ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่าได้รับการร้องขอจากหอดูดาวในประเทศญี่ปุ่น และเครือข่ายเฝ้าระวังวัตถุที่อาจทำอันตรายต่อโลกในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออก เข้าร่วมสังเกตการณ์ดาวเคราะห์น้อย 2004 BL86 ในช่วงที่โคจรเข้าใกล้โลกประมาณวันที่ 25-27 มกราคม 2558 โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติซีกฟ้าใต้ (PROMPT8)ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 เมตร ในความดูแลของสถาบัน ตั้งอยู่ ณ หอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory (CTIO) สาธารณรัฐชิลี กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.4 เมตร และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เมตร ของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ตั้งอยู่ ณ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เมตร ของหอดูดาวภูมิภาคอีก 2 แห่ง ได้แก่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษานครราชสีมา และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
อย่างไรก็ตาม ร่วมกันติดตามการโคจรของดาวเคราะห์น้อยในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อหาตำแหน่งและวงโคจรที่แน่นอน เก็บเป็นข้อมูลนำมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในอนาคต ว่าจะมีโอกาสเกิดอันตรายต่อโลกหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ร่วมกันติดตามการโคจรของดาวเคราะห์น้อยในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อหาตำแหน่งและวงโคจรที่แน่นอน เก็บเป็นข้อมูลนำมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในอนาคต ว่าจะมีโอกาสเกิดอันตรายต่อโลกหรือไม่