ASTVผู้จัดการรายวัน - "บิ๊กตู่"โต้ "ปู" ประชาธิปไตยไทยไม่มีวันตาย ย้ำเข้ามาเพราะรัฐบาลทำงานไม่ได้ โวต่างชาติเข้าใจสถานการณ์ไทยดีขึ้น มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังเสพติดคำว่าประชาธิปไตย สวนกลับผู้แทนมะกัน ช่วยหาคำตอบหากเกิดความวุ่นวายในบ้านตัวเองแล้วไร้กฎอัยการศึกจะทำอย่างไร ยอมรับอายที่จะเล่าปัญหาไทยให้ต่างชาติฟัง แต่จะต้องไปชี้แจงในเวทียูเอ็น เดือนก.ย.นี้หลังทูต 21 ประเทศหนุน พร้อมยกกำปั่นทุบอกซ้าย ลั่นเป็นทหารหัวใจประชาธิปไตย ชี้ถ้า "ปู" หนีคดี ไม่ต้องกลับมาอีก "สิงห์ทอง" ซีดถูกทหารล็อกเข้าห้องเย็น หลังออกมาลองของ ขณะที่ อสส. ตั้งทีมร่างคำฟ้องคดี "ปู" โกงจำนำข้าว เร่งให้เสร็จใน 1 เดือน
วานนี้ (27 ม.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. แถลงภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณี นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เข้าพบ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ว่า พล.อ.ธนะศักดิ์ ได้เล่ารายละเอียดให้ฟังทั้งหมดแล้ว และฝ่ายรัฐบาลได้ชี้แจงสถานการณ์ให้รับทราบทั้งหมด ว่าอะไรเป็นอะไร รวมทั้งได้ถามกลับไปว่า ถ้าจำเป็นต้องลดการใช้กฎอัยการศึก แล้วเกิดเหตุการณ์ต่างๆในพื้นที่ต่างๆ หรือถ้าเป็นประเทศสหรัฐฯ แล้วจะทำอย่างไร ซึ่งนายแดเนียล ก็ตอบไม่ได้ โดยบอกว่าเดี๋ยวไปหาคำตอบมาก่อน ถือว่าก็ยังติดคำตอบไว้ ว่าจะมีวิธีการอะไรหรือไม่ หากเกิดกรณีเช่นนี้ หรือหากเราไม่มีกฎอัยการศึก ทุกอย่างจะเกิดความวุ่นวาย หรือไม่ และเราใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งตนก็ไม่ได้ใช้กฎอัยการศึกไปรบกวนใครไม่ใช่หรือ ทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ทุกคนก็ทราบดีว่า ถ้าไม่มีกฎหมายดังกล่าว ทุกคนก็จะออกมาพูดเสนอความคิดเห็นจนเกิดความวุ่นวายไปหมด แล้วจะทำงานอะไรได้ ก็ขอเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นยังให้ตนไม่ได้ เพราะถือว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่เหมือนกับที่อื่น และไม่มีที่ไหนที่ปฏิวัติมาแล้วทำแบบตน ส่วนใหญ่เมื่อปฏิวัติมาแล้วก็ดำเนินการอย่างเต็มที่ ไม่มีมานั่งแถลงชี้แจงเหตุผล จะใช้อำนาจกันเต็มที่ ก็ต้องย้อนกลับมาดูว่าวันนี้ประเทศไทยมีอำนาจเสรีแค่ไหน บางอย่างก็ต้องอยู่ในกรอบบ้าง บางอย่างต้องให้เกียรติกัน ซึ่งตนรับได้ทั้งหมด ทั้งนี้ก็ไม่มีความกังวลอะไร
** อายที่จะชี้แจงถึงความเหลวแหลก
"ผมอยากเรียนว่า นอกจากที่นายแดเนียลมาพบกับ พล.อ.ธนะศักดิ์ แล้ว ยังมีอีก 21 ประเทศ ที่เป็นเอกอัครราชทูตถาวรประจำสหประชาชาติ ได้มาพบ ซึ่งผมก็ถือโอกาสชี้แจงเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เกี่ยวกับโรดแมปต่างๆ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ ปัญหาซึ่งผมก็ได้เรียนตรงๆว่า ไม่สามารถเล่าในรายละเอียดได้ว่าบ้านเรามีปัญหาอะไรบ้าง เพราะผมอายตัวเอง ไม่อยากพูดสิ่งที่ไม่ดีของประเทศไทยมากนัก ขอให้เป็นเรื่องของเรา ซึ่งเขาก็เข้าใจ แต่ผมก็บอกว่า ผมรับผิดชอบจากการที่เข้ามาทำงานในจุดนี้ โดยได้เล่าให้ฟังทั้งหมด ว่าจะทำอะไรบ้าง ซึ่งก็มีการตอบสรุปกลับมาว่า พอใจในคำชี้แจงของผม และคิดว่าสิ่งที่ผมทำ เป็นแบบอย่างและตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการทำหน้าที่เพื่อประชาชน และประชาคมโลก และยังได้มีการเชิญผมไปพูด และชี้แจงสิ่งต่างๆ เหมือนกับที่ได้ชี้แจงต่อเอกอัครราชทูตทั้ง 21 ประเทศ ให้กับเวทีประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ ในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ซึ่งผมก็พร้อมที่จะเดินทางไป ถ้าผมอยู่ ผมก็ไปอยู่แล้ว และผมได้อธิบายว่า การที่ประเทศไทยจะเข้มแข็งได้ในวันข้างหน้า จะต้องเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ คือมีการเลือกตั้ง และผู้ที่จะเข้ามาจะต้องมีคุณภาพ มีจริยธรรม คุณธรรม และธรรมาภิบาล ซึ่งก็ต้องดูทั้งเสียงส่วนใหญ่ และเสียงส่วนน้อย ทำอย่างไรจะยกระดับประเทศให้เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้า" นายกรัฐมนตรี กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ในฐานะนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มองแค่ประเทศไทย แต่เราต้องมองถึงประชาคมโลก และไม่ได้มองแค่การค้า การลงทุนและเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ต้องมองถึงประชาคมโลกและความเป็นมนุษยชาติ ว่าจะอยู่อย่างไรไม่ให้มีความขัดแย้ง ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ว่าไม่มีเรื่องแล้วจะต้องไปตรวจค้นหาความผิด ไปตรวจดูบัญชี หรือดักฟังโทรศัพท์ ถือเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ถ้ามีการทุจริต โกง หรือทำผิดกฎหมาย ก็ต้องมีการดำเนินการไปตามขั้นตอน เหมือนความผิดในมาตรา 112 ถ้าไม่ไปทำ หรือไปก้าวล่วงสถาบันฯ ก็ไม่มีใครไปตรวจสอบ แต่ที่มีการไปตรวจเช็ค เพราะมีผลว่ามีการกระทำผิดจริง และหากเราไม่มีอะไรควบคุมเลย ปล่อยให้เสรีก็จะเกิดปัญหา ในความเป็นจริงเราก็ปล่อยให้มีการดำเนินการอย่างเสรี ใครจะซื้อโทรศัพท์หมายเลขอะไร คุยกับใครก็ได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีปัญหาความมั่นคง มีการกกระทำทุจิรต โกง ละเมิด หรือทำผิดอาญา เจ้าหน้าที่รัฐก็มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบ เพราะอย่าลืมว่าที่ผ่านมาโซเชียล มีเดีย เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้การทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ จะต้องมีการปรับปรุงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มีการปรับกันมาทั้งหมดแล้ว ทำงานเชิงรุกมาตั้งแต่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ธนะศักดิ์ เข้าไปดำรงตำแหน่ง มีการปรับปรุงการทำงานทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่ว่าที่ทำมามันไม่ดี เพียงแต่เป็นงานของพลเรือนซึ่งด้านความมั่นคงอาจจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องเท่าที่ควร จึงปรับให้มีการเดินทั้งเรื่องการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการเชื่อมต่อด้านต่างๆ กระทรวงการต่างประเทศได้รับไปทั้งหมด รวมถึงงานด้านความมั่นคง ก็ต้องไปพูดคุยกับประเทศต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจในการดำเนินคดีอาญา หรือคดีตามมาตรา 112 และคดีถอดถอน กระทรวงการต่างประเทศทำทั้งหมด อย่าไปมองว่าเขาไม่ทำงานเชิงรุก และได้มีการเช็คปฏิกิริยาและเสียงสะท้อนกลับจากประเทศต่างๆ ตลอด มีการสรุปผลทุกวัน ซึ่งส่วนใหญ่ต่างประเทศก็เข้าใจสถานการณ์ของประเทศไทยมากขึ้น ยังมีเพียงอีกไม่กี่ประเทศที่ยังติดคำว่า ประชาธิปไตยเท่านั้น ซึ่งมีไม่กี่ประเทศ แต่ทั้งหมดก็ยังมีการค้าขายกับไทยอยู่ตามปกติ เรื่องของประชาธิปไตย ก็ต้องแยกออก เรื่องของการค้าขายก็ทำไป ยืนยันว่าทุกประเทศเข้าใจดี แต่ไม่สามารถพูดคำอื่นได้ และต้องแสดงบทบาทของตัวเองออกมา เพราะเขาเป็นประเทศมหาอำนาจ
เมื่อถามว่า แสดงว่าสถานการณ์ที่ต่างประเทศเคยบีบคั้นประเทศไทยลดลงแล้ว ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "เขาบีบเราตรงไหน ไม่มีใครเคยมาบีบผม หรือมายุ่งอะไรกับผมเลย ทั้งสมาคมพ่อค้า ประชาชน ส่วนใหญ่ที่มาคุยก็ขอให้เราดูแล และพอใจมาตรการที่ออกมาในปัจจุบัน ซึ่งบางอย่างก็ดีกว่าในภาวะปกติด้วย เพียงแต่เขาพูดไม่ได้ว่า เห็นชอบกับรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจแบบนี้
** ไม่สน"มะกัน"พบ"ยิ่งลักษณ์"
ส่วนการที่นายแดเนียลได้พบกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็อย่าไปสนใจ เป็นเรื่องของเขา สื่อจะไปสนใจอะไรหนักหนา ประเด็นมันอยู่ที่ว่าถ้าหากไม่มีการกระทำความผิดจะมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นหรือไม่ อย่าลืมว่าการฟ้องร้องเกิดขึ้นเกิดขึ้นก่อนที่ผมจะเข้ามายึดอำนาจ แล้วจะให้ยกเลิกคดีทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนการยึดอำนาจทั้งหมด เอาไหมล่ะ ก็ทำไม่ได้ ดังนั้นเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการของกฎหมายก็ต้องทำไปตามขั้นตอน ส่วนอะไรจะเกิดก่อน หรือหลัง ก็อยู่ที่ว่าความเสียหายมีมากหรือน้อย เรื่องไหนที่มีผลกระทบต่อสังคม หรือประเทศ หรืองบประมาณก็ต้องสอบสวนก่อน ถือเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งผมเป็นคนสั่งเองว่า คดีไหนที่เป็นคดีอาชญากรรมที่มีความร้ายแรง ต้องดำเนินการให้ได้โดยเร็ว เช่น คดีคนร้ายยิงมารดาอ้อนวอนชีวิตลูกชาย ที่ สภ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เมื่อเช้าวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ไม่รู้ว่าคนร้ายทำได้อย่างไร เรื่องนี้ตำรวจต้องจับ และเร่งรัดทำคดีให้ได้โดยเร็วที่สุด หากต่อสู้ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การที่ผู้แทนสหรัฐฯ สามารถพบ และหารือกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ได้นั้น ถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลทำเพื่อให้เกิดความชัดเจน ความจริงถ้าตนจะห้ามก็สามารถทำได้ ว่าห้ามพบกับใคร ให้อยู่แต่ภายในบ้านอย่างเดียว ห้ามไปไหน ผมสามารถใช้อำนาจเต็มที่ได้อยู่แล้ว แต่ตนไม่ทำ เพราะถ้าทำก็จะถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจเกินเหตุ รัฐประหาร รักแกผู้หญิง โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง วันนี้พยายามแสดงให้เห็นว่า อะไรที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก็ให้ดำเนินการไปตามขั้นตอน ตนไม่เคยสั่งสนช. กระบวนการทางกฎหมายก็ดำเนินการไปตามขั้นตอน ก็อยากถามว่า ทำไมคดีอื่นจึงไม่มีปัญหาเหมือนคดีถอดถอนนี้ ทั้งๆ ก็เป็นคดีปกติเป็นคดีที่ส่อว่ามีการกระทำผิด โดยความรับผิดชอบถ้าพิจารณาแล้วไม่เหมาะสม ก็ต้องรับผิดชอบ มันก็จบ แม้ไม่มีเจตนา แต่เมื่อมันมีปัญหาเกิดขึ้นก็ต้องรับผิดชอบ ส่วนคดีทางอาญา ก็ว่ากันไป ถ้าคิดว่าไม่ผิด ก็ไปต่อสู้กันในทางอาญา มันบิดพลิ้วไม่ได้ แล้วจะไม่ผิดได้อย่างไร ถ้าหลักฐานครบ และแม้รัฐบาลนี้จะมาจากการยึดอำนาจ ก็เพราะขณะนั้นไม่มีรัฐบาล "มีรัฐบาลก็เหมือนไม่มี คุณยิ่งลักษณ์ อยู่ตรงไหน ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ "
** ฟุ้งขณะนี้มี ปชต. มากกว่าปกติ
เมื่อถามว่า ฝ่ายความมั่นคงมีการประเมินหรือยังว่า การประกาศใช้กฎอัยการศึก จะมีการผ่อนคลายได้เมื่อไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มันเดือดร้อนอะไรกันหนักหนากับการใช้กฎอัยการศึก อย่าไปเดือดร้อนกับมันมากนักเลย ซึ่งก็ได้ถามกลับไปกับคนที่ตั้งคำถามนี้ แล้วถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วจะแก้ด้วยอะไร หากมีคนลุกขึ้นใช้อาวุธสงครามยิงใส่กัน ประชาชนมาชุมนุม เขาก็ยังแก้ไขไม่ได้ ต้องไปหาวิธีมาเช่นกัน เพราะเหตุการณ์ในบ้านเราไม่เคยเกิดขึ้นที่ใดในโลก
เมื่อถามว่า ได้อ่านคำแถลงการณ์ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ผ่านเฟซบุ๊ก ที่ระบุว่า ประชาธิปไตยไทยตายแล้วหรือยัง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ยังไม่ได้อ่าน มันก็เหมือนเดิม ส่วนที่ว่าประชาธิปไตยตายแล้วนั้น ก็อยากถามกลับว่า แล้วมันตายแล้วหรือยัง และผมไม่ได้รู้สึกอะไร ก็ผมไม่ได้ตาย ถามว่าวันนี้ประชาธิปไตยตายแล้วหรือยัง เราก็ยังสร้างประชาธิปไตยอยู่ทุกวัน ทุกกระทรวง ทบวง กรม ก็ขับเคลื่อนบูรณาการแผนงานโครงการ ผมไม่ได้ไปยึดอำนาจมาแล้วเอาเงินคนนั้นไปให้คนนี้ หรือยึดเอามาเป็นสมบัติของตัวเอง หรือของชาติ ผมอยากจะบอกว่า นี่เป็นประชาธิปไตยที่ดีกว่าปกติอีก ขอร้องให้เข้าใจคำว่า ประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้ ประชาธิปไตยที่ดีต้องดูแลทั้งคนจน คนมีรายได้ปานกลาง และรายได้สูง ไม่ว่าใครจะว่าอย่างไร ผมคิดถึงคนจนมาก่อน วันนี้ผมฟังทุกเสียงที่ผ่านมาไม่มีการฟังไม่มีการตอบคำถาม ไม่มีการชี้แจงถึงแนวทางโรดแมป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตกลงประชาธิปไตยไทยยังไม่ตายใช่มั้ย นายกฯ ได้ยกกำปั่นขวาทุบที่หน้าอกด้านซ้าย พร้อมกับกล่าวว่า ตายที่ไหน ยังไม่ตาย ประชาธิปไตยไม่มีตายจากแผ่นดินไทย เพราะวันนี้ผมเป็นทหารหัวใจประชาธิปไตย แต่ผมควบคุมอำนาจเพราะต้องการให้ประชาธิปไตยมันอยู่ได้
เมื่อถามว่า จำเป็นต้องเชิญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาปรับทัศนคติอีกหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ตอบคำถามดังกล่าว
** ถ้า"ปู"หนีคดี ก็ไม่ต้องกลับมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังคดีถอดถอนอดีตนายกรัฐมนตรี มีการแสดงความคิดเห็น และปลุกปั่นในสังคมโซเชียล รัฐบาลจะมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนคงห้ามใครไม่ได้ แต่มอบหมายให้ คสช.ไปดู ส่วนจะพิจารณาอย่างไรก็เป็นเรื่องของคสช. ส่วนที่มีข่าวว่า มีการปลุกระดมให้ใส่เสื้อสีแดง วันนั้น วันนี้ ก็เป็นเรื่องที่ คสช.ต้องพิจารณา ถ้าออกมาจริงคสช.ก็คงพิจารณาเอง ไม่ต้องกลัว ถ้าออกมาแล้วก่อให้เกิดความวุ่นวาย ก็คงไม่ได้ สื่อไม่ต้องมาถามให้เป็นเรื่อง เหมือนกรณีที่อดีตนายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปต่างประเทศ ถ้าศาลไม่ให้ไป หรือห้ามออกนอกประเทศ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น ถ้าใครจะหนีกฎหมายออกไป ก็คงกลับมาอีกไม่ได้ ก็เท่านั้นเอง ไม่เห็นจะเดือดร้อนอะไรหนักหนา
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลและตนทำงานหนักในทุกๆ เรื่อง และต้องไปไล่ดูงานที่กำลังเกิดขึ้น ขอร้องว่า อย่าเพิ่งมาไล่พวกตนเลยเพิ่งเข้ามาได้ 7-8 เดือน ที่ผ่านมาบริหารมากี่สิบปี ทำไมไม่ดูกันบ้าง ตนเข้ามาเพื่อเคลียร์ปัญหาต่างๆ ให้เกิดความเรียบร้อย วันนี้เราต้องสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นให้ได้ การทำงานของตนลงรายละเอียดในทุกๆ กระทรวง ทำทั้งแผนระยะสั้นภายใน 1 ปี ที่ตนยังอยู่ ส่วนแผนระยะยาวคือ การส่งต่อให้รัฐบาลชุดต่อไป
"ผมไม่ได้ไปเป็นศัตรูไล่ล่าใคร จำคำพูดผมได้หรือไม่ ผมเคยบอกแล้วว่า สิ่งที่ผมทำวันนี้ ผมขอเวลาทำให้กับคนไทย ขอเวลาให้กับประเทศไทยได้หรือไม่ ประเทศไทยและคนไทยด้วยกัน อย่าติติงกันนักเลย ถ้าท่านทำดีกันอยู่แล้ว ผมก็คงไม่ต้องเข้ามาทำหรอก จึงขอว่า อย่าให้ใครมาชักจูง มากล่าวหาว่าผมจะไล่ล่า ผมคงไม่ลงทุนขนาดนั้น โดยเอาประเทศมาเป็นเดิมพัน ถ้าจะไล่ล่าจริง ก็จับตัววันนี้ พรุ่งนี้ก็ติดคุกไป ก็จบแล้ว ไม่ต้องไปขึ้นศาลให้วุ่นวาย แต่ผมไม่ทำ นั่นคือสิ่งที่ผมให้ ความเป็นประชาธิปไตยเขาตัดสินว่าจะทำอย่างไร และเดินหน้าประเทศอย่างไร ซึ่งไม่มีคณะรัฐประหารที่ไหนเขาทำกัน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
**"สิงห์ทอง"ซีดทหารล็อกเข้าห้องเย็น
เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (27 ม.ค.) นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทยได้เดินทางเข้าไปภายในกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 ตามคำเชิญของ พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) สืบเนื่องมาจากนายสิงห์ทอง ได้ให้สัมภาษณ์ และโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขอความร่วมมือไม่ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน หลังจากที่สนช. ลงมติถอดถอน เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา และยังคงให้ข่าวกับสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ทางทหารได้ให้นายสิงห์ทองไปจอดรถส่วนตัวยี่ห้อ Lexus ป้ายแดงทะเบียน บ-4347 กทม. รอที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า พร้อมนำรถจิ๊ปทหาร ติดฟิล์มดำทั้งคัน ของกองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ (ช.พัน.1 รอ.) สังกัดกองทัพภาคที่ 1 ป้ายทะเบียนกงจักร 17049 ไปรับ โดยมี พ.ท.อัมพุช พัฒน์ทอง ผบ.ช.พัน.1 รอ. ซึ่งเป็นนายทหารคนเดียวกันกับที่เดินทางไปที่โรงแรม เอสซี ปาร์ค เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา เพื่อขอความร่วมมือไม่ให้มีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
นายสิงห์ทอง มีสีหน้าเคร่งเครียด พร้อมกล่าวเพียงสั้นๆ ก่อนขึ้นรถจิ๊ปของทหารว่า "ขอขอบคุณสื่อมวลชนที่มาทำข่าวในวันนี้ แต่คงไม่สามารถพูดอะไรได้มากในตอนนี้ ขอเข้าไปพูดคุยกับแม่ทัพภาคที่ 1 ก่อน"
ต่อมาเวลา 14.10 น. พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) กล่าวถึงการเชิญตัว นายสิงห์ทอง มาพูดคุยว่า เพื่อทำความเข้าใจ ไม่ได้นำตัวมาข่มขู่ เพราะที่ผ่านมา นายสิงห์ทอง พูดคุยกับทหาร และให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนคนละเรื่องกัน ทำให้ยังมีความไม่เข้าใจ จึงต้องเชิญมาทำความเข้าใจ เพราะที่ผ่านมาการสัมภาษณ์ หรือการแสดงออกด้านความคิดเห็น ทำให้เกิดความเสียหาย ทั้งนี้ยืนยันว่าจะไม่มีการกักตัว หรือนำไปปรับทัศนคติค้างคืนที่ค่ายทหาร ส่วนทหารที่พูดคุยนั้นก็เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพูดคุย ตนไม่ได้ไปร่วมพูดคุยด้วย เพราะเกรงว่าจะเป็นแรงผลักดันทำให้เสียบรรยากาศการปรองดอง ส่วนจะมีการเชิญตัวบุคคลอื่นมาพูดคุยอีกหรือไม่นั้น ถ้าไม่ถึงขนาดสร้างความปั่นป่วน ก็จะไม่เชิญตัวมา
**"บิ๊กป้อม" ยันต้องคงกฎอัยการศึก
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี กองทัพภาคที่ 1 เชิญตัว นายสิงห์ทอง เข้าพบว่า การดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามกฎหมาย และกระบวนการขององค์กรต่างๆ ซึ่งยืนยันว่า รัฐบาล และ คสช. ยอมไม่ได้หากจะมีการกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดความแตกแยก เพราะต้องการให้ประเทศเดินหน้าตามโรดแมป
ดังนั้น หากพบการดำเนินการที่จะสร้างความแตกแยก และไม่ปรองดอง ก็ต้องเชิญมาพูดคุยทำความเข้าใจ และคงจะเชิญมาพบเฉพาะผู้ที่กระทำผิดเท่านั้น โดยไม่ถึงขั้นควบคุมตัว นายสิงห์ทอง แต่อย่างใด พร้อมย้ำไม่ต้องการไล่ล่าใคร และไม่ต้องการแก้แค้น หรือเป็นศัตรูกับใคร ขณะที่โดยส่วนตัวยืนยันว่า ที่ผ่านมาไม่ได้พบกับอดีตผู้ดำรงทางการเมืองคนใด รวมทั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ส่วนกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบกับผู้แทนสหรัฐฯ จะมีนัยยะทางการเมืองหรือไม่นั้น คงเป็นการพูดคุย โดยไม่ได้สร้างความแตกแยก และสามารถทำได้ ซึ่งรัฐบาลและ คสช.ไม่ได้ห้าม ส่วนการที่สหรัฐอเมริกา แสดงท่าทีกังวลใจกับการใช้กฎอัยการศึกของไทยนั้น แต่ละประเทศมีการปกครองในส่วนของตนเอง รวมทั้งไทยที่มีแนวทางการดำเนินงานภายใน และขณะนี้ถือว่าสถานการณ์สงบเรียบร้อย สามารถเดินหน้าการทำงานได้ทุกด้าน โดยไม่ได้ปิดกั้นใคร ซึ่งหากใครจะเสนอประเด็นใด ก็มีช่องทางแสดงความคิดเห็นกว่า 4,000 เวที ทั้งนี้ ยืนยันว่า แม้จะมีกฎอัยการศึก แต่ยังคงใช้กฎหมายปกติเป็นหลัก ซึ่งต้องพิจารณาถึงสถานการณ์ในประเทศในขณะนี้ ว่ายังมีความจำเป็นต้องคงประกาศกฎอัยการศึกไว้ จึงขอให้ทุกฝ่ายเข้าใจ เพราะขณะนี้ไม่ใช่รัฐบาลปกติ
** อัด"มะกัน"หยุดแทรกแซงไทย
ด้านนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯระบุถึงการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่ามีการแทรกแซงทางการเมือง และมีผลกระทบต่อการปรองดองว่า การแสดงออกของสหรัฐฯ มาจากพื้นฐานที่คิดว่าเป็นตำรวจโลกที่ต้องจัดระเบียบ โดยเฉพาะกับประเทศที่มีการบริหารขัดกับระบอบประชาธิปไตย เพราะมุมมองของสหรัฐฯเข้าใจว่า ผู้นำในชาติประชาธิปไตยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต และรับผิดชอบตามแบบของเขา เขาก็พูดตามพื้นฐานความคิดของเขา แต่ใช้ไม่ได้กับชาติในเอเชีย หรือบ้านเรา ซึ่งบางคำพูดก็ส่อถึงการแทรกแซงกิจการภายในของไทย ที่อาจไม่เข้าใจรายละเอียด หรือความผิดพลาดของนโยบายจำนำข้าว ที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำไว้ ทั้งต่องบประมาณแผ่นดิน ที่ยังติดหนี้สินหลายแสนล้านบาท และระบบการค้าข้าวของไทยเสียหาย นักการเมืองที่กำกับนโยบายจึงต้องรับผิดชอบ หากปล่อยให้ทำต่อไปอีก 1-2 ปี อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชาติมากกว่านี้
ส่วนกรณีที่ทางสหรัฐฯ ระบุว่าไทยควรยกเลิกใช้กฎอัยการศึกนั้น ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของไทยชัดเจน เพราะการที่ไทยจะใช้กฎอัยการศึกหรือไม่นั้น ก็ไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของไทยและสหรัฐฯ เรื่องนี้เป็นหน้าที่รัฐบาลไทย ซึ่งตนเห็นว่าเป็นเรื่องของคนในประเทศไทย เพราะมีบริบทและสถานการณ์ในแต่ละประเทศที่ต่างกัน เช่น กรณีสหรัฐฯ ออกปฏิบัติการไล่ล่าบุคคลที่เขาถือว่าเป็นภัยกระทบต่อความมั่นคงของเขาในประเทศต่างๆ ไทยเราก็ไม่เคยแสดงท่าทีใดๆ กับเรื่องของเขา เรื่องการใช้กฎอัยการศึกของไทย จึงควรเป็นเรื่องภายในของไทย ที่ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงและสถานการณ์ในประเทศไทยด้วย
และที่นายแดเนียลระบุว่า การถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ มีผลกระทบต่อความปรองดองนั้น เป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะเป็นคนละเรื่องเดียวกันแต่เข้าใจได้ว่า คงจะได้รับแนวคิดมาจากคนของพรรคเพื่อไทย ที่สื่อใช้ภาษว่า วิ่งโร่ไปฟ้องก็เข้าทางพรรคเพื่อไทย ที่ต้องการให้มีการนิรโทษกรรม หรือ เซ็ตซีโร่ใหม่ทั้งหมด ทั้งที่การบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการปรองดองเป็นคนละส่วนกัน อย่าเอามาเหมารวมโยงกัน
*อสส.ตั้งทีมร่างคำฟ้อง"ปู"โกงจำนำข้าว
นายโกศลวัฒน์ อินทจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยถึงความคืบหน้าภายหลังจากที่ นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด มีคำสั่งฟ้องดำเนินคดีอาญาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ฐานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 123/1 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่า นายตระกูล อัยการสูงสุด ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานอัยการจำนวน 6 คนขึ้นมา เพื่อร่วมกันในการดำเนินการร่างคำฟ้องคดี โดยคณะทำงานประกอบด้วย นายชุติชัย สาขากร อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน นายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล อธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน หนึ่งในคณะทำงานร่วมระหว่างอัยการ - ป.ป.ช. เป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน และมีรองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน และอัยการฝ่ายสำนักงานการสอบสวนรวม 4 คน ร่วมเป็นคณะทำงานอัยการดังกล่าว คาดว่า จะใช้ระยะเวลาในการร่างคำฟ้องประมาณ 1 เดือน ซึ่งหากไม่มีประเด็นการหารืออะไรเพิ่มเติม ก็คงจะเสร็จสิ้นตามกำหนด ส่วนขั้นตอนนั้นเมื่อคณะทำงานอัยการร่างคำฟ้องเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะนำเสนออัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาตรวจสอบคำฟ้องอีกครั้ง ก่อนจะดำเนินการยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาฯ ต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าทาง ป.ป.ช. ได้มีการประสาน เพื่อจะนำน.ส.ยิ่งลักษณ์ มารายงานตัวต่ออัยการได้เมื่อใด นายโกศลวัฒน์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับการประสานจากทางป.ป.ช. ว่า จะนำตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาพบเมื่อใด ซึ่งอัยการก็ทำหน้าที่ของตัวเองคือเตรียมร่างคำฟ้องให้เสร็จสิ้น ถ้าหากคำฟ้องเสร็จเมื่อใดก็พร้อมที่จะดำเนินการยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาฯ ตามขั้นตอนต่อไป .
วานนี้ (27 ม.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. แถลงภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณี นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เข้าพบ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ว่า พล.อ.ธนะศักดิ์ ได้เล่ารายละเอียดให้ฟังทั้งหมดแล้ว และฝ่ายรัฐบาลได้ชี้แจงสถานการณ์ให้รับทราบทั้งหมด ว่าอะไรเป็นอะไร รวมทั้งได้ถามกลับไปว่า ถ้าจำเป็นต้องลดการใช้กฎอัยการศึก แล้วเกิดเหตุการณ์ต่างๆในพื้นที่ต่างๆ หรือถ้าเป็นประเทศสหรัฐฯ แล้วจะทำอย่างไร ซึ่งนายแดเนียล ก็ตอบไม่ได้ โดยบอกว่าเดี๋ยวไปหาคำตอบมาก่อน ถือว่าก็ยังติดคำตอบไว้ ว่าจะมีวิธีการอะไรหรือไม่ หากเกิดกรณีเช่นนี้ หรือหากเราไม่มีกฎอัยการศึก ทุกอย่างจะเกิดความวุ่นวาย หรือไม่ และเราใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งตนก็ไม่ได้ใช้กฎอัยการศึกไปรบกวนใครไม่ใช่หรือ ทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ทุกคนก็ทราบดีว่า ถ้าไม่มีกฎหมายดังกล่าว ทุกคนก็จะออกมาพูดเสนอความคิดเห็นจนเกิดความวุ่นวายไปหมด แล้วจะทำงานอะไรได้ ก็ขอเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นยังให้ตนไม่ได้ เพราะถือว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่เหมือนกับที่อื่น และไม่มีที่ไหนที่ปฏิวัติมาแล้วทำแบบตน ส่วนใหญ่เมื่อปฏิวัติมาแล้วก็ดำเนินการอย่างเต็มที่ ไม่มีมานั่งแถลงชี้แจงเหตุผล จะใช้อำนาจกันเต็มที่ ก็ต้องย้อนกลับมาดูว่าวันนี้ประเทศไทยมีอำนาจเสรีแค่ไหน บางอย่างก็ต้องอยู่ในกรอบบ้าง บางอย่างต้องให้เกียรติกัน ซึ่งตนรับได้ทั้งหมด ทั้งนี้ก็ไม่มีความกังวลอะไร
** อายที่จะชี้แจงถึงความเหลวแหลก
"ผมอยากเรียนว่า นอกจากที่นายแดเนียลมาพบกับ พล.อ.ธนะศักดิ์ แล้ว ยังมีอีก 21 ประเทศ ที่เป็นเอกอัครราชทูตถาวรประจำสหประชาชาติ ได้มาพบ ซึ่งผมก็ถือโอกาสชี้แจงเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เกี่ยวกับโรดแมปต่างๆ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ ปัญหาซึ่งผมก็ได้เรียนตรงๆว่า ไม่สามารถเล่าในรายละเอียดได้ว่าบ้านเรามีปัญหาอะไรบ้าง เพราะผมอายตัวเอง ไม่อยากพูดสิ่งที่ไม่ดีของประเทศไทยมากนัก ขอให้เป็นเรื่องของเรา ซึ่งเขาก็เข้าใจ แต่ผมก็บอกว่า ผมรับผิดชอบจากการที่เข้ามาทำงานในจุดนี้ โดยได้เล่าให้ฟังทั้งหมด ว่าจะทำอะไรบ้าง ซึ่งก็มีการตอบสรุปกลับมาว่า พอใจในคำชี้แจงของผม และคิดว่าสิ่งที่ผมทำ เป็นแบบอย่างและตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการทำหน้าที่เพื่อประชาชน และประชาคมโลก และยังได้มีการเชิญผมไปพูด และชี้แจงสิ่งต่างๆ เหมือนกับที่ได้ชี้แจงต่อเอกอัครราชทูตทั้ง 21 ประเทศ ให้กับเวทีประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ ในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ซึ่งผมก็พร้อมที่จะเดินทางไป ถ้าผมอยู่ ผมก็ไปอยู่แล้ว และผมได้อธิบายว่า การที่ประเทศไทยจะเข้มแข็งได้ในวันข้างหน้า จะต้องเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ คือมีการเลือกตั้ง และผู้ที่จะเข้ามาจะต้องมีคุณภาพ มีจริยธรรม คุณธรรม และธรรมาภิบาล ซึ่งก็ต้องดูทั้งเสียงส่วนใหญ่ และเสียงส่วนน้อย ทำอย่างไรจะยกระดับประเทศให้เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้า" นายกรัฐมนตรี กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ในฐานะนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มองแค่ประเทศไทย แต่เราต้องมองถึงประชาคมโลก และไม่ได้มองแค่การค้า การลงทุนและเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ต้องมองถึงประชาคมโลกและความเป็นมนุษยชาติ ว่าจะอยู่อย่างไรไม่ให้มีความขัดแย้ง ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ว่าไม่มีเรื่องแล้วจะต้องไปตรวจค้นหาความผิด ไปตรวจดูบัญชี หรือดักฟังโทรศัพท์ ถือเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ถ้ามีการทุจริต โกง หรือทำผิดกฎหมาย ก็ต้องมีการดำเนินการไปตามขั้นตอน เหมือนความผิดในมาตรา 112 ถ้าไม่ไปทำ หรือไปก้าวล่วงสถาบันฯ ก็ไม่มีใครไปตรวจสอบ แต่ที่มีการไปตรวจเช็ค เพราะมีผลว่ามีการกระทำผิดจริง และหากเราไม่มีอะไรควบคุมเลย ปล่อยให้เสรีก็จะเกิดปัญหา ในความเป็นจริงเราก็ปล่อยให้มีการดำเนินการอย่างเสรี ใครจะซื้อโทรศัพท์หมายเลขอะไร คุยกับใครก็ได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีปัญหาความมั่นคง มีการกกระทำทุจิรต โกง ละเมิด หรือทำผิดอาญา เจ้าหน้าที่รัฐก็มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบ เพราะอย่าลืมว่าที่ผ่านมาโซเชียล มีเดีย เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้การทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ จะต้องมีการปรับปรุงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มีการปรับกันมาทั้งหมดแล้ว ทำงานเชิงรุกมาตั้งแต่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ธนะศักดิ์ เข้าไปดำรงตำแหน่ง มีการปรับปรุงการทำงานทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่ว่าที่ทำมามันไม่ดี เพียงแต่เป็นงานของพลเรือนซึ่งด้านความมั่นคงอาจจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องเท่าที่ควร จึงปรับให้มีการเดินทั้งเรื่องการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการเชื่อมต่อด้านต่างๆ กระทรวงการต่างประเทศได้รับไปทั้งหมด รวมถึงงานด้านความมั่นคง ก็ต้องไปพูดคุยกับประเทศต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจในการดำเนินคดีอาญา หรือคดีตามมาตรา 112 และคดีถอดถอน กระทรวงการต่างประเทศทำทั้งหมด อย่าไปมองว่าเขาไม่ทำงานเชิงรุก และได้มีการเช็คปฏิกิริยาและเสียงสะท้อนกลับจากประเทศต่างๆ ตลอด มีการสรุปผลทุกวัน ซึ่งส่วนใหญ่ต่างประเทศก็เข้าใจสถานการณ์ของประเทศไทยมากขึ้น ยังมีเพียงอีกไม่กี่ประเทศที่ยังติดคำว่า ประชาธิปไตยเท่านั้น ซึ่งมีไม่กี่ประเทศ แต่ทั้งหมดก็ยังมีการค้าขายกับไทยอยู่ตามปกติ เรื่องของประชาธิปไตย ก็ต้องแยกออก เรื่องของการค้าขายก็ทำไป ยืนยันว่าทุกประเทศเข้าใจดี แต่ไม่สามารถพูดคำอื่นได้ และต้องแสดงบทบาทของตัวเองออกมา เพราะเขาเป็นประเทศมหาอำนาจ
เมื่อถามว่า แสดงว่าสถานการณ์ที่ต่างประเทศเคยบีบคั้นประเทศไทยลดลงแล้ว ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "เขาบีบเราตรงไหน ไม่มีใครเคยมาบีบผม หรือมายุ่งอะไรกับผมเลย ทั้งสมาคมพ่อค้า ประชาชน ส่วนใหญ่ที่มาคุยก็ขอให้เราดูแล และพอใจมาตรการที่ออกมาในปัจจุบัน ซึ่งบางอย่างก็ดีกว่าในภาวะปกติด้วย เพียงแต่เขาพูดไม่ได้ว่า เห็นชอบกับรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจแบบนี้
** ไม่สน"มะกัน"พบ"ยิ่งลักษณ์"
ส่วนการที่นายแดเนียลได้พบกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็อย่าไปสนใจ เป็นเรื่องของเขา สื่อจะไปสนใจอะไรหนักหนา ประเด็นมันอยู่ที่ว่าถ้าหากไม่มีการกระทำความผิดจะมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นหรือไม่ อย่าลืมว่าการฟ้องร้องเกิดขึ้นเกิดขึ้นก่อนที่ผมจะเข้ามายึดอำนาจ แล้วจะให้ยกเลิกคดีทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนการยึดอำนาจทั้งหมด เอาไหมล่ะ ก็ทำไม่ได้ ดังนั้นเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการของกฎหมายก็ต้องทำไปตามขั้นตอน ส่วนอะไรจะเกิดก่อน หรือหลัง ก็อยู่ที่ว่าความเสียหายมีมากหรือน้อย เรื่องไหนที่มีผลกระทบต่อสังคม หรือประเทศ หรืองบประมาณก็ต้องสอบสวนก่อน ถือเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งผมเป็นคนสั่งเองว่า คดีไหนที่เป็นคดีอาชญากรรมที่มีความร้ายแรง ต้องดำเนินการให้ได้โดยเร็ว เช่น คดีคนร้ายยิงมารดาอ้อนวอนชีวิตลูกชาย ที่ สภ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เมื่อเช้าวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ไม่รู้ว่าคนร้ายทำได้อย่างไร เรื่องนี้ตำรวจต้องจับ และเร่งรัดทำคดีให้ได้โดยเร็วที่สุด หากต่อสู้ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การที่ผู้แทนสหรัฐฯ สามารถพบ และหารือกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ได้นั้น ถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลทำเพื่อให้เกิดความชัดเจน ความจริงถ้าตนจะห้ามก็สามารถทำได้ ว่าห้ามพบกับใคร ให้อยู่แต่ภายในบ้านอย่างเดียว ห้ามไปไหน ผมสามารถใช้อำนาจเต็มที่ได้อยู่แล้ว แต่ตนไม่ทำ เพราะถ้าทำก็จะถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจเกินเหตุ รัฐประหาร รักแกผู้หญิง โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง วันนี้พยายามแสดงให้เห็นว่า อะไรที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก็ให้ดำเนินการไปตามขั้นตอน ตนไม่เคยสั่งสนช. กระบวนการทางกฎหมายก็ดำเนินการไปตามขั้นตอน ก็อยากถามว่า ทำไมคดีอื่นจึงไม่มีปัญหาเหมือนคดีถอดถอนนี้ ทั้งๆ ก็เป็นคดีปกติเป็นคดีที่ส่อว่ามีการกระทำผิด โดยความรับผิดชอบถ้าพิจารณาแล้วไม่เหมาะสม ก็ต้องรับผิดชอบ มันก็จบ แม้ไม่มีเจตนา แต่เมื่อมันมีปัญหาเกิดขึ้นก็ต้องรับผิดชอบ ส่วนคดีทางอาญา ก็ว่ากันไป ถ้าคิดว่าไม่ผิด ก็ไปต่อสู้กันในทางอาญา มันบิดพลิ้วไม่ได้ แล้วจะไม่ผิดได้อย่างไร ถ้าหลักฐานครบ และแม้รัฐบาลนี้จะมาจากการยึดอำนาจ ก็เพราะขณะนั้นไม่มีรัฐบาล "มีรัฐบาลก็เหมือนไม่มี คุณยิ่งลักษณ์ อยู่ตรงไหน ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ "
** ฟุ้งขณะนี้มี ปชต. มากกว่าปกติ
เมื่อถามว่า ฝ่ายความมั่นคงมีการประเมินหรือยังว่า การประกาศใช้กฎอัยการศึก จะมีการผ่อนคลายได้เมื่อไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มันเดือดร้อนอะไรกันหนักหนากับการใช้กฎอัยการศึก อย่าไปเดือดร้อนกับมันมากนักเลย ซึ่งก็ได้ถามกลับไปกับคนที่ตั้งคำถามนี้ แล้วถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วจะแก้ด้วยอะไร หากมีคนลุกขึ้นใช้อาวุธสงครามยิงใส่กัน ประชาชนมาชุมนุม เขาก็ยังแก้ไขไม่ได้ ต้องไปหาวิธีมาเช่นกัน เพราะเหตุการณ์ในบ้านเราไม่เคยเกิดขึ้นที่ใดในโลก
เมื่อถามว่า ได้อ่านคำแถลงการณ์ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ผ่านเฟซบุ๊ก ที่ระบุว่า ประชาธิปไตยไทยตายแล้วหรือยัง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ยังไม่ได้อ่าน มันก็เหมือนเดิม ส่วนที่ว่าประชาธิปไตยตายแล้วนั้น ก็อยากถามกลับว่า แล้วมันตายแล้วหรือยัง และผมไม่ได้รู้สึกอะไร ก็ผมไม่ได้ตาย ถามว่าวันนี้ประชาธิปไตยตายแล้วหรือยัง เราก็ยังสร้างประชาธิปไตยอยู่ทุกวัน ทุกกระทรวง ทบวง กรม ก็ขับเคลื่อนบูรณาการแผนงานโครงการ ผมไม่ได้ไปยึดอำนาจมาแล้วเอาเงินคนนั้นไปให้คนนี้ หรือยึดเอามาเป็นสมบัติของตัวเอง หรือของชาติ ผมอยากจะบอกว่า นี่เป็นประชาธิปไตยที่ดีกว่าปกติอีก ขอร้องให้เข้าใจคำว่า ประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้ ประชาธิปไตยที่ดีต้องดูแลทั้งคนจน คนมีรายได้ปานกลาง และรายได้สูง ไม่ว่าใครจะว่าอย่างไร ผมคิดถึงคนจนมาก่อน วันนี้ผมฟังทุกเสียงที่ผ่านมาไม่มีการฟังไม่มีการตอบคำถาม ไม่มีการชี้แจงถึงแนวทางโรดแมป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตกลงประชาธิปไตยไทยยังไม่ตายใช่มั้ย นายกฯ ได้ยกกำปั่นขวาทุบที่หน้าอกด้านซ้าย พร้อมกับกล่าวว่า ตายที่ไหน ยังไม่ตาย ประชาธิปไตยไม่มีตายจากแผ่นดินไทย เพราะวันนี้ผมเป็นทหารหัวใจประชาธิปไตย แต่ผมควบคุมอำนาจเพราะต้องการให้ประชาธิปไตยมันอยู่ได้
เมื่อถามว่า จำเป็นต้องเชิญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาปรับทัศนคติอีกหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ตอบคำถามดังกล่าว
** ถ้า"ปู"หนีคดี ก็ไม่ต้องกลับมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังคดีถอดถอนอดีตนายกรัฐมนตรี มีการแสดงความคิดเห็น และปลุกปั่นในสังคมโซเชียล รัฐบาลจะมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนคงห้ามใครไม่ได้ แต่มอบหมายให้ คสช.ไปดู ส่วนจะพิจารณาอย่างไรก็เป็นเรื่องของคสช. ส่วนที่มีข่าวว่า มีการปลุกระดมให้ใส่เสื้อสีแดง วันนั้น วันนี้ ก็เป็นเรื่องที่ คสช.ต้องพิจารณา ถ้าออกมาจริงคสช.ก็คงพิจารณาเอง ไม่ต้องกลัว ถ้าออกมาแล้วก่อให้เกิดความวุ่นวาย ก็คงไม่ได้ สื่อไม่ต้องมาถามให้เป็นเรื่อง เหมือนกรณีที่อดีตนายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปต่างประเทศ ถ้าศาลไม่ให้ไป หรือห้ามออกนอกประเทศ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น ถ้าใครจะหนีกฎหมายออกไป ก็คงกลับมาอีกไม่ได้ ก็เท่านั้นเอง ไม่เห็นจะเดือดร้อนอะไรหนักหนา
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลและตนทำงานหนักในทุกๆ เรื่อง และต้องไปไล่ดูงานที่กำลังเกิดขึ้น ขอร้องว่า อย่าเพิ่งมาไล่พวกตนเลยเพิ่งเข้ามาได้ 7-8 เดือน ที่ผ่านมาบริหารมากี่สิบปี ทำไมไม่ดูกันบ้าง ตนเข้ามาเพื่อเคลียร์ปัญหาต่างๆ ให้เกิดความเรียบร้อย วันนี้เราต้องสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นให้ได้ การทำงานของตนลงรายละเอียดในทุกๆ กระทรวง ทำทั้งแผนระยะสั้นภายใน 1 ปี ที่ตนยังอยู่ ส่วนแผนระยะยาวคือ การส่งต่อให้รัฐบาลชุดต่อไป
"ผมไม่ได้ไปเป็นศัตรูไล่ล่าใคร จำคำพูดผมได้หรือไม่ ผมเคยบอกแล้วว่า สิ่งที่ผมทำวันนี้ ผมขอเวลาทำให้กับคนไทย ขอเวลาให้กับประเทศไทยได้หรือไม่ ประเทศไทยและคนไทยด้วยกัน อย่าติติงกันนักเลย ถ้าท่านทำดีกันอยู่แล้ว ผมก็คงไม่ต้องเข้ามาทำหรอก จึงขอว่า อย่าให้ใครมาชักจูง มากล่าวหาว่าผมจะไล่ล่า ผมคงไม่ลงทุนขนาดนั้น โดยเอาประเทศมาเป็นเดิมพัน ถ้าจะไล่ล่าจริง ก็จับตัววันนี้ พรุ่งนี้ก็ติดคุกไป ก็จบแล้ว ไม่ต้องไปขึ้นศาลให้วุ่นวาย แต่ผมไม่ทำ นั่นคือสิ่งที่ผมให้ ความเป็นประชาธิปไตยเขาตัดสินว่าจะทำอย่างไร และเดินหน้าประเทศอย่างไร ซึ่งไม่มีคณะรัฐประหารที่ไหนเขาทำกัน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
**"สิงห์ทอง"ซีดทหารล็อกเข้าห้องเย็น
เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (27 ม.ค.) นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทยได้เดินทางเข้าไปภายในกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 ตามคำเชิญของ พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) สืบเนื่องมาจากนายสิงห์ทอง ได้ให้สัมภาษณ์ และโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขอความร่วมมือไม่ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน หลังจากที่สนช. ลงมติถอดถอน เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา และยังคงให้ข่าวกับสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ทางทหารได้ให้นายสิงห์ทองไปจอดรถส่วนตัวยี่ห้อ Lexus ป้ายแดงทะเบียน บ-4347 กทม. รอที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า พร้อมนำรถจิ๊ปทหาร ติดฟิล์มดำทั้งคัน ของกองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ (ช.พัน.1 รอ.) สังกัดกองทัพภาคที่ 1 ป้ายทะเบียนกงจักร 17049 ไปรับ โดยมี พ.ท.อัมพุช พัฒน์ทอง ผบ.ช.พัน.1 รอ. ซึ่งเป็นนายทหารคนเดียวกันกับที่เดินทางไปที่โรงแรม เอสซี ปาร์ค เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา เพื่อขอความร่วมมือไม่ให้มีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
นายสิงห์ทอง มีสีหน้าเคร่งเครียด พร้อมกล่าวเพียงสั้นๆ ก่อนขึ้นรถจิ๊ปของทหารว่า "ขอขอบคุณสื่อมวลชนที่มาทำข่าวในวันนี้ แต่คงไม่สามารถพูดอะไรได้มากในตอนนี้ ขอเข้าไปพูดคุยกับแม่ทัพภาคที่ 1 ก่อน"
ต่อมาเวลา 14.10 น. พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) กล่าวถึงการเชิญตัว นายสิงห์ทอง มาพูดคุยว่า เพื่อทำความเข้าใจ ไม่ได้นำตัวมาข่มขู่ เพราะที่ผ่านมา นายสิงห์ทอง พูดคุยกับทหาร และให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนคนละเรื่องกัน ทำให้ยังมีความไม่เข้าใจ จึงต้องเชิญมาทำความเข้าใจ เพราะที่ผ่านมาการสัมภาษณ์ หรือการแสดงออกด้านความคิดเห็น ทำให้เกิดความเสียหาย ทั้งนี้ยืนยันว่าจะไม่มีการกักตัว หรือนำไปปรับทัศนคติค้างคืนที่ค่ายทหาร ส่วนทหารที่พูดคุยนั้นก็เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพูดคุย ตนไม่ได้ไปร่วมพูดคุยด้วย เพราะเกรงว่าจะเป็นแรงผลักดันทำให้เสียบรรยากาศการปรองดอง ส่วนจะมีการเชิญตัวบุคคลอื่นมาพูดคุยอีกหรือไม่นั้น ถ้าไม่ถึงขนาดสร้างความปั่นป่วน ก็จะไม่เชิญตัวมา
**"บิ๊กป้อม" ยันต้องคงกฎอัยการศึก
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี กองทัพภาคที่ 1 เชิญตัว นายสิงห์ทอง เข้าพบว่า การดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามกฎหมาย และกระบวนการขององค์กรต่างๆ ซึ่งยืนยันว่า รัฐบาล และ คสช. ยอมไม่ได้หากจะมีการกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดความแตกแยก เพราะต้องการให้ประเทศเดินหน้าตามโรดแมป
ดังนั้น หากพบการดำเนินการที่จะสร้างความแตกแยก และไม่ปรองดอง ก็ต้องเชิญมาพูดคุยทำความเข้าใจ และคงจะเชิญมาพบเฉพาะผู้ที่กระทำผิดเท่านั้น โดยไม่ถึงขั้นควบคุมตัว นายสิงห์ทอง แต่อย่างใด พร้อมย้ำไม่ต้องการไล่ล่าใคร และไม่ต้องการแก้แค้น หรือเป็นศัตรูกับใคร ขณะที่โดยส่วนตัวยืนยันว่า ที่ผ่านมาไม่ได้พบกับอดีตผู้ดำรงทางการเมืองคนใด รวมทั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ส่วนกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบกับผู้แทนสหรัฐฯ จะมีนัยยะทางการเมืองหรือไม่นั้น คงเป็นการพูดคุย โดยไม่ได้สร้างความแตกแยก และสามารถทำได้ ซึ่งรัฐบาลและ คสช.ไม่ได้ห้าม ส่วนการที่สหรัฐอเมริกา แสดงท่าทีกังวลใจกับการใช้กฎอัยการศึกของไทยนั้น แต่ละประเทศมีการปกครองในส่วนของตนเอง รวมทั้งไทยที่มีแนวทางการดำเนินงานภายใน และขณะนี้ถือว่าสถานการณ์สงบเรียบร้อย สามารถเดินหน้าการทำงานได้ทุกด้าน โดยไม่ได้ปิดกั้นใคร ซึ่งหากใครจะเสนอประเด็นใด ก็มีช่องทางแสดงความคิดเห็นกว่า 4,000 เวที ทั้งนี้ ยืนยันว่า แม้จะมีกฎอัยการศึก แต่ยังคงใช้กฎหมายปกติเป็นหลัก ซึ่งต้องพิจารณาถึงสถานการณ์ในประเทศในขณะนี้ ว่ายังมีความจำเป็นต้องคงประกาศกฎอัยการศึกไว้ จึงขอให้ทุกฝ่ายเข้าใจ เพราะขณะนี้ไม่ใช่รัฐบาลปกติ
** อัด"มะกัน"หยุดแทรกแซงไทย
ด้านนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯระบุถึงการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่ามีการแทรกแซงทางการเมือง และมีผลกระทบต่อการปรองดองว่า การแสดงออกของสหรัฐฯ มาจากพื้นฐานที่คิดว่าเป็นตำรวจโลกที่ต้องจัดระเบียบ โดยเฉพาะกับประเทศที่มีการบริหารขัดกับระบอบประชาธิปไตย เพราะมุมมองของสหรัฐฯเข้าใจว่า ผู้นำในชาติประชาธิปไตยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต และรับผิดชอบตามแบบของเขา เขาก็พูดตามพื้นฐานความคิดของเขา แต่ใช้ไม่ได้กับชาติในเอเชีย หรือบ้านเรา ซึ่งบางคำพูดก็ส่อถึงการแทรกแซงกิจการภายในของไทย ที่อาจไม่เข้าใจรายละเอียด หรือความผิดพลาดของนโยบายจำนำข้าว ที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำไว้ ทั้งต่องบประมาณแผ่นดิน ที่ยังติดหนี้สินหลายแสนล้านบาท และระบบการค้าข้าวของไทยเสียหาย นักการเมืองที่กำกับนโยบายจึงต้องรับผิดชอบ หากปล่อยให้ทำต่อไปอีก 1-2 ปี อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชาติมากกว่านี้
ส่วนกรณีที่ทางสหรัฐฯ ระบุว่าไทยควรยกเลิกใช้กฎอัยการศึกนั้น ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของไทยชัดเจน เพราะการที่ไทยจะใช้กฎอัยการศึกหรือไม่นั้น ก็ไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของไทยและสหรัฐฯ เรื่องนี้เป็นหน้าที่รัฐบาลไทย ซึ่งตนเห็นว่าเป็นเรื่องของคนในประเทศไทย เพราะมีบริบทและสถานการณ์ในแต่ละประเทศที่ต่างกัน เช่น กรณีสหรัฐฯ ออกปฏิบัติการไล่ล่าบุคคลที่เขาถือว่าเป็นภัยกระทบต่อความมั่นคงของเขาในประเทศต่างๆ ไทยเราก็ไม่เคยแสดงท่าทีใดๆ กับเรื่องของเขา เรื่องการใช้กฎอัยการศึกของไทย จึงควรเป็นเรื่องภายในของไทย ที่ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงและสถานการณ์ในประเทศไทยด้วย
และที่นายแดเนียลระบุว่า การถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ มีผลกระทบต่อความปรองดองนั้น เป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะเป็นคนละเรื่องเดียวกันแต่เข้าใจได้ว่า คงจะได้รับแนวคิดมาจากคนของพรรคเพื่อไทย ที่สื่อใช้ภาษว่า วิ่งโร่ไปฟ้องก็เข้าทางพรรคเพื่อไทย ที่ต้องการให้มีการนิรโทษกรรม หรือ เซ็ตซีโร่ใหม่ทั้งหมด ทั้งที่การบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการปรองดองเป็นคนละส่วนกัน อย่าเอามาเหมารวมโยงกัน
*อสส.ตั้งทีมร่างคำฟ้อง"ปู"โกงจำนำข้าว
นายโกศลวัฒน์ อินทจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยถึงความคืบหน้าภายหลังจากที่ นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด มีคำสั่งฟ้องดำเนินคดีอาญาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ฐานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 123/1 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่า นายตระกูล อัยการสูงสุด ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานอัยการจำนวน 6 คนขึ้นมา เพื่อร่วมกันในการดำเนินการร่างคำฟ้องคดี โดยคณะทำงานประกอบด้วย นายชุติชัย สาขากร อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน นายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล อธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน หนึ่งในคณะทำงานร่วมระหว่างอัยการ - ป.ป.ช. เป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน และมีรองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน และอัยการฝ่ายสำนักงานการสอบสวนรวม 4 คน ร่วมเป็นคณะทำงานอัยการดังกล่าว คาดว่า จะใช้ระยะเวลาในการร่างคำฟ้องประมาณ 1 เดือน ซึ่งหากไม่มีประเด็นการหารืออะไรเพิ่มเติม ก็คงจะเสร็จสิ้นตามกำหนด ส่วนขั้นตอนนั้นเมื่อคณะทำงานอัยการร่างคำฟ้องเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะนำเสนออัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาตรวจสอบคำฟ้องอีกครั้ง ก่อนจะดำเนินการยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาฯ ต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าทาง ป.ป.ช. ได้มีการประสาน เพื่อจะนำน.ส.ยิ่งลักษณ์ มารายงานตัวต่ออัยการได้เมื่อใด นายโกศลวัฒน์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับการประสานจากทางป.ป.ช. ว่า จะนำตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาพบเมื่อใด ซึ่งอัยการก็ทำหน้าที่ของตัวเองคือเตรียมร่างคำฟ้องให้เสร็จสิ้น ถ้าหากคำฟ้องเสร็จเมื่อใดก็พร้อมที่จะดำเนินการยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาฯ ตามขั้นตอนต่อไป .