ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันศุกร์(12ธ.ค.) ขยับลงแรง โดยเอสแอนด์พี500ทำสถิติเป็นสัปดาห์ที่เลวร้ายสุดในรอบ 2 ปีกว่า หลังพบข้อมูลเพิ่มเติมที่ย้ำถึงภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอของจีน ขณะเดียวกันนักลงทุนก็ถอยห่างจากตลาดตอบสนองต่อราคาน้ำมันที่ดำดิ่ง
ดาวโจนส์ ลดลง 315.51 จุด (1.79 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,280.83 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 33.00 จุด (1.62 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,002.33 จุด แนสแดค ลดลง 54.56 จุด (1.16 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,653.60 จุด
สำหรับตลอดสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ร่วง 3.8% ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2554 และดัชนี S&P ร่วง 3.5% หนักสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2555 หรือในรอบกว่า 2 ปี ขณะที่ดัชนี Nasdaq ลดลง 2.7% ในรอบสัปดาห์
หุ้นสหรัฐปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก หลังจากราคาน้ำมันร่วงลงจนฉุดไม่อยู่ โดยสัญญาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนม.ค. ลดลงต่ำกว่า 58 ดอลลาร์/บาร์เรล ในวันศุกร์ หลังจากที่เมื่อวันพฤหัสบดี ราคาได้ลดลงต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2552
วานนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 2.14 ดอลลาร์ หรือ 3.6% ปิดที่ 57.81 ดอลลาร์/บาร์เรล
การปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันได้จุดกระแสวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งถูกตอกย้ำด้วยรายงานตลาดน้ำมันประจำเดือนธ.ค.ของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ที่เผยแพร่วานนี้ โดย IEA ได้ปรับลดแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในปี 2558 ลงอีก 230,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับ 900,000 บาร์เรล/วัน จากการคาดการณ์ว่าการบริโภคเชื้อเพลิงจะลดต่ำลงในรัสเซีย และประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอื่นๆ
การขยายตัวในประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าพลังงานรายใหญ่ กำลังชะลอตัวลง นอกจากนี้ IEA ชี้ว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงจะสร้างความเสี่ยงต่อยุโรปและญี่ปุ่น เนื่องจากทั้งยุโรปและญี่ปุ่นต่างเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อต่ำที่ต่ำมากอยู่แล้ว
ความวิตกกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะลุกลามมาถึงสหรัฐ ได้กระตุ้นให้เกิดแรงเทขายในตลาดหุ้น เพื่อไปซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า เช่น พันธบัตร
รายงานของ IEA มีขึ้นหลังจากที่เมื่อช่วงต้นสัปดาห์นี้ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันดิบในปีหน้าเช่นกัน
ทั้งนี้ แม้ดัชนีหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี เพราะได้แรงหนุนจากรายงานยอดค้าปลีกเดือนพ.ย.ของสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน ซึ่งบ่งชี้ว่าตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงแข็งแกร่ง นอกจากนี้ จำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐซึ่งปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว ยังช่วยหนุนมุมมองที่เป็นบวกเกี่ยวกับตลาดแรงงานของสหรัฐด้วย
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ออกมาสดใส ไม่สามารถช่วยหนุนให้ตลาดปิดแดนบวกได้ในวันศุกร์ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนธ.ค.ของทอมสัน รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน แตะที่ 93.8 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี และดีกว่าการคาดการณ์ของตลาด
ขณะที่กระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ลดลง 0.2% ในเดือนพ.ย. นำโดยการปรับตัวลงของราคาพลังงาน
นอกจากการร่วงลงของราคาน้ำมันแล้ว ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยังถูกกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีน โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนขยายตัว 7.2% เมื่อเทียบรายปีในเดือนพ.ย. ลดลงจากที่เพิ่มขึ้น 7.7% ในเดือนต.ค. และ 8% ในเดือนก.ย.
ดาวโจนส์ ลดลง 315.51 จุด (1.79 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,280.83 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 33.00 จุด (1.62 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,002.33 จุด แนสแดค ลดลง 54.56 จุด (1.16 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,653.60 จุด
สำหรับตลอดสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ร่วง 3.8% ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2554 และดัชนี S&P ร่วง 3.5% หนักสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2555 หรือในรอบกว่า 2 ปี ขณะที่ดัชนี Nasdaq ลดลง 2.7% ในรอบสัปดาห์
หุ้นสหรัฐปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก หลังจากราคาน้ำมันร่วงลงจนฉุดไม่อยู่ โดยสัญญาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนม.ค. ลดลงต่ำกว่า 58 ดอลลาร์/บาร์เรล ในวันศุกร์ หลังจากที่เมื่อวันพฤหัสบดี ราคาได้ลดลงต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2552
วานนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 2.14 ดอลลาร์ หรือ 3.6% ปิดที่ 57.81 ดอลลาร์/บาร์เรล
การปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันได้จุดกระแสวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งถูกตอกย้ำด้วยรายงานตลาดน้ำมันประจำเดือนธ.ค.ของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ที่เผยแพร่วานนี้ โดย IEA ได้ปรับลดแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในปี 2558 ลงอีก 230,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับ 900,000 บาร์เรล/วัน จากการคาดการณ์ว่าการบริโภคเชื้อเพลิงจะลดต่ำลงในรัสเซีย และประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอื่นๆ
การขยายตัวในประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าพลังงานรายใหญ่ กำลังชะลอตัวลง นอกจากนี้ IEA ชี้ว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงจะสร้างความเสี่ยงต่อยุโรปและญี่ปุ่น เนื่องจากทั้งยุโรปและญี่ปุ่นต่างเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อต่ำที่ต่ำมากอยู่แล้ว
ความวิตกกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะลุกลามมาถึงสหรัฐ ได้กระตุ้นให้เกิดแรงเทขายในตลาดหุ้น เพื่อไปซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า เช่น พันธบัตร
รายงานของ IEA มีขึ้นหลังจากที่เมื่อช่วงต้นสัปดาห์นี้ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันดิบในปีหน้าเช่นกัน
ทั้งนี้ แม้ดัชนีหุ้นนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี เพราะได้แรงหนุนจากรายงานยอดค้าปลีกเดือนพ.ย.ของสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน ซึ่งบ่งชี้ว่าตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงแข็งแกร่ง นอกจากนี้ จำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐซึ่งปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว ยังช่วยหนุนมุมมองที่เป็นบวกเกี่ยวกับตลาดแรงงานของสหรัฐด้วย
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ออกมาสดใส ไม่สามารถช่วยหนุนให้ตลาดปิดแดนบวกได้ในวันศุกร์ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนธ.ค.ของทอมสัน รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน แตะที่ 93.8 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี และดีกว่าการคาดการณ์ของตลาด
ขณะที่กระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ลดลง 0.2% ในเดือนพ.ย. นำโดยการปรับตัวลงของราคาพลังงาน
นอกจากการร่วงลงของราคาน้ำมันแล้ว ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยังถูกกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีน โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนขยายตัว 7.2% เมื่อเทียบรายปีในเดือนพ.ย. ลดลงจากที่เพิ่มขึ้น 7.7% ในเดือนต.ค. และ 8% ในเดือนก.ย.