น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ พร้อมคณะ เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.ณษ เศวตเลข รองรองผู้บังคับการกองปราบปราม พ.ต.ท.มิ่งมนตรี ศิริพงษ์ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ กก.2 บก.ป.เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับคู่สัญญาในโครงการรับจำนำข้าว ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ และข้อหาฉ้อโกง โดยนำเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ได้มีมติในที่ประชุมเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 มอบหมายให้ตนในฐานะเลขานุการ นบข.แจ้งผลการประชุมให้กับทางองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เพื่อดำเนินคดีกับคู่สัญญาในโครงการรับจำนำข้าวที่นำข้าว ซึ่งไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์ กำหนดไว้มาเข้าโครงการดังกล่าว โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มผิดชนิดข้าว 5 ราย รวม 5 จังหวัด 10 โกดังกลาง 2.กลุ่มข้าวเสีย 13 ราย รวม22 จังหวัด 94 โกดังกลาง และ 3.กลุ่มข้าวไม่ตรงตามมาตรฐาน 59 ราย รวม 51 จังหวัด 652 โกดังกลาง รวมปริมาณข้าวทั้งสิ้นประมาณ 3.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท
สำหรับกรณีของคู่สัญญา 3 กลุ่มนี้ น่าจะมีผู้ที่เกี่ยวข้องนับ 100 ราย ซึ่งตนได้นำเอกสารหลักฐานต่างๆ มอบให้ทางพนักงานสอบสวน บก.ป.ไว้เพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว โดยหากพบว่ามีผู้ใดที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดก็ขอให้มีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนกรณีของข้าราชการ หากมีส่วนรู้เห็น หรือร่วมกระทำความผิดก็จะต้องถูกพิจารณาดำเนินการทั้งทางวินัยและอาญา ซึ่งตรงนี้คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนดำเนินการ โดยในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ อาจจะต้องถูกส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ดำเนินการต่อไป
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ได้มีมติในที่ประชุมเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 มอบหมายให้ตนในฐานะเลขานุการ นบข.แจ้งผลการประชุมให้กับทางองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เพื่อดำเนินคดีกับคู่สัญญาในโครงการรับจำนำข้าวที่นำข้าว ซึ่งไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์ กำหนดไว้มาเข้าโครงการดังกล่าว โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มผิดชนิดข้าว 5 ราย รวม 5 จังหวัด 10 โกดังกลาง 2.กลุ่มข้าวเสีย 13 ราย รวม22 จังหวัด 94 โกดังกลาง และ 3.กลุ่มข้าวไม่ตรงตามมาตรฐาน 59 ราย รวม 51 จังหวัด 652 โกดังกลาง รวมปริมาณข้าวทั้งสิ้นประมาณ 3.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท
สำหรับกรณีของคู่สัญญา 3 กลุ่มนี้ น่าจะมีผู้ที่เกี่ยวข้องนับ 100 ราย ซึ่งตนได้นำเอกสารหลักฐานต่างๆ มอบให้ทางพนักงานสอบสวน บก.ป.ไว้เพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว โดยหากพบว่ามีผู้ใดที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดก็ขอให้มีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนกรณีของข้าราชการ หากมีส่วนรู้เห็น หรือร่วมกระทำความผิดก็จะต้องถูกพิจารณาดำเนินการทั้งทางวินัยและอาญา ซึ่งตรงนี้คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนดำเนินการ โดยในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ อาจจะต้องถูกส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ดำเนินการต่อไป