xs
xsm
sm
md
lg

เผยคลิปจากหอดูดาวไทยขณะ “ดาวเคราะห์น้อย” ผ่านโลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


https://www.facebook.com/video.php?v=1131302503562738&set=o.224705264297678&type=2&theater

ภาพเคลื่อนไหวของดาวเคราะห์น้อย 2004BL86 จากกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์ กลาง 2.4 เมตร ซึ่งเป็นภาพถ่ายมุมแคบ บันทึกโดย ULTRASPEC ฟิลเตอร์ KG5 เปิดหน้ากล้องนาน 10 วินาที (ULTRASPEC เป็นกล้องถ่ายภาพดาราศาสตร์มีประสิทธิภาพในการการบันทึกภาพในระดับมิลลิวินาที) ภาพโดย : ทีมเจ้าหน้าที่เทคนิค สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

สดร.เผยภาพชุดการโคจรของดาวเคราะห์น้อย 2004 BL86 ล่าสุดจากหอดูดาวแห่งชาติที่อินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงเข้าใกล้โลกที่สุดในคืนวันที่ 26 ม.ค.58 ที่ผ่านมา

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวว่า หลังจาก สดร.ได้นำเสนอภาพถ่ายเคราะห์น้อย 2004BL86 จากกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติซีกฟ้าใต้ (PROMPT8) ของสถาบันฯ ณ สาธารณรัฐชิลี บันทึกได้ในเช้าวันที่ 25 ม.ค.58 ที่ผ่านมา ล่าสุดทีมนักวิจัยและเจ้าหน้าที่เทคนิคดาราศาสตร์ของสถาบันฯ ซึ่งปฏิบัติการเฝ้าติดตามการโคจร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือ หอดูดาวแห่งชาติ บริเวณ กม.ที่ 44.4 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ได้บันทึกภาพการโคจรของดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร และกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร ช่วงเวลาประมาณ 23:00 น. ของวันที่ 26 ม.ค.58 ตามเวลาของประเทศไทย เป็นช่วงที่ดาวเคราะห์น้อย 2004BL86  กำลังโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 1.2 ล้านกิโลเมตร


ภาพเคลื่อนไหวดาวเคราะห์น้อย 2004BL86 จากกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร บันทึกภาพในช่วงความยาวคลื่นอินฟาเรด โดยเปิดหน้ากล้องเป็นเวลา 3 นาที ภาพโดย : ทีมเจ้าหน้าที่เทคนิค สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ดร.ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดของดาวเคราะห์น้อย 2004BL86 ในครั้งนี้ทำให้นักดาราศาสตร์ทราบข้อมูลเกี่ยวกับวงโคจร องค์ประกอบทางเคมีและลักษณะทางกายภาพบางอย่างของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ ซึ่งหลังจากนี้นักวิจัยจะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาตำแหน่งและวงโคจรที่แน่นอน รวมถึงวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ในอนาคตว่าจะมีโอกาสเกิดอันตรายต่อโลกหรือไม่

“นอกจากนี้ ในส่วนของประเทศไทยเอง ยังถือเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับนักดาราศาสตร์ไทย อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายดาราศาสตร์ในระดับนานาชาติ ในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับเครือข่ายเฝ้าระวังวัตถุที่อาจทำอันตรายต่อโลกในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเพื่อติดตามการโคจรของดาวเคราะห์ดังกล่าว นับเป็นพัฒนาการสำคัญอีกก้าวหนึ่งของวงการดาราศาสตร์ไทย” ดร.ศรัณย์กล่าว







*******************************


กำลังโหลดความคิดเห็น