ฮอนด้า มอเตอร์ โค ยอมจ่ายเงิน 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯแก่รัฐบาลอเมริกา ในค่าปรับทางแพ่งครั้งมหาศาลที่สุดต่อบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายหนึ่ง ฐานเพิกเฉยไม่รายงานคณะผู้ควบคุมกฎระเบียบเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของบริษัทราว 1,729 ครั้ง ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายร้อยคน รวมถึงข้อหาไม่รายงานการเคลมประกัน
ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นแห่งนี้ยอมรับเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อนว่าไม่ได้รายงานคำร้องเรียนเกี่ยวกับการเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บในอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ของทางบริษัทต่อ สำนักงานบริหารความปลอดภัยการสัญจรบนทางหลวงแห่งชาติของสหรัฐฯ (NHTSA) ในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา ไล่ตั้งแต่ปี 2003 โดยฮอนด้าสารภาพว่าทราบถึงความละเลยในปี 2011 แต่ก็รอจนเวลาผ่านไปถึง 3 ปีกว่าจะดำเนินการ
นอกจากนี้แล้ว ฮอนด้า ยังไม่ยอมรายงานการเคลมประกันแบบตายตัวและการเคลมประกันภายใต้แคมเปญตามความพึงพอใจของลูกค้าตลอดช่วงเวลาเดียวกัน โดยทาง NHTSA กำหนดบทลงโทษเป็น 2 กรณี โดย 35 ล้านดอลลาร์แรก ฐานไมรายงานคำร้องเรียนเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ส่วนอีก 35 ล้านดอลลาร์ ฐานไม่รายงานการเรียกร้องสินไหมทดแทนตายตัวและการเรียกร้องสินไหมทดแทนตามความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งถือว่าเป็นโทษปรับสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดไว้
แอนโทนี ฟ็อกซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสหรัฐฯบอกว่าการปรับเงินดังกล่าวสะท้อนถึงความตั้งใจของรัฐบาลที่จะใช้มาตรการหนักหน่วงต่อเหล่าผู้ผลิตรถยนต์ที่ไม่ยอมให้ข้อมูลด้านความปลอดภับแก่คณะผู้ควบคุมกฎระเบียบ
คำร้องเรียนต่างๆที่มีต่อฮอนด้านั้น รวมไปถึงอุบัติเหตุต่างๆที่เกี่ยวข้องกับถุงลมนิรภัยที่ผลิตโดยบริษัททากาตะ ซัพพลายเออร์สัญชาติญี่ปุ่น เช่นเดียวกับข้อบกพร่องในส่วนอื่นๆ ทั้งนี้ฮอนด้าได้เรียกคืนรถยนต์แล้วมากกว่า 5 ล้านคันในสหรัฐฯนับตั้งแต่ปี 2008 เพื่อซ่อมแซมข้อบกพร่องถุงลมนิรภัยของทากาตะที่อาจทำให้ผู้ขับขี่ถึงแก่ชีวิต ด้วยถุงลมอาจระเบิดผิดวิสัยหลังประสบอุบัติเหตุและปล่อยเศษโลหะมีคมปลิวกระจายออกมาจนเป็นอันตราย
ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นแห่งนี้ยอมรับเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อนว่าไม่ได้รายงานคำร้องเรียนเกี่ยวกับการเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บในอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ของทางบริษัทต่อ สำนักงานบริหารความปลอดภัยการสัญจรบนทางหลวงแห่งชาติของสหรัฐฯ (NHTSA) ในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา ไล่ตั้งแต่ปี 2003 โดยฮอนด้าสารภาพว่าทราบถึงความละเลยในปี 2011 แต่ก็รอจนเวลาผ่านไปถึง 3 ปีกว่าจะดำเนินการ
นอกจากนี้แล้ว ฮอนด้า ยังไม่ยอมรายงานการเคลมประกันแบบตายตัวและการเคลมประกันภายใต้แคมเปญตามความพึงพอใจของลูกค้าตลอดช่วงเวลาเดียวกัน โดยทาง NHTSA กำหนดบทลงโทษเป็น 2 กรณี โดย 35 ล้านดอลลาร์แรก ฐานไมรายงานคำร้องเรียนเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ส่วนอีก 35 ล้านดอลลาร์ ฐานไม่รายงานการเรียกร้องสินไหมทดแทนตายตัวและการเรียกร้องสินไหมทดแทนตามความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งถือว่าเป็นโทษปรับสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดไว้
แอนโทนี ฟ็อกซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสหรัฐฯบอกว่าการปรับเงินดังกล่าวสะท้อนถึงความตั้งใจของรัฐบาลที่จะใช้มาตรการหนักหน่วงต่อเหล่าผู้ผลิตรถยนต์ที่ไม่ยอมให้ข้อมูลด้านความปลอดภับแก่คณะผู้ควบคุมกฎระเบียบ
คำร้องเรียนต่างๆที่มีต่อฮอนด้านั้น รวมไปถึงอุบัติเหตุต่างๆที่เกี่ยวข้องกับถุงลมนิรภัยที่ผลิตโดยบริษัททากาตะ ซัพพลายเออร์สัญชาติญี่ปุ่น เช่นเดียวกับข้อบกพร่องในส่วนอื่นๆ ทั้งนี้ฮอนด้าได้เรียกคืนรถยนต์แล้วมากกว่า 5 ล้านคันในสหรัฐฯนับตั้งแต่ปี 2008 เพื่อซ่อมแซมข้อบกพร่องถุงลมนิรภัยของทากาตะที่อาจทำให้ผู้ขับขี่ถึงแก่ชีวิต ด้วยถุงลมอาจระเบิดผิดวิสัยหลังประสบอุบัติเหตุและปล่อยเศษโลหะมีคมปลิวกระจายออกมาจนเป็นอันตราย