นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีศาลปกครองสูงสุดกลับคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น สั่งให้กรุงเทพมหานครสร้างลิฟต์โดยสารผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกสถานี ตามที่ตัวแทนผู้พิการได้ฟ้องกรุงเทพมหานคร ที่ไม่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในรถไฟฟ้าบีทีเอส ว่า กรุงเทพมหานครได้มีแผนก่อสร้างและติดตั้งลิฟต์โดยสารเพื่อคนพิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกสถานีอยู่แล้ว ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเท่าเทียมในการในงานระบบโครงพื้นฐานต่างๆ ของรัฐ
โดยปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ติดตั้งลิฟต์โดยสารแล้วในเส้นทางส่วนต่อขยายที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดูแลเอง จำนวน 11 สถานี ส่วนในเส้นทางสัมปทานจำนวน 23 สถานีนั้น ทางบีทีเอสได้ติดตั้งที่สถานีที่มีความจำเป็นแล้ว 5 สถานี ส่วนอีก 18 สถานีที่เหลือ กรุงเทพมหานครจะดำเนินการติดตั้งเอง จำนวน 18 สถานีๆ ละ 4 ตัว รวม 72 ตัว ราคาตัวละประมาณ 3 ล้านบาท ใช้งบประมาณรวมกว่า 200 ล้านบาท ขณะนี้กรุงเทพมหานครได้ประกวดราคาหาตัวผู้รับจ้างเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตามแผนจะต้องติดตั้งลิฟต์เสร็จสิ้นในปลายปี 2558 แต่เนื่องจากมีผู้ประกอบการเจ้าของอาคารที่อยู่บริเวณจุดก่อสร้างลิฟต์ ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนมายังกรุงเทพมหานคร เพื่อคัดค้านการก่อสร้าง เนื่องจากเกรงว่าการก่อสร้างลิฟต์คนพิการจะบนบังภูมิทัศน์หน้าอาคาร จึงทำให้การติดตั้งลิฟต์ต้องยืดเยื้อออกไป
ขณะนี้กรุงเทพมหานครพยายามเจรจาทำความเข้าใจกับกลุ่มเจ้าของอาคารแต่ก็ไม่เป็นผล จึงขอความร่วมมือกับสมาคมผู้พิการต่างๆ ให้ร่วมกับกรุงเทพมหานครในการเจราจรกับเจ้าของอาคารให้ทราบถึงความจำเป็นในการก่อสร้างลิฟต์สำหรับผู้พิการ ส่วนการติดตั้งบันไดเลื่อนให้ครบทุกสถานีนั้น กรุงเทพมหานครไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากบันไดเลื่อน ไม่ใช่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
ทั้งนี้ ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสเมื่อปี 2535 ไม่ได้มีการก่อสร้างลิฟต์โดยสารเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยคนพิการปี 2534 ไม่ได้ระบุว่าต้องดำเนินการจัดสิ่งอำนวยสะดวกสำหรับคนพิการในรูปแบบใด แต่ในเวลาต่อมา กรุงเทพมหานครได้เจรจากับบีทีเอส เพื่อขอให้มีการติดตั้งลิฟต์ที่สถานีต่างๆ แต่บีทีเอสได้ชี้แจงว่า ในสัญญาสัมปทานที่ได้รับจากกรุงเทพมหานครนั้น ไม่ได้ระบุให้ต้องมีการติดตั้งลิฟต์โดยสารเพื่อคนนพิการแต่อย่างใด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงได้มีนโยบายจะติดตั้งเองทุกสถานีที่เหลือ และขอยืนยันว่า นโยบายนี้ไม่ได้เกิดจากกรณีที่กลุ่มผู้พิการดำเนินการฟ้องร้องกรุงเทพมหานคร และบีทีเอส แต่อย่างใด
โดยปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ติดตั้งลิฟต์โดยสารแล้วในเส้นทางส่วนต่อขยายที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดูแลเอง จำนวน 11 สถานี ส่วนในเส้นทางสัมปทานจำนวน 23 สถานีนั้น ทางบีทีเอสได้ติดตั้งที่สถานีที่มีความจำเป็นแล้ว 5 สถานี ส่วนอีก 18 สถานีที่เหลือ กรุงเทพมหานครจะดำเนินการติดตั้งเอง จำนวน 18 สถานีๆ ละ 4 ตัว รวม 72 ตัว ราคาตัวละประมาณ 3 ล้านบาท ใช้งบประมาณรวมกว่า 200 ล้านบาท ขณะนี้กรุงเทพมหานครได้ประกวดราคาหาตัวผู้รับจ้างเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตามแผนจะต้องติดตั้งลิฟต์เสร็จสิ้นในปลายปี 2558 แต่เนื่องจากมีผู้ประกอบการเจ้าของอาคารที่อยู่บริเวณจุดก่อสร้างลิฟต์ ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนมายังกรุงเทพมหานคร เพื่อคัดค้านการก่อสร้าง เนื่องจากเกรงว่าการก่อสร้างลิฟต์คนพิการจะบนบังภูมิทัศน์หน้าอาคาร จึงทำให้การติดตั้งลิฟต์ต้องยืดเยื้อออกไป
ขณะนี้กรุงเทพมหานครพยายามเจรจาทำความเข้าใจกับกลุ่มเจ้าของอาคารแต่ก็ไม่เป็นผล จึงขอความร่วมมือกับสมาคมผู้พิการต่างๆ ให้ร่วมกับกรุงเทพมหานครในการเจราจรกับเจ้าของอาคารให้ทราบถึงความจำเป็นในการก่อสร้างลิฟต์สำหรับผู้พิการ ส่วนการติดตั้งบันไดเลื่อนให้ครบทุกสถานีนั้น กรุงเทพมหานครไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากบันไดเลื่อน ไม่ใช่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
ทั้งนี้ ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสเมื่อปี 2535 ไม่ได้มีการก่อสร้างลิฟต์โดยสารเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยคนพิการปี 2534 ไม่ได้ระบุว่าต้องดำเนินการจัดสิ่งอำนวยสะดวกสำหรับคนพิการในรูปแบบใด แต่ในเวลาต่อมา กรุงเทพมหานครได้เจรจากับบีทีเอส เพื่อขอให้มีการติดตั้งลิฟต์ที่สถานีต่างๆ แต่บีทีเอสได้ชี้แจงว่า ในสัญญาสัมปทานที่ได้รับจากกรุงเทพมหานครนั้น ไม่ได้ระบุให้ต้องมีการติดตั้งลิฟต์โดยสารเพื่อคนนพิการแต่อย่างใด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงได้มีนโยบายจะติดตั้งเองทุกสถานีที่เหลือ และขอยืนยันว่า นโยบายนี้ไม่ได้เกิดจากกรณีที่กลุ่มผู้พิการดำเนินการฟ้องร้องกรุงเทพมหานคร และบีทีเอส แต่อย่างใด