นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แถลงกรณีนายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงความคิดเห็นกรณี สนช.ถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ รู้สึกผิดหวังและกังวลต่อท่าทีของนายแดเนียล ที่ไม่เข้าใจกระบวนการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขอเรียนว่า กระบวนการถอดถอนนักการเมืองนั้นอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ สนช.ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ คาดหวังหว่าสหรัฐอเมริกาจะมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และความจำเป็นในการดำเนินการต่างๆ ของไทยในช่วงปัจจุบันที่ถือเป็นช่วงเวลาพิเศษที่จะปฏิรูปประเทศไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ในอนาคต และรัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการสากล และโครงการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวมีหลักฐานชัดเจน มีความเสียหายหลายแสนล้านบาท ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และก่อภาระหนี้ผูกพันต่อประเทศไปอีกหลายสิบปี
ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ในประเทศไทย รวมทั้งกฎอัยการศึกและกระบวนการยุติธรรมนั้น ซึ่งนายแดเนียล น่าจะมีความรู้เพียงพอว่า ไทยมีเหตุความจำเป็นเพื่อธำรงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประเทศและประชาชนโดยทั่วไป ถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศ ซึ่งตามกฎบัตรสหประชาชาติก็ได้ยอมรับไว้อย่างชัดแจ้งว่า ประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติไม่อาจแทรกแซงเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศโดยแท้ ดังนั้น กรรมาธิการฯ จึงหวังว่าทุกฝ่ายจะเข้าใจในสถานการณ์และนโยบายของประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
ทั้งนี้ กรรมาธิการฯ จะเชิญอุปทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เข้ามาพูดคุยและชี้แจงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ยืนยันไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ คาดหวังหว่าสหรัฐอเมริกาจะมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และความจำเป็นในการดำเนินการต่างๆ ของไทยในช่วงปัจจุบันที่ถือเป็นช่วงเวลาพิเศษที่จะปฏิรูปประเทศไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ในอนาคต และรัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการสากล และโครงการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวมีหลักฐานชัดเจน มีความเสียหายหลายแสนล้านบาท ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และก่อภาระหนี้ผูกพันต่อประเทศไปอีกหลายสิบปี
ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ในประเทศไทย รวมทั้งกฎอัยการศึกและกระบวนการยุติธรรมนั้น ซึ่งนายแดเนียล น่าจะมีความรู้เพียงพอว่า ไทยมีเหตุความจำเป็นเพื่อธำรงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประเทศและประชาชนโดยทั่วไป ถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศ ซึ่งตามกฎบัตรสหประชาชาติก็ได้ยอมรับไว้อย่างชัดแจ้งว่า ประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติไม่อาจแทรกแซงเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศโดยแท้ ดังนั้น กรรมาธิการฯ จึงหวังว่าทุกฝ่ายจะเข้าใจในสถานการณ์และนโยบายของประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
ทั้งนี้ กรรมาธิการฯ จะเชิญอุปทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เข้ามาพูดคุยและชี้แจงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ยืนยันไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ