ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(19ธ.ค.) ปิดบวกเล็กน้อย แต่เอสแอนด์พี 500 ทุบสถิติขยับขึ้น 2 วันรวมกันมากที่สุดในรอบ 3 ปีกว่า จากแรงหนุนของกลุ่มพลังงาน เช่นเดียวกับคำยืนยันของเฟดที่บอกว่าจะไม่เร่งรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 26.65 จุด (0.15 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,804.80 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 9.42 จุด (0.46 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,070.65 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 16.98 จุด (0.36 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,765.38 จุด
ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นทั้งสิ้น 3.0% ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น 3.4% และดัชนี NASDAQ ปรับตัวขึ้น 2.4%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนขานรับถ้อยแถลงของเฟดในการประชุมครั้งล่าสุดที่ว่า เฟดสามารถ "อดทน" รอต่อไปได้อีก ในการปรับท่าทีด้านนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวทำให้นักลงทุนมองว่า เฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้
ในการประชุมครั้งนี้ เฟดยังได้ปรับเพิ่มขึ้นคาดการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐว่าจะขยายตัวในอัตรา 2.3-2.4% ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนก.ย.ที่ระดับ 2-2.2% และได้คงคาดการณ์เศรษฐกิจในปีหน้าไว้ที่ระดับ 2.6-3% ส่วนในด้านตลาดแรงงานนั้น เฟดคาดว่าอัตราว่างงานจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5.8% ในปีนี้ และจะลดลงสู่ระดับ 5.2-5.3% ในปีหน้า
นอกจากนี่ ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับปัจจัยบวกจากความแข็งแกร่งของตลาดหุ้นในภูมิภาคเอกชีย รวมถึงตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยเมื่อวานนี้ดัชนีนิกกเกอิพุ่งขึ้น 411.35 จุด หรือ 2.39% ขานรับถ้อยแถลงของเฟด และข่าวที่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมครั้งล่าสุด โดยระบุว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวปานกลาง
หุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้นหลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ตลาดนิวยอร์กทะยานขึ้นแข็งแกร่ง โดยหุ้นเนเบอร์ส อินดัสทรีส์ พุ่งขึ้น 15% หุ้นเดนเบอร์รี รีซอสเซส พุ่งขึ้น 14% หุ้นเอ็กซอน โมบิล และหุ้นเชฟรอน ต่างก็ปรับตัวขึ้น 2.7%
ส่วนหุ้นไนกี้ ร่วงลง 2.3% หลังจากบริษัทเปิดเผยยอดสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ อันเนื่องมาจากความต้องการสินค้าในยุโรปตะวันตกและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ชะลอตัวลง
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐซึ่งจะมีการเปิดเผยในสัปดาห์หน้าและเป็นที่จับตาของนักลงทุนนั้น รวมถึงดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศเดือนพ.ย., ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ย., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ย., จีดีพีขั้นสุดท้ายช่วงไตรมาส, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนธ.ค.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน, ยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์
ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 26.65 จุด (0.15 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,804.80 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 9.42 จุด (0.46 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,070.65 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 16.98 จุด (0.36 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,765.38 จุด
ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นทั้งสิ้น 3.0% ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น 3.4% และดัชนี NASDAQ ปรับตัวขึ้น 2.4%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนขานรับถ้อยแถลงของเฟดในการประชุมครั้งล่าสุดที่ว่า เฟดสามารถ "อดทน" รอต่อไปได้อีก ในการปรับท่าทีด้านนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวทำให้นักลงทุนมองว่า เฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้
ในการประชุมครั้งนี้ เฟดยังได้ปรับเพิ่มขึ้นคาดการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐว่าจะขยายตัวในอัตรา 2.3-2.4% ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนก.ย.ที่ระดับ 2-2.2% และได้คงคาดการณ์เศรษฐกิจในปีหน้าไว้ที่ระดับ 2.6-3% ส่วนในด้านตลาดแรงงานนั้น เฟดคาดว่าอัตราว่างงานจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5.8% ในปีนี้ และจะลดลงสู่ระดับ 5.2-5.3% ในปีหน้า
นอกจากนี่ ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับปัจจัยบวกจากความแข็งแกร่งของตลาดหุ้นในภูมิภาคเอกชีย รวมถึงตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยเมื่อวานนี้ดัชนีนิกกเกอิพุ่งขึ้น 411.35 จุด หรือ 2.39% ขานรับถ้อยแถลงของเฟด และข่าวที่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมครั้งล่าสุด โดยระบุว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวปานกลาง
หุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้นหลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ตลาดนิวยอร์กทะยานขึ้นแข็งแกร่ง โดยหุ้นเนเบอร์ส อินดัสทรีส์ พุ่งขึ้น 15% หุ้นเดนเบอร์รี รีซอสเซส พุ่งขึ้น 14% หุ้นเอ็กซอน โมบิล และหุ้นเชฟรอน ต่างก็ปรับตัวขึ้น 2.7%
ส่วนหุ้นไนกี้ ร่วงลง 2.3% หลังจากบริษัทเปิดเผยยอดสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ อันเนื่องมาจากความต้องการสินค้าในยุโรปตะวันตกและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ชะลอตัวลง
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐซึ่งจะมีการเปิดเผยในสัปดาห์หน้าและเป็นที่จับตาของนักลงทุนนั้น รวมถึงดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศเดือนพ.ย., ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ย., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ย., จีดีพีขั้นสุดท้ายช่วงไตรมาส, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนธ.ค.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน, ยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์