สถานทูตสหรัฐฯในไทยและอีก 2 ชาติ ออกคำเตือนถึงความเป็นไปได้ที่อาจมีการประท้วงและเหตุรุนแรงต่อต้านอเมริกัน ภายหลังมีการเผยแพร่รายงานของวุฒิสภาที่กรุงวอชิงตันวันอังคาร (9 ธ.ค.) ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงพฤติการณ์ของซีไอเอ ในการทรมานผู้ถูกควบคุมตัวภายหลังวินาศกรรม 9/11 โดยมีการสอบปากคำด้วยความโหดร้ายทารุณยิ่งกว่าที่เคยเปิดเผยออกมา รวมทั้งมีการระบุว่าไทยถูกใช้เป็นสถานที่แห่งแรกซึ่งมีการใช้วิธีทรมานแบบ “วอเตอร์บอร์ดดิ้ง”
ก่อนหน้าที่จะมีการเผยแพร่รายงานสำคัญฉบับนี้ ทางการสหรัฐฯได้สั่งให้สถานเอกอัครราชทูตต่างๆ รวมทั้งสถานที่ตั้งทางทหารทั้งหลายของอเมริกาในทั่วโลก เพิ่มการรักษาความปลอดภัย เพื่อเตรียมรับมือหากเกิดมีการก่อเหตุแก้แค้นต่อต้านอเมริกันขึ้นมา
และหลังการเผยแพร่รายงานนี้แล้ว สำนักข่าวเอพีระบุว่า สถานเอกอัครราชทูตของสหรัฐฯประจำอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, และไทย ได้ออกคำเตือนให้ระวังความเป็นไปได้ที่จะเกิดการประท้วงและเหตุรุแรงต่อต้านอเมริกัน รวมทั้งแนะนำชาวอเมริกันใน 3 ประเทศนี้ให้คอยระมัดระวังตัวเพื่อความปลอดภัยอย่างเหมาะสม เป็นต้นว่า หลีกเลี่ยงจุดที่มีการชุมนุมเดินขบวน
สำหรับรายงานของคณะกรรมาธิการข่าวกรองของวุฒิสภาสหรัฐฯชิ้นนี้ ซึ่งใช้เวลาในการจัดทำและในการถกเถียงเกี่ยวกับเนื้อหาอยู่เป็นเวลาหลายปี เป็นการศึกษาทบทวนเอกสารภายในราวๆ 6.3 ล้านหน้าของสำนักงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ (ซีไอเอ) ทั้งนี้ตัวรายงานการสอบสวนฉบับเต็มซึ่งยังถือเป็นเอกสารลับอยู่มีความยาว 6,700 หน้า และสิ่งที่นำออกเผยแพร่คราวนี้ซึ่งมี 524 หน้าเป็นการตัดทอนจากส่วนบทสรุปสำหรับผู้บริหารและข้อสรุปต่างๆ ของรายงานฉบับเต็ม กระนั้นก็ยังมีการป้ายสีดำทับข้อความที่เห็นกันว่ามีความอ่อนไหวเป็นจำนวนมาก
แต่จากส่วนที่นำออกตีพิมพ์คราวนี้ก็เป็นการยืนยันและเพิ่มเติมข้อมูลที่ได้เคยรั่วไหลและเผยแพร่ก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับโครงการของซีไอเอในการกักขังและสอบปากคำผู้ต้องสงสัยเป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งมีทั้งสมาชิกอัลกออิดะห์และนักโทษอื่นๆ ในช่วงระหว่างปี 2002-2006 ในขณะที่จอร์จ ดับเบิลยู บุช เป็นประธานาธิบดี
ทั้งนี้ ในรายงานที่เผยแพร่คราวนี้ มีการเอ่ยถึงเซฟเฮาส์แห่งหนึ่งของซีไอเอในไทย ว่าเป็นสถานที่แห่งแรกซึ่งซีไอเอนำเอาวิธีทรมานแบบ “วอเตอร์บอร์ดดิ้ง” มาใช้กับนักโทษ 2 คนที่เป็นสมาชิกระดับสูงของอัลกออิดะห์ คนหนึ่งคือ อบู ซูบายดะห์ ที่เป็นผู้ประสานงานการติดต่อกับภายนอกและการสื่อสารกับต่างประเทศของเครือข่ายนี้
หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ของไทยได้ระบุในรายงานที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของตนว่า นอกเหนือจากเรื่องนี้แล้ว รายงานของคณะกรรมาธิการวุฒิสภาสหรัฐฯนี้ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลใหม่ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ตั้งของเซฟเฮาส์ลับ หรือว่ารัฐบาลไทยเกี่ยวข้องด้วยแค่ไหน
“ในประเทศไทยนั้น มีความผิดหวังกัน เนื่องจากรายงานที่เผยแพร่นี้ยังคงไม่มีข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับบทบาทของประเทศไทยในเรื่องการทำวอเตอร์บอร์ดดิ้ง, การเป็นสถานที่กักขังผู้ต้องสงสัยเป็นผู้ก่อการร้ายจากทั่วโลก –และความเกี่ยวข้องพัวพันอย่างเจาะจงชัดเจนของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร, หน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติ, และกองทัพไทย” รายงานของบางกอกโพสต์บอก
บางกอกโพสต์กล่าวด้วยว่า ได้ทราบมาเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ในรายงานฉบับที่ไม่มีการตัดทอนของวุฒิสภาสหรัฐฯนั้น มีการกล่าวอ้างว่า ซีไอเอเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่ตั้งเซฟเฮาส์ของตน เนื่องจากสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานของสหรัฐฯแห่งนี้กับพวกเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของไทย ตามรายงานฉบับเต็มนี้ นายกรัฐมนตรีทักษิณในเวลานั้น ไม่ได้รับการรายงานใดๆ จนกระทั่งหลังจากมีการนำเซฟเฮาส์ดังกล่าวมาใช้ในการปฏิบัติการจริงๆ แล้ว
บางกอกโพสต์บอกอีกว่า ตามรายงานฉบับไม่ตัดตอนนั้น กล่าวไว้ว่าทั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในตอนนั้น คือ จอร์จ ดับเบิลยู บุช และรองประธานาธิบดีในขณะนั้น คือ ดิ๊ก เชนีย์ ต่างทราบว่าเซฟเฮาส์ดังกล่าวนี้ตั้งอยู่ในไทย แต่ในฉบับตัดทอนที่นำออกเผยแพร่ไม่ได้ให้ข้อมูลใดๆ ในเรื่องความเกี่ยวข้องของรัฐบาลไทย, ฝ่ายข่าวกรองของไทย, หรือของฝ่ายทหารไทยเลย
รายงานของบางบอกโพสต์ชี้ว่า ตอนที่ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นช่วงที่ไทยกำลังให้ความช่วยเหลือสหรัฐฯอย่างมุ่งมั่น รวมทั้งการส่งทหารไทยไปเข้าร่วมกับสหรัฐฯทั้งในอัฟกานิสถานและในอิรัก
ก่อนหน้าที่จะมีการเผยแพร่รายงานสำคัญฉบับนี้ ทางการสหรัฐฯได้สั่งให้สถานเอกอัครราชทูตต่างๆ รวมทั้งสถานที่ตั้งทางทหารทั้งหลายของอเมริกาในทั่วโลก เพิ่มการรักษาความปลอดภัย เพื่อเตรียมรับมือหากเกิดมีการก่อเหตุแก้แค้นต่อต้านอเมริกันขึ้นมา
และหลังการเผยแพร่รายงานนี้แล้ว สำนักข่าวเอพีระบุว่า สถานเอกอัครราชทูตของสหรัฐฯประจำอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, และไทย ได้ออกคำเตือนให้ระวังความเป็นไปได้ที่จะเกิดการประท้วงและเหตุรุแรงต่อต้านอเมริกัน รวมทั้งแนะนำชาวอเมริกันใน 3 ประเทศนี้ให้คอยระมัดระวังตัวเพื่อความปลอดภัยอย่างเหมาะสม เป็นต้นว่า หลีกเลี่ยงจุดที่มีการชุมนุมเดินขบวน
สำหรับรายงานของคณะกรรมาธิการข่าวกรองของวุฒิสภาสหรัฐฯชิ้นนี้ ซึ่งใช้เวลาในการจัดทำและในการถกเถียงเกี่ยวกับเนื้อหาอยู่เป็นเวลาหลายปี เป็นการศึกษาทบทวนเอกสารภายในราวๆ 6.3 ล้านหน้าของสำนักงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ (ซีไอเอ) ทั้งนี้ตัวรายงานการสอบสวนฉบับเต็มซึ่งยังถือเป็นเอกสารลับอยู่มีความยาว 6,700 หน้า และสิ่งที่นำออกเผยแพร่คราวนี้ซึ่งมี 524 หน้าเป็นการตัดทอนจากส่วนบทสรุปสำหรับผู้บริหารและข้อสรุปต่างๆ ของรายงานฉบับเต็ม กระนั้นก็ยังมีการป้ายสีดำทับข้อความที่เห็นกันว่ามีความอ่อนไหวเป็นจำนวนมาก
แต่จากส่วนที่นำออกตีพิมพ์คราวนี้ก็เป็นการยืนยันและเพิ่มเติมข้อมูลที่ได้เคยรั่วไหลและเผยแพร่ก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับโครงการของซีไอเอในการกักขังและสอบปากคำผู้ต้องสงสัยเป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งมีทั้งสมาชิกอัลกออิดะห์และนักโทษอื่นๆ ในช่วงระหว่างปี 2002-2006 ในขณะที่จอร์จ ดับเบิลยู บุช เป็นประธานาธิบดี
ทั้งนี้ ในรายงานที่เผยแพร่คราวนี้ มีการเอ่ยถึงเซฟเฮาส์แห่งหนึ่งของซีไอเอในไทย ว่าเป็นสถานที่แห่งแรกซึ่งซีไอเอนำเอาวิธีทรมานแบบ “วอเตอร์บอร์ดดิ้ง” มาใช้กับนักโทษ 2 คนที่เป็นสมาชิกระดับสูงของอัลกออิดะห์ คนหนึ่งคือ อบู ซูบายดะห์ ที่เป็นผู้ประสานงานการติดต่อกับภายนอกและการสื่อสารกับต่างประเทศของเครือข่ายนี้
หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ของไทยได้ระบุในรายงานที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของตนว่า นอกเหนือจากเรื่องนี้แล้ว รายงานของคณะกรรมาธิการวุฒิสภาสหรัฐฯนี้ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลใหม่ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ตั้งของเซฟเฮาส์ลับ หรือว่ารัฐบาลไทยเกี่ยวข้องด้วยแค่ไหน
“ในประเทศไทยนั้น มีความผิดหวังกัน เนื่องจากรายงานที่เผยแพร่นี้ยังคงไม่มีข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับบทบาทของประเทศไทยในเรื่องการทำวอเตอร์บอร์ดดิ้ง, การเป็นสถานที่กักขังผู้ต้องสงสัยเป็นผู้ก่อการร้ายจากทั่วโลก –และความเกี่ยวข้องพัวพันอย่างเจาะจงชัดเจนของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร, หน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติ, และกองทัพไทย” รายงานของบางกอกโพสต์บอก
บางกอกโพสต์กล่าวด้วยว่า ได้ทราบมาเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ในรายงานฉบับที่ไม่มีการตัดทอนของวุฒิสภาสหรัฐฯนั้น มีการกล่าวอ้างว่า ซีไอเอเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่ตั้งเซฟเฮาส์ของตน เนื่องจากสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานของสหรัฐฯแห่งนี้กับพวกเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของไทย ตามรายงานฉบับเต็มนี้ นายกรัฐมนตรีทักษิณในเวลานั้น ไม่ได้รับการรายงานใดๆ จนกระทั่งหลังจากมีการนำเซฟเฮาส์ดังกล่าวมาใช้ในการปฏิบัติการจริงๆ แล้ว
บางกอกโพสต์บอกอีกว่า ตามรายงานฉบับไม่ตัดตอนนั้น กล่าวไว้ว่าทั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในตอนนั้น คือ จอร์จ ดับเบิลยู บุช และรองประธานาธิบดีในขณะนั้น คือ ดิ๊ก เชนีย์ ต่างทราบว่าเซฟเฮาส์ดังกล่าวนี้ตั้งอยู่ในไทย แต่ในฉบับตัดทอนที่นำออกเผยแพร่ไม่ได้ให้ข้อมูลใดๆ ในเรื่องความเกี่ยวข้องของรัฐบาลไทย, ฝ่ายข่าวกรองของไทย, หรือของฝ่ายทหารไทยเลย
รายงานของบางบอกโพสต์ชี้ว่า ตอนที่ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นช่วงที่ไทยกำลังให้ความช่วยเหลือสหรัฐฯอย่างมุ่งมั่น รวมทั้งการส่งทหารไทยไปเข้าร่วมกับสหรัฐฯทั้งในอัฟกานิสถานและในอิรัก