป้องกันควบคุมโรค ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงติดโรค เนื่องจากเป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย และขอเชิญชวนบุคลากรสังกัดหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชน พระภิกษุ สื่อมวลชน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ให้ไปรับการฉีดวัคซีนฟรีจนถึงวันที่ 30 เมษายน ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐใกล้บ้าน โดยวัคซีนที่ใช้ครั้งนี้เป็นวัคซีนรวม 2 ชนิด คือโรคคอตีบและบาดทะยัก ซึ่งจะทำให้ได้รับการป้องกัน ทั้งโรคคอตีบและบาดทะยักไปในคราวเดียวกัน
ทางด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคคอตีบเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โรคนี้คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าเกิดขึ้นเฉพาะในเด็ก แท้จริงแล้วโรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค ในปี 2557 ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา พบผู้ป่วยโรคคอตีบจำนวน 18 ราย เสียชีวิต 4 ราย คาดว่าหลังจากที่ประเทศไทยปูพรมฉีดวัคซีนชนิดนี้ให้แก่กลุ่มคนอายุ 20-50 ปีทั่วประเทศแล้ว จะเสริมความเข้มแข็งระบบการภูมิคุ้มกันโรคของประเทศให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น จะป้องกันการป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบจะเริ่มฉีดตั้งแต่วัยเด็กรวม 6 ครั้ง เริ่มตั้งแต่อายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน ฉีดกระตุ้นซ้ำเมื่ออายุ 1 ปี 6 เดือน 4 ปี และเมื่อเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนตามตารางการให้วัคซีนให้ครบถ้วน ซึ่งจะมีวัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่สำคัญๆ อีกหลายโรค สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักโรคติดต่อทั่วไป โทร 02 590 3196-9 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
ในปี 2557 จึงได้จัดโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบในประชาชนอายุ 20-50 ปี เต็มพื้นที่ทั้ง 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในปี 2558 นี้ ได้จัดทำเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ วันที่ 2 เมษายน 2558 โดยได้ขยายการรณรงค์ไปในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในช่วงวันที่ 1 มกราคม-30 เมษายน เป้าหมายฉีดรวม 28 ล้านคน จนถึงขณะนี้ฉีดไปแล้วจำนวน 5,735,335 คน
นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า การรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบครั้งนี้ จะฉีดให้บุคลากรในสังกัดทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วย สอบสวนป้องกันควบคุมโรค ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงติดโรค เนื่องจากเป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย และขอเชิญชวนบุคลากรสังกัดหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชน พระภิกษุ สื่อมวลชน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ให้ไปรับการฉีดวัคซีนฟรีจนถึงวันที่ 30 เมษายน ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐใกล้บ้าน โดยวัคซีนที่ใช้ครั้งนี้เป็นวัคซีนรวม 2 ชนิด คือโรคคอตีบและบาดทะยัก ซึ่งจะทำให้ได้รับการป้องกัน ทั้งโรคคอตีบและบาดทะยักไปในคราวเดียวกัน
ทางด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคคอตีบเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โรคนี้คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าเกิดขึ้นเฉพาะในเด็ก แท้จริงแล้วโรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค ในปี 2557 ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา พบผู้ป่วยโรคคอตีบจำนวน 18 ราย เสียชีวิต 4 ราย คาดว่าหลังจากที่ประเทศไทยปูพรมฉีดวัคซีนชนิดนี้ให้แก่กลุ่มคนอายุ 20-50 ปีทั่วประเทศแล้ว จะเสริมความเข้มแข็งระบบการภูมิคุ้มกันโรคของประเทศให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น จะป้องกันการป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบจะเริ่มฉีดตั้งแต่วัยเด็กรวม 6 ครั้ง เริ่มตั้งแต่อายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน ฉีดกระตุ้นซ้ำเมื่ออายุ 1 ปี 6 เดือน 4 ปี และเมื่อเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนตามตารางการให้วัคซีนให้ครบถ้วน ซึ่งจะมีวัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่สำคัญๆ อีกหลายโรค สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักโรคติดต่อทั่วไป โทร 02 590 3196-9 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422